Friday, November 22Modern Manufacturing
×

ความท้าทายและโอกาสทางเศรษฐกิจ ยุค THAILAND 4.0

MODERN MANUFACTURING ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังสัมมนา ‘The New Era of Digital for Business Solutions’ จัดโดย บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ จากหลายสาขามาร่วมถ่ายทอดมุมมองและแนวทางที่จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือมุ่งสู่เป้าหมายธุรกิจ ทางทีมงานจึงได้หยิบประเด็นที่น่าสนใจจากงานสัมมนามาฝากท่านผู้อ่านอีกเช่นเคย

ความท้าทายและโอกาสทางเศรษฐกิจ ยุค THAILAND 4.0

ภายในงานสัมมนา คุณกรณ์ จาติกวณิช ประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ‘ความท้าทายและโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ’ โดยได้เปรียบเทียบรายได้ของคนไทยกับประชากรโลกว่า ปัจจุบันประชากรโลกมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวปีละ 13,500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวปีละ 6,500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ นั่นเท่ากับว่าคนไทยมีรายได้เฉลี่ยครึ่งหนึ่งของประชากรโลก

“หากย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจโลกมาเกือบทุกปี แต่ในปัจจุบันแม้ว่าเราโตเร็วแต่ระดับรายได้เฉลี่ยของคนไทยก็ยังอยู่แค่ประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยประชากรโลก ดังนั้น การที่จะยกระดับให้คนไทยมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับประชากรโลกได้ เศรษฐกิจของประเทศไทยต้องมีการขยายตัวประมาณปีละ 5% ต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 4 ปี ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการที่จะทำรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” คุณกรณ์กล่าว

โอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศเปรียบเทียบรายได้ของคนไทยกับประชากรโลก

เมื่อปี 1986 คนไทยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 800 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากนั้น ปี 1994 รายได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 2,400 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หรือ 300% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 8 ปี นับว่าเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญในประเทศไทยนั่นคือไทยแลนด์ 3.0 เข้าสู่การเน้นอุตสาหกรรม จากเดิมไทยนั้นเป็นประเทศที่พึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก ซึ่งปี 1986 เป็นปีแรกที่สัดส่วนภาคอุตสาหกรรมเติบโตกว่าภาคการเกษตรในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเกิดจากนักลงทุนต่างประเทศหรือญี่ปุ่นเลือกที่จะขยายฐานการผลิตมาสู่เมืองไทยมากยิ่งขึ้น

คุณกรณ์ จาติกวณิช ประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย“ในจังหวะนั้นประเทศไทยมีที่ดินจำนวนมากที่ถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็นนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก แรงงานล้นเหลือ จังหวะนั้นมีค่าแรงขั้นต่ำด้วย เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ แก๊สธรรมชาติในอ่าวไทยที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตได้มาก มีต้นทุนพลังงานที่ต่ำลง นอกเหนือจากนั้น คือ ขณะนั้นประเทศไทย มีนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค 3.0 มีความต่อเนื่องและมีความชัดเจน ปัจจัยเหล่านั้นทำให้เราได้เปรียบทุกประเทศ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าเกือบทุกประเทศในโลก”

“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางภาครัฐพยายามผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยตื่นตัวสร้างความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ในการวางระบบการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ ซึ่งการวางระบบดังกล่าว ต้องพึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีที่พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละด้าน เพื่อดึงเอาบริการในรูปแบบโซลูชั่นเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมกับโครงสร้างองค์กร” คุณกรณ์กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ

เงื่อนไขในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจไทยหลักๆ ประกอบด้วย

การเปลี่ยนแปลงของการเมืองระดับโลก

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งนโยบายแรกที่ได้ประกาศออกมา คือ การถอนตัวออกจากข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (ทีพีพี) ทั้งนี้ ไทยต้องมีการหารือถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของนโยบายในข้อนี้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม

คือ สังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ไทยเองก็กำาลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัวในระดับครอบครัว ทั้งในเรื่องของการทำธุรกิจ ในการประเมินความต้องการของกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ ปัจจุบันสัดส่วนระหว่างคนไทยในวัยทำงาน 4 คน ต่อ คนไทยในวัยเกษียณ 1 คน ภายใน 20 ปี สัดส่วน 4:1 จะปรับลดลงเหลือ 2:1 จะมีคนไทยวัยทำงาน 2 คนที่จะทำงานสร้างรายได้เพื่อจะดูแลคนวัยเกษียณ 1 คน

การสร้างเมืองใหม่

คือ การโอนย้ายสถานะจากชนบทสู่เมืองมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนส่งผลให้คนมีรายได้มากขึ้น เกิดการท่องเที่ยว ซึ่งไทยเองก็ได้รับอานิสงส์ในส่วนนี้ จะสามารถเตรียมการรองรับการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตได้หรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรม สายการบิน และโลจิสติกส

การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด สินค้าทุกกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม ต้องกลับมาดูด้านผู้กำหนดนโยบายทั้งภาครัฐและเอกชนว่าจะสามารถเตรียมแผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ซึ่งปัจจัยหลักที่จะสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพด้านการแข่งขัน คือ การนำนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาวางรากฐานระบบการทำงาน เพื่อรองรับการเติบโตอย่างมีศักยภาพ

นโยบาย Thailand 4.0

อย่างไรก็ตาม การที่จะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอันจะเกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการเมืองระดับโลก การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การสร้างเมืองใหม่ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด แต่ท้ายที่สุดการที่จะสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพด้านการแข่งขันได้ คือ ต้องนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาวางรากฐานระบบการทำงาน เพื่อรองรับการเติบโตอย่างมีศักยภาพในอนาคต

EXECUTIVE SUMMARY

Mr. Korn Jatikawanich, President of Thailand FinTech Club gave special speech under the topic ‘Thailand’s Challenge and Business Opportunity’ in ‘The New Era of Digital for Business Solutions Seminar’ that looked back to 30 years ago, Thailand had faster economic expansion rate than the world’s economy almost every year. However, currently even though Thailand has the fast growth rate, but the level of average income of Thai people is still considered a half of the world population’s average income. Therefore, in order for Thai people to earn average income in comparable to the world population, Thailand’s economy must have expansion rate approximately 5% per year for 4 consecutive years, which needs to take time to generate 2 times income. In addition, currently government sector has made efforts to push forward Thailand 4.0 policy for real, which has encouraged every sector in Thailand to get ready in all aspects especially for technology used in work practice system setting within organization considered as one of main factors every organization paying attention to. In addition, setting such system must count on technology innovation that is developed by specialists in each field in order to apply a proper service solution to suit the structure of organization.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924