โค้งสุดท้ายปี 2560 ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังระบุชัดถึงการส่งออกสินค้าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 55 เดือน ประกอบกับการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรช่วยสนับสนุนให้การเติบโตมีความมั่นคงมากขึ้น สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตที่ยังคงขยายตัวได้ในอัตราเร่ง เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งพบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 54 เดือน (นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556) ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ภาวะดังกล่าวถือเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีการขยายตัวที่ดี ส่งสัญญาณเชิงบวกต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศได้เป็นอย่างดี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคติดบวกสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี
สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือน นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนสิงหาคม 2560 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 62.4 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคคาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี อีกทั้งมีโครงการลงทุนภาครัฐที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อเดือน จากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนสิงหาคม 2560 กลับมาขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี สูงสุดในรอบ 17 เดือน (นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559) และขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อเดือน สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี
ด้าน มูลค่าการส่งออก สินค้าขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี สูงสุดในรอบ 55 เดือน และขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อเดือน ทั้งนี้ หมวดสินค้าสำคัญที่สนับสนุนการส่งออก เช่น ทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น อาเซียน จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าที่สนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้า เช่น วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เชื้อเพลิง ทองคำ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ในขณะที่ดุลการค้าในเดือนสิงหาคม 2560 เกินดุลจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ได้รับปัจจัยบวกจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.9 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นหลักตามภาวะคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ร้อยละ 0.3 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ระดับร้อยละ 41.8 ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 196.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.5 เท่า
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 54 เดือน (นับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2556) และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อเดือน สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 8 เดือน
สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 เดือน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือน นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคม 2560 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 62.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคคาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.9 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ตามภาวะคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น การแข็งค่าของค่าเงินบาทที่กระทบต่อผู้ส่งออกขนาดเล็ก และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีมูลค่า 24,883 ล้านบาท นับว่าอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวที่ดีร้อยละ 23.8 ต่อปี
EXECUTIVE SUMMARY
Moving forward to the final quarter of 2017, Thai economic circumstance has still been good. The report of Fiscal Policy Office clearly indicated upon the export in August that it had continually expanded by 13.2% per year, considered as the highest expansion in 55 months cycle, while good expansion of private sector’s spending particularly for consumption and investment on tools and machineries helped promoting more sustainable growth in accordance to Thai economy’s production that has still been expanding with good acceleration.
Source:
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม