ระหว่างที่คนไทยส่วนหนึ่งมีความเห็นต่างเรื่องเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือก ฝ่ายหนึ่งอยากใช้ชีวมวลฝ่ายหนึ่งอยากใช้ถ่านหิน และก็มีอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยากให้มีโรงไฟฟ้า แต่ก็ยังต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่…
“เรามาเปิดตำนานกว่า 100 ปี ของพลังงานไฟฟ้าไทยกันดีกว่า…”
พ.ศ. 2427 เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นบุคคลแรกที่นำไฟฟ้าเข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยจ่ายไฟฟ้าให้กับพระบรมมหาราชวัง ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและในท้องพระโรง เดินเครื่องเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ซึ่งตรงกับเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2440 หลวงพินิจจักรภัณฑ์ (นายแฉล้ม) ร่วมกับนายเลียวนาร์ด นาดี ชาวอเมริกันได้แนะนำและชักชวนให้เจ้านายและข้าราชการจัดตั้งบริษัท บางกอก อิเล็กตริกไลท์ ซินดิเคท (Bangkok Electric Light Syndicate) จ่ายไฟฟ้าตามท้องถนนและสถานที่ราชการ ซึ่งต่อมาได้โอนกิจการไฟฟ้าให้กับบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด (Siam Electricity Co.,Ltd.) ของนายอ๊อก เวสเตน โฮลซ์ (Mr. Aage Westenholz) ชาวเดนมาร์ก ดำเนินการต่อซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และที่ตั้งโรงไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่ของวัดราชบูรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ)
พ.ศ. 2497 รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยให้เข้าในสังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2503 ได้ประกาศเป็นพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ขึ้นแทนองค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบให้บริการกับประชาชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
พ.ศ. 2501 รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งเป็นการรวบเอากิจการไฟฟ้ากรุงเทพฯ กับกองไฟฟ้าหลวงสามเสนเข้าด้วยกัน โดยให้มีขอบเขตในการจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ธนบุรี นนทบุรีและสมุทรปราการ
พ.ศ. 2503 รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยรับผิดชอบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศยกเว้นเขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวงได้แก่ กรุงเทพมหานคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ
พ.ศ. 2511 รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยรวมองค์การที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) การลิกไนต์ (กลน.) และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.) ให้รวมเป็นหน่วยงานเดียวในการดำเนินการผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา ประเทศไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสูง ได้มีการพัฒนาแหล่งการผลิตและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการใช้พลังงานในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมีโรงไฟฟ้าและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าเชื่อมโยงกันที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพมั่นคง และความน่าเชื่อถือของระบบการส่งพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 กพช. มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2550 (ครั้งที่ 110) ดังนี้
กฟภ. และ กฟน. ได้ออกประกาศการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับ VSPP เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ตามลำดับ และได้ประกาศเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 23 มีนาคม 2550 ตามลำดับ โดยกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ในอัตราคงที่ตามประเภทเชื้อเพลิงเป็นเวลา 7 ปี ดังนี้
หมายเหตุ:
- ชีวมวล หมายถึง กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร หรือกากจากการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เศษไม้ หรือไม้จากการปลูกป่าเป็นเชื้อเพลิง
- ขยะ หมายถึง ขยะชุมชนทุกเทคโนโลยี
- พลังงานแสงอาทิตย์ หมายความรวมถึง การนพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ในการผลิตน้ำร้อนเพื่อผลิตไฟฟ้า (Solar Thermal)
วันที่ 9 มีนาคม 2551 กพช. เห็นควรให้ปรับปรุงอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า แบบ Adder ดังนี้
หลังจากที่ประเทศไทยได้ใช้อัตราส่งเสริมแบบ Adder คือ ใช้ราคาไฟฐานบวกด้วยอัตราเพิ่ม (Adder) มาเป็นเวลากว่า 5 ปี กพช. ก็ได้มีการพิจารณาราคาอัตราส่งเสริมแบบ FiT (Feed-in Tariff) นั่นคืออัตราส่งเสริมที่รวมราคาไฟฐานแล้ว และประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557
SUPPORTING PROGRAM Feed-In-Tariff (FiT) for Very Small Power Producer (VSPP) 2015
หลังจากใช้อัตรา FiT รูปแบบต่างๆ มาได้ 2-3 ปี การรับซื้อไฟฟ้าแบบ Non-Firm นั้นทำให้ทางการไฟฟ้ายังต้องมีโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเตรียมสำรองไว้เพื่อความมั่นคงจึงทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ดังนั้น จึงได้พิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Firm ในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
อัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT Hybrid Firm สำหรับ SPP
หมายเหตุ:
อัตรา FiT จะใช้สำหรับโครงการซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี พ.ศ. 2560 โดยภายหลังจากปี 2560 นั้น อัตรา FiT จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน (Core Inflation)
อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT Semi-Firm สำหรับ VSPP
หมายเหตุ:
- อัตรา FiT จะใช้สำหรับโครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี พ.ศ. 2560 โดยภายหลังจากปี 2560 นั้น อัตรา FiTV จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน (Core Inflation)
- โครงการในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย และ อ.นาทวี
กรอบปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP Hybrid Firm และ VSPP Semi-Firm
หมายเหตุ: คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จะพิจารณาปริมาณและพื้นที่ที่จะเปิดรับซื้อต่อไป
พัฒนาการของพลังงานทดแทนในประเทศไทยมีมาอย่างต่อเนื่องและไปได้ไกลกว่าทุกประเทศในอาเซียน แต่ก็ยังมีปัญหาอีกมากมายที่รอการแก้ไข และที่สำคัญอยู่ที่เป้าหมายของนโยบายรัฐว่า จะเน้นการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ราคาถูกที่สุด หรือ คำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม การแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่าง SME กับบริษัทชั้นนำด้านพลังงานทดแทนรวมทั้งปัญหาสายส่งไฟฟ้าที่ยังมีไม่ทั่วถึง ปัญหากฎระเบียบที่ซับซ้อนเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลประกาศไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง… ไฟฟ้า
EXECUTIVE SUMMARY
Thailand has continually developed sufficiently electricity to serve the increasing demand. From generators to the distribution networks, people from various industries including the agricultural are benefit from this development. The country brings renewable energy to increase the stability and reliability electricity. In addition, Thailand’s electricity purchasing was counted on an Adder rate, which means being payable on top of the prevailing wholesale price of electricity for 7 years. Later, the Energy Policy and Planning Office (EPPO) has considered using FiT (Feed-in Tariff), meant that a fixed amount per kWh will be paid during the 20 years of support. Since the support are non-firm power producer, the government is considering to firm producers by encourage the renewable energy power producers to sell the firm contract. This will reduce the cost of reserved electricity from Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). Therefore, the policy makers need to consider various formats such as FiT Hybrid Firm power purchasing for Small Power Producer (SPP), FiT Semi-Firm power purchasing from renewable energy for Very Small Power Producer (VSPP).