โดย: อ.ชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์ รักษาการณ์ผู้จัดการแผนกเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สถาบันไทย-เยอรมัน
ปัจจุบันการพัฒนาโรงงานเพื่อเข้าสู่รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดความต้องการใหม่ของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้การผลิต การขาย การขนส่ง เปลี่ยนไปอย่างมาก เป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องมองและวางแผนอย่างรอบคอบในการวางระบบและเปลี่ยนแปลงนั้นให้เร็วเท่าทัน และพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาในระดับกระบวนการนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก การประยุกต์ใช้นั้นง่ายขึ้น และทำได้อย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้นมองว่าการเปลี่ยนนี้ อาจแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 คือ การเปลี่ยนผ่านระบบปัจจุบัน ใช้แรงงานหรือกึ่งอัตโนมัติ ให้เป็นระบบอัตโนมัติทั้งระบบ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง เรื่องปริมาณ และความเร็วการผลิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- ระยะที่ 2 คือ การเปลี่ยนวิธีการเก็บ การขนส่งข้อมูล เพื่อติดตาม และควบคุมกระบวนการผลิตจากเอกสารหรือคน เป็นแบบ ดิจิทัลและเรียลไทม์
- ระยะที่ 3 คือ เปลี่ยนวิธีการจัดการและควบคุมการผลิต ด้วยระบบเชี่ยวชาญด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อเชื่อมโยง Big Data และข้อมูลภายนอกและภายใน ในการปรับการจัดการที่เหมาะสม และทันเวลาพอดี
ซึ่งระยะที่ 1 นั้น ปัจจุบันผู้ประกอบการมีทางเลือกที่ชัดเจนและหลากหลาย และมีผู้เชี่ยวชาญให้บริการตามอุตสาหกรรมที่ตนเองดำเนินการอยู่ ส่วนระยะที่ 2 นั้น ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำเสนอรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้การพัฒนาระบบและการตัดสินใจเลือกทำได้ยากและมีความกังวลในการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนาได้อย่างเป็นขั้นตอนสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการแข่งขันในสิ่งแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน พัฒนาได้อย่างเป็นระบบโดยแบ่งเป็น 5 มุมมองที่เกี่ยวข้อง คือ
- กระบวนการผลิต และการกำหนดข้อมูลเพื่อการจัดการกระบวนการ
- การปรับกระบวนแมนวลและข้อมูลแอนะล็อกให้สามารถส่งข้อมูลได้
- การวางโครงสร้างระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล
- การเลือกอุปกรณ์ใช้งานและการเชื่อมต่อเครือข่าย
- การประมวลผลและการต่อยอดความสามารถของระบบ
เพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและกำหนดขั้นตอนการพัฒนาสถานประกอบการได้อย่างชัดเจน ซึ่งในบทที่นี้จะกล่าวถึงในมุมมองที่ 1 คือ การวิเคราะห์กระบวนการผลิต และการกำหนดข้อมูลเพื่อการจัดการกระบวนการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ
- กระบวนการผลิต และการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ
- รูปแบบการไหลของข้อมูล
กระบวนการผลิต และการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ นั้นด้วยความหลากหลายของอุตสาหกรรม การจัดกระบวนการและวิธีการของแต่ละสถานที่มีรายละเอียดปลีกย่อยนั้นแตกต่างกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้สำรวจจากหลากหลายอุตสาหกรรม พบว่าหลักการทำงานนั้นคล้ายๆ กัน โดยสามารถพิจารณาจากวธีการการจัดการกระบวนการ สามส่วนคือ
- ข้อมูลของส่วนอินพุต วัตถุดิบ หรือ ซัพพลาย ทรัพยากร ที่ใส่เข้าใป
- ข้อมูลของส่วน กระบวนการผลิต กิจกรรม คน เครื่อง พลังงาน เวลา การหยุด การเริ่ม
- ข้อมูลของส่วนเอาต์พุต ผลผลิตหรือสินค้าสำเร็จรูป
ตัวอย่างที่แสดงนี้เป็นของโรงงานแห่งหนึ่งผู้เขียนได้ทำการสำรวจ และกำหนดรูปแบบการวางกระบวนการ เพื่อกำหนดข้อมูลที่ต้องการ โดยเริ่ม จาก
- การเข้ามาของ Raw Material จากภายนอก องค์กร ข้อมูลที่ต้องการ คือ เวลา, จำนวน, สถานะ
- การจัดเก็บ Materia ข้อมูลที่ต้องการ คือ จำนวน, สถานะ, สถานที่, การเบิกจ่าย, การขนย้าย, ต้นทุนการเก็บ
- การผลิต ข้อมูลที่ต้องการ คือ การเริ่ม, การจบ, การรอคอย, การแจ้งเตือน, การปรับตั้ง, การใช้พลังงาน
- การวัดและทดสอบ ข้อมูลที่ต้องการ คือ จำนวน, สถานะ, หัวข้อปัญหา , ความถี่
- การไหลกลับของข้อมูลที่ไม่อยู่ในกระบวนการปรกติ ข้อมูลที่ต้องการ คือ การเริ่ม, การจบ, การรอคอย, การแจ้งเตือน, การปรับตั้ง, การใช้พลังงาน
โดยต้องปรับกระบวนการ ที่ต้องจัดเก็บหรือการบันทึกด้วยคน ให้สามารถส่งได้ด้วยข้อมูลที่เป็นดิจิทัลโดยนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์รูปแบบต่างมาช่วย
รูปแบบการไหลของข้อมูล ทำการพิจารณาจาก
- ความต่อเนื่องของข้อมูล รอบเวลาการมาของข้อมูล
- เวลาที่ต้องการใช้ข้อมูล และคุณค่าของข้อมูล (เพื่อตัดสินใจ, เพื่อเก็บสถิติ, เพื่ออ้างอิง, เพื่อทำนาย,) ในการนำไปใช้งานเพื่อการบริหารจัดการกระบวนการ
- ระยะทางที่ต้องการส่งข้อมูล และวิธีในการส่งข้อมูล
- จำนวนข้อมูลต่อช่วงเวลา เช่น สัปดาห์ เดือน หรือ ปี
ซึ่งเมื่อเรากำหนดทั้งสองส่วนได้และกำหนดไดอะแกรมที่ชัดเจน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาของข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถ ส่งเข้าไปในระบบได้ซึ่งจะกล่าวในตอนถัดไป