Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

3 วิธีการใช้กล้องที่ติดตั้งในเครื่องจักร CNC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้งานเครื่องจักรที่มีการติดตั้งระบบกล้องจับภาพ หรือกล้องอัจฉริยะนั้นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันซึ่งทำให้การทำงานของผู้ผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในแง่คุณภาพและเวลาการทำงาน

3 วิธีการใช้กล้องที่ติดตั้งในเครื่องจักร CNC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในการผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่อง CNC และการใช้งาน Machine Tools หรือเครื่องมือกลนั้นมักจะมีขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถมองเห็นและประเมินชิ้นส่วนได้ในทันทีเช่น เศษที่กระเด็น การฉีดน้ำหล่อลื่นที่มีแรงอัดสูง ทำให้การประเมินสภาพชิ้นส่วนต้องรอจนกระทั่งกระบวนการเสร็จสิ้นหรือต้องนำไปเข้าเครื่องมือตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ทำให้สูญเสียทั้งเวลา ต้นทุน

ด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้สามารถนำเครื่องจักรและกล้องตรวจจับภาพเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตรวจสอบได้ทั้งชิ้นงานและเครื่องมือกล ซึ่งในตลาดมีกล้องมากมายหลากหลายประเภทให้เลือกตามการใช้งาน ถ้าหากต้องการดูแค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการใช้กล้องธรรมดาก็เพียงพอสำหรับการใช้งาน แต่สำหรับการทำงานยุค 4.0 นี้การใช้กล้องสามารถทำได้มากกว่าแค่การถ่ายรูปและเฝ้ามองการทำงาน การใช้กล้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. Remote Monitoring
    สำหรับใช้งานในการควบคุมหรือบริหารจัดการการผลิต ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบ ระบบกล้องรูปแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลสถานะเครื่องจักรและทำให้ผู้ควบคุวมสามารถตรวจสอบสาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ สามารถตั้งค่าให้ส่งข้อความเตือนทางอีเมล์หรือข้อความพร้อมกับรูปถ่ายตามการตั้งค่าได้อีกด้วย
  2. Data Driven Monitoring
    นอกเหนือจากการบันทึกกระบวนการทำงานของเครื่องจักร การตรวจวัดและเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น อัตราความเร็วของการหมุน ถือเป็นข้อมูลการทำงานเชิงลึกที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ใกล้เคียงกับ Zero Defect หรือการปราศจากของเสียได้ ซึ่งการทำงานของกล้องนั้นมีความซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงมากกว่าการจับภาพ เพราะการจับค่าตัวเลขที่แม่นยำถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ เช่น การใช้กล้องที่มีความละเอียด 1 Megapixel ซึ่งสามารถถ่ายภาพได้ 25,000 เฟรมต่อ 1 วินาที เพราะการทำงานของเครื่องมือกลนั้นต้องการกล้องที่สามารถจับภาพด้วยความเร็วที่มากกว่า 1 หมื่นเฟรม ต่อวินาที ในการทำงานจริงเพื่อตรวจสอบคุณภาพอย่างถูกต้อง
  3. Setup Monitoring
    นอกจากการใช้งานขณะปฏิบัติงานแล้วยังสามารถใช้เพื่อการตรวจสอบรูปแบบการติดตั้งที่ถูกต้อง การตรวจสอบความพร้อมของห้องผลิตนั้นมีความสำคัญไม่แตกต่างจากการผลิต ไม่ว่าจะเป็นมุมองศาของเครื่องมือ ความสะอาดปลอดภัยของรางและฐานผลิต หรือพื้นผิวอุปกรณ์ที่เผยอเปิดออกมา สามารถสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อกระบวนการผลิตได้

ด้วยเป้าหมายการใช้งานที่แตกต่างกันนี้ทำให้ต้องพิจารณาถึงรูปแบบการทำงานและผลลัพธ์ที่ต้องการให้ละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากรายละเอียดสำหรับตัวกล้องนั้นมีมากมายหลากหลาย ตั้งแต่ เลนส์ แสง เมาท์สำหรับติดตั้งกล้อง รวมถึงซอฟท์แวร์ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้งานตามประเภทที่ต้องการจำเป็นต้องมีกล้องที่มีศักยภาพตอบสนองต่อการทำงานของเครื่องจักรด้วยเช่นกัน


ที่มา:

  • Canadianmetalworking.com
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924