Sunday, January 19Modern Manufacturing
×

เมื่อ Tesla Model 3 ถูก Reverse Engineering จะพบอะไร?

กระแสยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของ Tesla ผู้ผลิต EV จากสหรัฐอเมริกา ด้วยความโดดเด่นด้านรูปลักษณ์ ระยะทางที่สามารถใช้งานได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ระบบขับขี่อัตโนมัติ ระบบมอเตอร์คู่ รวมถึงการพัฒนาระบบชาร์จพลังงานที่ทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Model ส่วน 3 ถือเป็นยานยนต์รุ่นที่ได้รับความนิยมของ Tesla แต่อะไรคือความแตกต่างเมื่อเทียบกับ EV จากผู้ผลิตรายอื่น?

เมื่อ Tesla Model 3 ถูก Reverse Engineering จะพบอะไร?

ข้อมูลเบื้องต้นของ Tesla Model 3 ที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์นั้นสามารถเดินทางได้ 310 หรือประมาณ 490 กิโลเมตรต่อการชาร์จพลังงานเต็ม 1 ครั้ง ใช้แบตเตอรี่สำหรับระยะทางไกล รองรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ได้ 5 คน อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตรอยู่ที่ 3.3 วินาที ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลทางเทคนิคที่ใช้สำหรับงานขาย ซึ่งที่มาของความสามารถเหล่านี้อยู่ในคลิปด้านล่างที่เป็นการทำวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) ครับ

MUNRO & ASSOCIATES ได้ทำการแยกชิ้นส่วน Tesla Model 3 เพื่อทำการประเมินและให้คะแนนความสามารถในแต่ละส่วนโดยเปรียบเทียบกับ BMW i3 และ Chevrolet Bolt พบว่า Model 3 นั้นเหนือกว่าคู่แข่งอย่างไม่เห็นฝุ่นเว้นแต่เพียง “ตัวถังรถ” ซึ่งมีราคาแพง น้ำหนักมาก มีความซับซ้อนสูง และทำการผลิตยาก ในส่วนของ Wheel Well ซึ่งผู้ผลิตรายอื่นมักจะเป็นชิ้นส่วนเดียวแต่ Model กลับเป็น 9 ส่วน

สำหรับโรงงานสายการผลิตเป็นโรงงานที่ใช้ทั้งหุ่นยนต์และแรงงานจำนวนมาก โดยสายการผลิตนั้นเป็นสายการผลิตที่ใช้ในการผลิตยานยนต์ทั่วไปเช่นผู้ผลิตรายอื่นในยุคปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าประทับใจจากการทำวิศวกรรมย้อนกลับของ Model 3 คือ

  • แบตเตอรี่ ผลิตโดย Panasonic ซึ่งมีการออกแบบทางวิศวกรรมที่ทำให้รถของ Tesla สามารถใช้งานได้ด้วยระยะทางที่ไกลที่สุดในตลาด รวมถึงระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ทำให้อายุการใช้งานยืนยาวอีกด้วย
  • มอเตอร์ มอเตอร์ของ Tesla นั้นมีราคาที่ถูกและเบากว่าคู่แข่งอื่น ๆ ในตลาด ด้วยการออกแบบแม่เหล็กพิเศษทำให้เพิ่มพลังของการหมุนเหวี่ยง

แน่นอนว่าความแตกต่างของยานยนต์ไฟฟ้ากับยานยนต์สันดาปภายในนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องรายละเอียดอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้านั้นสร้างความแตกต่างทั้งทางด้านการใช้งานและโครงสร้างซึ่งอาจเป็นที่มาของโครงสร้างตัวถังที่มีความซับซ้อนและแตกต่างออกไปนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการผลิต EV ของ Tesla นั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากการผลิตหรือประกอบทั่วไปนัก แต่ความแตกต่างที่สำคัญกลับเป็นในส่วนของชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงการเข้ามามีบทบาทของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมากไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ต่าง ๆ หรือชิ้นส่วนควบคุมอัตโนมัติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการผลิต EV จึงตกไปอยู่ในส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วนมากกว่าส่วนของการประกอบ รวมถึงเปิดโอกาสใหม่สำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม

ความสำเร็จของ Tesla เรียกว่าไม่ได้มาเพราะโชคช่วย จากการทำวิศวกรรมย้อนกลับพบว่าโครงสร้างและการทำงานของส่วนประกอบแทบทั้งหมดถูกออกแบบใหม่ทั้งสิ้น หมายความว่า Tesla ตั้งต้นจากการวางเป้าหมายที่ชัดเจนในขณะที่ทำการออกแบบและพัฒนาพื้นฐานใหม่ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างตัวถังให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทั้งทางด้านการใช้งานรวมถึงความปลอดภัย ผลลัพธ์ของความใส่ใจดังกล่าวกลายมาเป็นความสำเร็จของ Model 3 ในปัจจุบัน อีกสิ่งหนึ่งที่ยังค้างคาใจ คือ การที่ Tesla ตั้งชื่อ Model 3 นี้เกี่ยวข้องกับการพยายามล้อไปกับ Ford Model T หรือเปล่า?

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924