Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

3 ความชอกช้ำจากการใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อน

เมื่อไทยกำลังก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ Digitalization อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้งานระบบดิจิทัลทั้งหลายจึงกลายมาเป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ ทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน นอกเหนือจากวัตถุที่จับต้องได้อย่างฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์แล้วซอฟต์แวร์ยังเป็นส่วนสำคัญในการใช้งานต่าง ๆ อีกด้วย ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังละเลยการใช้งานซอฟท์แวร์และสินค้าลิขสิทธิ์อีกมากมายซึ่งนำไปสู่ปัญหาในหลากหลายมิติ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่ถลำลึกและเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกสมัยใหม่

Illegal Software

รู้หรือไม่ว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของประเทศไทยเป็นลำดับที่ 3 ของ SEA อยู่ที่ 66% สำหรับปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 714 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ในขณะที่ความเสียหายจากกระบวนการปฏิบัติงานยังไม่ถูกนับรวมไปในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบไปยังความเชื่อมั่นของลูกค้าได้อีกด้วย แต่ก่อนอื่นใดเลยเรามาทำความรู้จักกับลิขสิทธิ์กันก่อน

ลิขสิทธิ์ x ซอฟต์แวร์

ลิขสิทธิ์ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้คำนิยามไว้ดังนี้

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

ในขณะที่ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ หรือสั่งให้ดำเนินการตามภารกิจได้ หากไม่มีซอฟต์แวร์อุปกรณ์ทั้งหลายในยุคปัจจุบันอาจไม่มีความหมายใด ๆ เลย เช่น Internet Browser, มือถือสมาร์ทโฟนต่าง ๆ หรือแม้แต่การทำงานเก็บเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัล ถ้าให้เห็นภาพชัดขึ้นไปอีกโลกนี้คงไม่มีใครก้าวมาถึงอุตสาหกรรมยุค 3.0 เป็นแน่ สิ่งที่ทำได้ คือ การใช้ทักษะเชิงกลเพียงอย่างเดียวในการสร้างสรรค์อุปกรณ์ทั้งหลาย คงไม่มีวันมาถึงระบบอัจฉริยะหรือ AI ให้ได้เห็นกันอย่างแน่นอน

โดย BSA หรือ กลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้แทนทางกฎหมายระดับแนวหน้าสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลกต่อรัฐบาลและในตลาดระดับสากลได้กล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยทั่วไปมี 5 ลักษณะ ได้แก่

1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ เป็นรูปแบบท่ีสร้างความเสียหายมากที่สุด เรียกกันว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ในองค์กร” เกิดจากการที่องค์กร ธุรกิจทําการสําเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การใช้งานจํานวนมากในเครือข่ายเกิดจากการมีผู้ใช้จํานวนมากในเครือข่ายเข้าใช้ซอฟต์แวร์ ชุดเดียวที่ส่วนกลางพร้อมกัน
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต แม้จะมีผู้จําหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องก็ตาม แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทธ์ิผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจํานวนมาก เช่น เว็บไซต์ท่ีเปิดให้ดาวน์โหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
4. การติดตั้งซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์เกิดจากการที่ผู้จําหน่ายคอมพิวเตอร์ทําการติดต้ังซอฟต์แวร์ให้ กับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ
5. การสําเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย คือ การทําสําเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจําหน่ายสินค้าที่ละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา

3 ความชอกช้ำหลักจากการใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อน

ทุกวันนี้ในองค์กรหลายองค์กรในประเทศไทยต่างใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์เถื่อนไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ที่นำมาซึ่งปัญหาหลากหลายที่เกิดขึ้นต่อการทำงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานที่มีการลงทุนและปัจจัยความเสี่ยงสูงอย่างงานอุตสาหกรรม ปัญหาที่เจอกันบ่อยในการทำงาน ได้แก่

1. ใช้ ๆ ไปเดี๋ยวเจ๊ง เดี๋ยวลงใหม่ (User Faliure)

หลายคนต้องเคยเจอกับปัญหาใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่ดี ๆ (ไม่ว่าดี) ก็เกิดอาการแฮงค์ ทำงานต่อไม่ได้ กว่าจะแก้ได้ต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ลูกค้าไม่เคยรอ เจ้านายอาจจะไม่ฟังอีก หรือเสนองานลูกค้าอยู่ก็เด้งเตือนกันให้ขายหน้าเล่นเสียอย่างงั้น ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นเรื่องพื้น ๆ ไปเลยถ้าหากเกิดขึ้นระหว่างการเชื่อมต่อทำงานเร่งด่วน เช่น การ Monitoring ข้อมูล หรือความล้มเหลวในการส่งข้อมูลการผลิต หรือพาระบบอื่น ๆ ล้มเหลวไปด้วย ลองจินตนาการถึงความวอดวายเหล่านี้ดูสิครับ เพราะซอฟต์แวร์ที่ถูกแก้ไขนั้นเป็นสิ่งที่ถูกแก้ไขต่อจากความสมบูรณ์อีกทอดหน่ึงซึ่งผู้พัฒนาได้ทดสอบและมีการรับรองศักยภาพในการทำงานมาแล้วจึงส่งปลต่อความผิดพลาด ส่วนที่แก้มาดีไม่มีปัญหาก็คงมี แต่ถ้าให้ผู้ใช้งานธรรมดามาแก้ไขสิ่งเหล่านี้คงจะยากไม่น้อยกับการต้องเริ่มทำความเข้าใขระบบและเงื่อนไขของการทำให้ซอฟต์แวร์กลายเป็นเถื่อนที่พอถูลู่ถูกังใช้ได้อีกครั้ง

