Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

3 เทรนด์หุ่นยนต์ต้องจับตาจากมุมมองของ ABB

ABB ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้เปิดเผยเทรนด์ด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่น่าสนใจที่ต้องจับตามองในปี 2023 ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นปีแห่งโอกาสของการแข่งขันยุคหลังโควิด 19

ต้องยอมรับว่าการขาดแคลนแรงงานในระดับสากลนั้นสร้างผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมากในการไล่ตามความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การไขว่าคว้าหาโอกาสใหม่ ๆ อย่างการใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดหาย โดย AI และ เครือข่ายดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันจะทำให้การใช้งานหุ่นยนต์เป็นเรื่องง่ายขึ้น การค้นหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษและกระบวนการทางการศึกษาที่เหมาะสมจะช่วยอุดรูรั่วข่องว่างของทักษะ โดย ABB ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญได้จับตามองกระแสความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างใกล้ชิดอันนำไปสู่การสรุปเทรนด์ 3 ข้อที่น่าสนใจ ได้แก่

1. ความต้องการหุ่นยนต์จะเพิ่มขึ้นในการตอบสนองต่อการขาดแคลนแรงงานระดับสากล ซึ่งหุ่นยนต์จะทำหน้าที่ได้มากขึ้นและนำไปสู่การย้ายฐานการผลิตกลับแผ่นดินแม่

ความต้องการใช้งานหุ่นยนต์จะเข้มแข็งในกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องการย้ายฐานการผลิตกลับมาตุภูมิเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับซัพลลายเชนของตัวเอง จากการสำรวจบริษัทในสหรัฐฯ และยุโรปกว่า 1,610 บริษัท พบว่าูธุรกิจกว่า 74% ของยุโรปและ 70% ของสหรัฐฯ วางแผนย้ายฐานการผลิตกลับประเทศหรือย้ายให้ใกล้ประเทศมากที่สุด กว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามในยุโรปและ 62% ในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าจะลงทุนหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติในอีก 3 ปีข้างหน้า

2. AI และเทคโนโลยีอัตโนมัติจะทำให้หุ่นยนต์มีความสะดวกขึ้นในการใช้งาน การบูรณาการ และการเข้าถึง เปิดโอกาสให้ทำงานได้มากขึ้นในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

การใช้งานหุ่นยนต์จะสะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยลดช่องว่างด้านทักษะที่มีความซับซ้อนลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ AI ในการวางตำแหน่งและการหยิบจับแบบอัตโนมัติ ซึ่งโรงงาน ABB ในเซี่ยงไฮ้เริ่มมีการใช้งานแล้ว นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่มีความเรียบง่ายในการโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยลดกำแพงในการเปลี่ยนผ่านที่สมัยก่อนอาจต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางลงได้

3. การเป็นพันธมิตรกับผู้เชี่ยวชาญระหว่างอุตสาหกรรมและเหล่าสถาบันการศึกษาจะช่วยติดอาวุธให้แรงงานในปัจจุบันและอนาคตให้พร้อมกับทักษะที่ต้องการสำหรับระบบอัตโนมัติแห่งยุคต่อไป

การใช้งานหุ่นยนต์เพื่อทดแทนแรงงานนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ผลกระทบที่ตามมาซึ่งปฏิเสธไม่ได้ นั่นก็คือการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงสำหรับงานระบบอัตโนมัติ ทำให้ความต้องการทักษะเฉพาะเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ความร่วมมือระหว่างผู้คนต่างยุคสมัย ต่างฐานความรู้ ต่างสถาบันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้น ซึ่ง ABB ได้มีกรณีตัวอย่างมากกว่า 200 กรณีที่จับมือกับสถาบันการศึกษาทั่วโลกเพื่อเพิ่มทักษะให้กับนักเรียนและแรงงานในทุกช่วงอายุเพื่อเขียนโปรแกรมและใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติ

ที่มา:
new.abb.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924