Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

3 ผลลัพธ์เด็ดเมื่อใช้ IoT ในอุตสาหกรรมโลหการ

ในยุคที่ IoT เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกอย่างรวมถึงทุกอุตสาหกรรม สร้างความแตกต่าง การแข่งขัน รวมถึงความหลากหลายของรูปแบบในการทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มงานที่มีขั้นตอนหลากหลายอย่างอุตสาหกรรมโลหการ

3 ผลลัพธ์เด็ดเมื่อใช้ IoT ในอุตสาหกรรมโลหการ
มูลค่ารวมของตลาด IoT ภายในปี 2021 จะมีสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทกว่า 80% ปรับตัวสำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ภายในไม่เกินปลายปีหน้า ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมเกินกว่า 50% ยังไม่มีการปรับใช้งาน IoT อย่างจริงจัง โดยผู้ประกอบการหลายรายอาจยังไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่มองว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเรื่องห่างไกล หรือยังคงพอใจในการทำงานแบบเดิมอยู่

ประโยชน์ของการใช้งาน IoT มีหลากหลายตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการทำงาน สำหรับอุตสาหกรรมโลหการเช่นกัน ประโยชน์ที่เกิดจาก IoT นั้นมีมากมายทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง วันนี้จึงขอนำเสนอ 3 ผลลัพธ์ทีเด็ดจากการใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมโลหการ ได้แก่

  1. คุณภาพผลงานสุดเนี๊ยบ
    สำหรับงานโลหการนั้นคุณภาพต้องมาก่อนปริมาณ การลดวามผิดพลาด การตรวจสอบคุณภาพทำได้ด้วยการใช้งานเซนเซอร์ผ่าน IoT ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายขั้นตอนไม่ว่าการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ โลจิสติกส์ ด้วยการรายงานข้อมูลต่อเนื่องและครบถ้วนทำให้สามารถประเมินคุณภาพการทำงานและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. Downtime แบบจิ๊บๆ
    เมื่อความผิดพลาดน้อยลงแน่นอนว่า Downtime ต้องน้อยลงด้วยอย่างแน่นอน การใช้งาน IoT สามารถส่งผลต่อ Downtime ได้ชัดเจนในส่วนของการซ่อมบำรุง ระบบหรือผู้ควบคุมสามารถเห็นสัญญาณบ่งชี้ของปัญหาที่จะเกิดล่วงหน้าได้ ความเสียหายที่เกิดจาก Downtime ในอุตสาหกรรมโลหการนั้นมีมูลค่าสูงกว่าสายการผลิตอื่น ๆ รวมถึงผลกระทบลูกโซ่นั้นยังมีโอกาสที่ร้ายแรงกว่าอีกด้วยเช่นกัน เช่น ความผิดพลาดของหุ่นยนต์​เชื่อมที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยจากชิ้นส่วนและระบบป้องกันที่ล้มเหลว
  3. สร้างความคล่องตัวให้กับการผลิต
    IoT สามารถลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนของการผลิต สร้างความหลากหลายเปิดโอกาสให้กับรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ได้ ทำให้แรงงานสามารถปรับเปลี่ยนและจัดการกับการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โฟลวของการทำงานสามารถวางแผนล่วงหน้าและเตรียมการรับมือสำหรับการทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ ทำให้การทำงานไม่ขาดช่วงหรือมีทางเลือกสำหรับแผนสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

ที่มา:

  • Manufacturing.net
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924