Friday, November 22Modern Manufacturing
×

โมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์… ออกแบบอย่างไร? สร้างผลกำไรและความได้เปรียบทางธุรกิจ

การออกแบบระบบโลจิสติกส์ที่เหมาะสม ไม่เพียงจะทำให้การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการต้นทุนให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งยังเป็นการอุดช่องโหว่ของค่าใช้จ่ายที่รั่วไหลโดยสิ้นเปลืองได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย เนื่องจากการออกแบบและบริหารภาพรวมของเครือข่ายโลจิสติกส์ทั้งหมดอย่างรัดกุม จะช่วยลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถสร้างผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีความเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรธุรกิจอีกด้วย

ทั้งนี้ การออกแบบเครือข่ายโลจิสติกส์นั้น ขั้นตอนแรกจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของสินค้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เพื่อประเมินปัจจัย รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดจากรูปแบบเฉพาะของธุรกิจนั่นเอง

โมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์… ออกแบบอย่างไร? สร้างผลกำไรและความได้เปรียบทางธุรกิจ

5 เรื่องต้องรู้
ก่อนออกแบบเครือข่ายโลจิสติกส์

การออกแบบโมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งสร้างผลกำไรและความได้เปรียบทางธุรกิจนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องของระยะเวลา ข้อมูลตำแหน่งสถานที่ เส้นทางและรูปแบบการขนย้าย ค่าใช้จ่าย ตลอดจนรายละเอียดสินค้า ปริมาณคงคลังและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการออกแบบโมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ มีดังนี้

ปัจจัยที่ต้องพิจารณา
ในการออกแบบโมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์

ระยะเวลาที่ชัดเจน

การออกแบบโมเดลที่เหมาะสม จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขของเวลา ที่จำเป็นต้องมีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่แน่นอน พร้อมข้อมูลรองรับที่หลากหลาย เช่น กำหนดให้มีการส่งสินค้า 28 หน่วย โดยแบ่งช่วงเวลาในการจัดส่งเดือนละ 1 ครั้ง 12 ครั้ง และทุกๆ 4 เดือน ครั้งละจำนวน 4 หน่วย เป็นเวลา 1 ปี

อัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินของพื้นที่

การที่ใช้เงินสกุลเดียวในการทำธุรกิจ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากระบบโลจิสติกส์นั้นมีโอกาสพบเจออัตราแลกเปลี่ยนได้บ่อยครั้ง การออกแบบระบบหรือโมเดลโดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาสกุลเงินที่แตกต่างหรืออัตราแลกเปลี่ยน อาจทำให้เกิดความสูญเสียได้อย่างมากโดยไม่รู้ตัว

รูปแบบการขนย้าย

การระบุรูปแบบการขนย้ายที่เหมาะสม รวมถึงรายละเอียดที่ครบถ้วน ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น การระบุถึงรถกระบะที่สามารถบรรทุกได้ 50 ลิตร ขนาดเครื่องยนต์ 2,500 CC มีอัตราการเผาผลาญน้ำมันอยู่ที่ 10 กิโลเมตร / ลิตร เป็นต้น การระบุรายละเอียดดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนประเภทสินค้า การจัดวาง ปริมาณได้อย่างเหมาะสม

ปริมาณการส่งและระยะทาง

ปริมาณสินค้าที่ต้องขนส่งกับระยะทาง ต้องจำแนกผลสรุปให้ดีว่าปริมาณสินค้าที่บรรทุกนั้นจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักที่พาหนะต้องแบกรับกับระยะทางที่เกิดขึ้น

การกำหนดราคาโอนและภาษี

การดำเนินการภายในองค์กรจะยึดอยู่บนราคาค่าขนส่งภายในที่มีการกำหนดราคาโอนที่ชัดเจน ซึ่งครอบคลุมถึงความยืดหยุ่นได้ โดยไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือการประมาณการขึ้น เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อภาษีที่เกิดขึ้นกับโมเดลอีกด้วย

หลักการ 5 ขั้นตอน
เพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุน

การออกแบบโมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์ โดยมุ่งเน้นศักยภาพในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นและการดำเนินงานอย่างครอบคลุม ซึ่งเมื่อทราบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการออกแบบโมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์แล้ว ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโรงงานสามารถดำเนินการได้ตามหลักการ ดังนี้

ประเมิน รวบรวมข้อมูลและโมเดลที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบโมเดลโลจิสติกส์ โดยใช้ KPI ขององค์กรมาช่วยประเมินและจัดการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าประสงค์

วิเคราะห์ วิเคราะห์ตัวอย่างการจำาลอง เพื่อทดสอบการออกแบบโมเดลของระบบที่ได้วางไว้ โดยทดสอบความสามารถในการรองรับความเปลี่ยนแปลง เช่น การย้ายตำาแหน่งคลังสินค้า หรือการเปลี่ยนระดับความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์

จัดลำดับความสำคัญ นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อทดสอบ ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้จำลองการทำงาน เพื่อเสริมประสิทธิภาพ

วางแผน วางแผนยุทธศาสตร์ให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานของการวิเคราะห์จากสถานการณ์จำลอง หรือ พัฒนาแผนที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์อันไม่คาดคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตาม วิเคราะห์ผลรวม โมเดลเครือข่ายโลจิสติกส์
เพื่อกระจายความเสี่ยง ลดทอนความสูญเสีย

หลังจากการวางแผนโมเดลระบบเครือข่ายโลจิสติกส์แล้ว การติดตามผลรวมและขยายขอบเขตเพี่อลดความเสี่ยงรวมถึงการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน เนื่องจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากข้อมูลและรายงานอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถติดตามผลและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการแสดงผลข้อมูลที่เป็นภาพ ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ หรือการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ทั้งยังง่ายต่อการเข้าถึงรายละเอียดที่ครบถ้วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการรวมผลของข้อมูลที่นับเป็นต้นทุนทั้งมีค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น ระยะทางเฉลี่ยในการส่งสินค้าถึงมือลูกค้า

นอกจากนี้ การจำลองทางเลือกการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากจะช่วยกระจายความเสี่ยงแล้ว ยังลดทอนความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดอันไม่ตั้งใจ เช่น การที่ระบบล่ม หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้นั้นถือเป็นปัญหาสำคัญ การจำลองสถานการณ์และหาเส้นทางแก้ไขเป็นทางเลือกเพิ่มเติม เป็นสิ่งที่จะรักษามาตรฐานและคุณภาพการทำงานไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งระบบการทำงานที่เชื่อถือได้นั้น ต้องเปิดเผยให้เห็นถึงจุดซ่อนเร้นที่ถูกซ่อนเอาไว้ในการออกแบบระบบ

ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการวางเป้าหมายที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นการดำเนินงานเพื่อรองรับข้อมูลของความเสี่ยง การรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน ความน่าเชื่อถือของระบบปฏิบัติงาน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เข้าไปในระบบเพื่อให้เห็นภาพของความเสี่ยงได้ชัดที่สุด อีกทั้งการแสดงผลเป็นกราฟหรือตารางที่ชัดเจน จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า การวางแผนโมเดลโครงข่ายระบบโลจิสติกส์ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีการติดตามผลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเกิดขึ้นมาจากปัจจัยทั้งหลายได้อย่างกระชับแล้ว ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุนไปได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ประกอบกับการดำเนินงานและการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาสนับสนุนการติดตามข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถประมวลผลให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานด้านของระบบโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เคยอย่างแน่นอน


Source:

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924