2. เปิดท้ายครัวให้เข้ามาได้ฟรี ๆ (Organization Failure)

นอกเหนือจากการลงใหม่ ซ่อมสร้างต่าง ๆ แล้ว รู้ไหมว่าการทำให้ซอฟต์แวร์เถื่อนใช้งานได้นั้นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมที่เขียนต่าง ๆ มากมายโดยที่เราไม่มีทางรู้เลยว่าคนทำ (Cracker) นั้นได้ทำอะไรลงไปบ้าง หากเคยติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อนสังเกตได้เลยว่าระบบป้องกันการคุกคามของเครื่องหรือ Anti-Virus มักจะทำงานโดยการเด้งข้อความเตือนการคุกคามขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Virus, Malware, Trojan, Backdoor Virus หรือ Worm เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสามารถในการทำลายข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเขียนตัวเองทับข้อมูลเดิม การลักลอบส่งข้อมูลกลับไปหาผู้สร้างของมัน หรือการบ่อนทำลายหน่วยความจำด้วยการเขียนทับหรือทำลายระบบปฏิบัติการณ์ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ข้อมูลหลุด อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ความสามารถในการแพร่กระจายสู่อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อ (Infected) ไม่ว่าจะผ่านเครือข่ายหรือการเชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งการเกิดเหตุการณ์ที่ในโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่สามารถสร้างความเสียหายได้ทั้งระบบ ไม่ว่าจะข้อมูลทั้งหมดที่มีในระบบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ มีทั้งการทำลาย การโจรกรรมข้อมูล ความสูญเสีย การส่งงานให้ลูกค้า ซึ่งกระทบต่อความเชื่อใจที่เกิดขึ้น แม้ว่าปัจจุบันระบบจะถูกเสริมทัพและเตรียมความพร้อมด้าน Cyber Security เป็นอย่างดี แต่สำหรับในประเทศไทยแล้วภาพรวมความเข้าใจ ทักษะ และการให้คุณค่ากับความปลอดภัยดิจิทัลนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เปิดโอกาสให้เกิดความเสียหายได้สูงท่ามกลางการผลักดันและการก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

3. กฎหมายและภาพลักษณ์ที่เสื่อมถอย (Business Failure)

อย่างที่ได้เล่าไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีความผิดทางกฎหมายในประเทศไทยและยังมีความร่วมมือระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งในกรณีท่ีบุคคลใด ทําซำ้ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือ สําเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับต้ังแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และหากเป็นการกระทําเพื่อการค้า จะต้องโทษจําคุกต้ังแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับต้ังแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือท้ังจํา ทั้งปรับ ในกรณีของผู้ประกอบการนั้นยังสามารถส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือและภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

จากปัญหาในระดับผู้ใช้งานไปจนถึงระดับองค์กร การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนสามารถส่งผลกระทบได้อย่างชัดเจนอย่างมากโดยเฉพาะบริษัทที่เคยเกิดปัญหาโกลาหลจากการแพร่เชื้อมาก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงการคาดการณ์หรือแนวโน้ม แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ในขณะที่ซอฟต์แวร์แท้หรือซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นมักได้รับการอัพเดทข้อมูลให้มีความทันสมัย และมีการป้องกันที่ดียิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าซอฟต์แวร์เถื่อนบางตัวจะสามารถอัพเดทได้ เช่น แอนตี้ไวรัสบางตัวที่หลายบริษัทนิยมติดตั้งของเถื่อน คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าในเมื่อถูกแก้ไขแล้วสิ่งที่ได้รับการอัพเดทหรือการทำงานนั้นจะเที่ยงตรง ไม่ใช่เป็นการเปิดประตูหลังบ้านให้ผู้คนบางกลุ่มเข้ามาใช้งานได้โดยสะดวก

อ้างอิง:

Thaipublica.org/2018/06/rate-unlicensed-software-thai/

Tuipi.tu.ac.th/tuip04.php

Computerhope.com/jargon/s/software.htm

Bsa.org/country/Anti-Piracy/~/media/Files/Antipiracy/th/SWPiracyAndTheLaw_th.ashx

Dtci.co.th/content/4865/malware-คืออะไร-มีกี่ประเภท

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924