Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

เดลต้าเปิด ‘โคเวิร์คกิ้งสเปซ วิศวกรรมนวัตกรรม’ ณ พระจอมเกล้าลาดกระบัง

กรุงเทพฯ 30 พฤศจิกายน 2563 – บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) เปิดโคเวิร์คกิ้งสเปซแห่งใหม่ สร้างความร่วมมือและการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมนวัตกรรม ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พระจอมเกล้าลาดกระบัง หรือ สจล.) พร้อมมอบหุ่นยนต์ อุปกรณ์สำหรับระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ และจอสัมผัสอัจฉริยะ ให้แก่ห้องแล็บระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้า (Delta Industrial Automation Lab) ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง

นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร เดลต้า ประเทศไทย และ รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ร่วมทำพิธีเปิดโคเวิร์คกิ้งสเปซแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมทีมผู้บริหารเดลต้าที่ร่วมสาธิตการใช้งานและมอบเครื่องมืออุปกรณ์ห้องแล็บแก่คณาจารย์และนักศึกษาพระจอมเกล้าลาดกระบัง โดยเดลต้ายังได้มอบหุ่นยนต์แขนกลหกแกน (Six-axis articulated robot) ที่ทางเดลต้าพัฒนาขึ้น พร้อมหัวขับรุ่นใหม่ (Actuator) และจอสัมผัสอัจฉริยะขนาดใหญ่ NovoTouch ให้แก่ห้องแล็บระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมของเดลต้า ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง

เดลต้าให้การสนับสนุนโคเวิร์คกิ้งสเปซแห่งใหม่เพื่อใช้เป็นพื้นที่การเรียนรู้และร่วมมือกันของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการในไทย เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในประเทศและส่งต่อความเชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม โดยโคเวิร์คกิ้งสเปซนี้เป็นพื้นที่ความร่วมมือแห่งใหม่เพิ่มเติมจากห้องแล็บระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมของเดลต้า ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เปิดให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ IoT อิเล็กทรอนิกส์ และพาวเวอร์กำลังไฟฟ้าฝังในระบบ

ภายในงาน นายแจ็คกี้ จาง ได้กล่าวว่า “เดลต้าภูมิใจที่ได้บุกเบิกและต่อยอดการพัฒนาการศึกษาด้านระบบอัตโนมัติในระดับอุดมศึกษาของไทย วันนี้เราขยายความร่วมมืออันแข็งแกร่งกับ สจล. ด้วยการเปิดโคเวิร์คกิ้งสเปซแห่งใหม่ และมอบอุปกรณ์ขั้นสูงล่าสุดเพื่อใช้ในห้องแล็บระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมของเดลต้าที่ตั้งอยู่ที่นี่ เดลต้าหวังว่าจะได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ นอกจาก สจล. เพื่อส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในรุ่นต่อไปของไทย ซึ่งจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน”

ที่ผ่านมา มีนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์กว่า 1,000 คนได้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการเดลต้าออโตเมชั่น อะคาเดมี (Delta Automation Academy) และเดลต้าได้จัดตั้งห้องแล็บแห่งอนาคตด้านระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยแล้วหลายแห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เกี่ยวกับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อปี พ .ศ. 2531 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำของโลกด้านโซลูชั่นส์การจัดการพลังงานและความร้อน นอกจากนี้ เดลต้า ฯ ยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในระดับภูมิภาคหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ อาทิ ระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ระบบแสดงผลครบวงจร และระบบเครือข่าย โดยพันธกิจของบริษัทฯ ที่ว่ามุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้

พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน  ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นส์การประหยัดพลังงานทางด้านเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ และด้วยนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาที่ทันสมัย ธุรกิจหลักของบริษัทฯ แบ่งได้ดังนี้ เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ออโตเมชั่น และระบบโครงสร้างพื้นฐาน  บริษัทฯ มีสำนักงานขายมากมายในภูมิภาคหลักทั่วโลก โรงงานผลิตในอินเดีย สโลวาเกีย และประเทศไทย ศูนย์วิจัยพัฒนาและออกแบบในไทย อินเดีย เยอรมันและอื่น ๆ อีกมากมายในหลายประเทศ

เดลต้า (ประเทศไทย) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและในภูมิภาค  โดยได้รับการเชิดชูเกียรติจากนานาสถาบัน อาทิ รางวัลองค์กรธุรกิจแห่งอาเซียนด้านสุดยอดนวัตกรรม  รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านผลการดำเนินงานดีเด่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเดลต้าฯ  สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.deltathailand.com

โทร : +662 709 2800 ext. 6303, 6381

อีเมล: [email protected]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: วีโร่

คุณปิยะฉัตร นามบัณฑิต (ทราย)    อีเมล [email protected]       โทรศัพท์ 086 093 9019

คุณกานต์ชนก ตองอ่อน (อีฟ)     อีเมล [email protected]    โทรศัพท์ 088 916 9363

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924