Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

10 ผลลัพธ์จากการใช้งาน IIoT ในการทำงาน

ในการทำงานยุคดิจิทัลหรืออุตสาหกรรม 4.0 เซนเซอร์กลายเป็นชิ้นส่วนที่ขาดไม่ได้สำหรับความโปร่งใสและ Productivity ที่เกิดขึ้น ในขณะที่การเข้าถึงและส่งข้อมูลในปัจจุบันมีมิติที่มากยิ่งขึ้น การใช้เซนเซอร์ที่เป็น IoT หรือ IIoT สำหรับงานอุตสาหกรรมสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในการทำงาน ด้วยความละเอียดของข้อมูลและความแม่นยำที่มีมิติมากกว่า

การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กันเองเพื่อให้สามารถตอบสนองกระบวนการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ IoT หรือ Internet of Things ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งในสายงานอุตสาหกรรม IIoT หรือ Industrial Iternet of Things เป็นการใช้ IoT กับกิจกรรมต่าง ๆ ของงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อมั่นในการใช้งาน และศักยภาพในหลากหลายมิติ

IIoT สามารถเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน การยกระดับการติดตามการทำงานของเครื่องจักร และการซ่อมบำรุง โดยผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากการใช้งานเบื้องต้นมีดังนี้

  1. การรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการผลิตและการติดตามผล – IIoT จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างระบบและเครื่องจักรมีความแน่นอนสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันได้แบบ Real-time
  2. กระบวนการผลิตสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ – เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์และมีการจัดการด้วยระบบ IIoT สามารถติดตามสถานะการทำงานของอุปกรณ์และโฟลวของการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร การบริหารจัดการสายการประกอบหรือซัพพลายเชนต่าง ๆ
  3. การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ – การทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ล้มเหลวกว่า 75% นั้นเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณใด ๆ แต่การติดตั้ง IIoT สามารถมองเห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นและวางแผนล่วงหน้าได้
  4. ทำให้เกิดคุณภาพระดับสูงสุดที่ทำได้ – IIoT สามารถตรวจจับและระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิต จึงลดเวลา Downtime ความสูญเสียของ Productivity และการผลิตของเสียได้ ซึ่งตรงนี้องจะช่วยควบคุมคุณภาพของการผลิตไปได้ในตัวแบบ Real-time ทำให้เกิดการแก้ไขปรับเปลีย่นได้อย่างทันท่วงที
  5. การบริหารซัพพลายเชนและคลังสินค้า – ด้วยข้อมูลที่เพียงพอ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การเข้าถึงความรู้ในบริบทที่เกิดขึ้น ทำให้คลังสินค้าสามารถบริหารจัดการได้อย่างไร้รอยต่อ การทำงานจึงมีความแม่นยำในการประเมินวัตถุดิบคงคลังและกิจกรรมต่าง ๆ
  6. ระดับการบริการลูกค้าและความพึงพอใจ – การผลิตที่มีการติดตั้งเซนเซอร์สามารถทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้ด้วยการควบคุมคุณภาพ และยังช่วยผู้ประกอบการในการรับการตอบสนองของผู้บริโภคและสามารถย้อนไปดูปัญหาที่เกิดขึนได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบ Real-time
  7. ความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงาน – อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะทำให้ผู้จัดการสามารถติดตามสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานได้ ด้วยการติดตามประวัติการป่วย การบาดเจ็บ การลางานต่าง ๆ รวมถึงสามารถสอดส่องสถานการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อชีวิต เช่น การรั่วไหลของก๊าซ เป็นต้น
  8. การบริหารจัดการพลังงานและความยั่งยืน – อุตสาหกรรมการผลิตนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าของโลกคิดเป็นสัดส่วน 54% การใช้ IIoT จะช่วยให้เกิดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. การสนับสนุนงานบริการภาคสนาม – งานบริการภาคสนามนั้น IIoT สามารถสนับสนุนให้เกิดคุณค่าด้วยปัจจัยที่มีความโปร่งใสชัดเจนแม่นยำ เช่น ในเรื่องของเวลาที่เกิดขึ้น บริบท และการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนบุคคลเชิงเทคนิคในงานบริการ
  10. สนับสนุนการทำงานตามสัญญาการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ – IIoT ทำให้สามารถมองเห็นข้อมูลได้อย่างชัดเจน โปร่งใส แบบ Real-time ทำให้ OEM และผู้ว่าจ้างสามารถมองเห็นความเสี่ยงและประเด็นที่ต้องระวังที่กำลังเกิดขึ้นได้

ที่มา:
Iotbusinessnews.com

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยกว่า 99% กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของ IoT และ IIoT
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924