Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Thailand Industrial Forum ชี้โรงงานไทยไม่ต่ำกว่า 1 พันแห่งพร้อมปรับตัวสู่ยุค 4.0

แบบสำรวจของ Modern Manufacturing เผยให้เห็นข้อมูลการปรับตัวสู่โรงงานอัจฉริยะของผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม พบว่ามีโรงงานกว่า 1,375 แห่ง ที่อยู่ในช่วงปรับตัวให้เข้ากับอุตสาหกรรมยุค 4.0 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการปรับตัวที่มีศักยภาพของเหล่าผู้ประกอบการในพื้นที่ประเทศไทย

จากสภาพการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน รวมไปถึงการขาดแคลนทรัพยากรในหลากหลายมิติทำให้โรงงานต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขหัญหา ซึ่งในต่างประเทศได้มีการปรับตัวในประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวาง แม้แต่ประเทศจีนที่มีแรงงานจำนวนมาก็มีการใช้เทคโนโลยียุค 4.0 กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ดังนั้นศักยภาพแรงงานจึงไม่ใช่ส่วนสำคัญเพียงส่วนเดียวอีกต่อไปแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำงานอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการชาวไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสู้ศึกใหม่นี้ที่กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน

แล้วในปัจจุบันผู้ประกอบการชาวไทยมีการดำเนินการสำหรับการแข่งขันในโลกสมัยใหม่นี้กันมากแค่ไหน? จากการเก็บข้อมูลของในหัวข้อการเปลี่ยนแปลง/ปรับตัวเพื่อให้เป็น Smart Factory (โรงงานอัจฉริยะยุค 4.0) ภายในงานสัมมนาด้านอุตสาหกรรมทั่วประเทศจาก Thailand Industrial Forum โดย บริษัท Green World Media ระหว่างปี 2018 – 2019 มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,788 คน และมีผลตอบรับจากแบบสำรวจดังนี้

  • กลุ่มที่ยังไม่มีการดำเนินการหรือนโยบายสำหรับการเปลี่ยนแปลง 393 แห่ง
  • กลุ่มที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลง/ปรับตัว 1,375 แห่ง
  • มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการทำงานในรูปแบบ Smart Factory แล้ว 20 แห่ง 

จากข้อมูลจะพบว่ามีโรงงานเพียง 20 แห่งเท่านั้นที่สามารถปรับตัวและก้าวข้ามไปสู่ระบบการผลิตสมัยใหม่หรือ Smart Factory ได้ โดยคาดว่าโรงงานเหล่านี้เป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือมีการลงทุนจากต่างชาติจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันกลุ่มโรงงานที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่มีจำนวนมากที่สุดชี้ให้เห็นถึงการตื่นตัวจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นไปได้หลายกรณี เช่น ศักยภาพในการแข่งขันยังคงอยู่ในอัตราส่วนที่มีผลตอบแทนเหมาะสม มีความกังวลในด้านการลงทุน หรือผู้บริหารไม่มีความสนใจในการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

หนึ่งในข้อกังวลหรือค่านิยมที่มักเข้าใจผิดในการลงทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ การลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลในครั้งเดียว แต่ในความเป็นจริงนั้นผู้ประกอบการสามารถเลือกลงทุนเฉพาะส่วนที่ต้องการก่อนได้ไม่จำเป็นว่าจะต้องลงทุนครั้งเดียวด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก เช่น การลงทุนติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับแรงสั่นสะเทือนของมอเตอร์เฉพาะอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงสูงก่อนเป็นต้น

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924