นักวิจัยค้นคว้า Silver Nanopattern หรืออนุภาคเงินที่สามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดีในขณะที่สามารถปล่อยให้แสงลอดผ่านได้ ทำให้เกิดอิเล็กโทรดฟิล์มใสแบบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์แสงอาทิตย์ หรือหน้าจอที่มีความยืดหยุ่น เช่น หน้าจอสัมผัสของสมาร์ทโฟน
ด้วยคุณสมบัติของโลหะอย่าง เงิน ที่มีความทนทานทั้งทางด้านกายภาพเชิงกลและสารเคมี ซึ่งมีคุณภาพมากกว่าวัสดุที่นิยมใช้ผลิตอิเล็กโทรดในปัจจุบัน การพัฒนานี้ทำให้เกิดทางเลือกในการใช้หน้าจอที่มีความยืดหยุ่นสูงหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพในการใช้งาน รวมถึงยืดอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน
ปัจจุบันการผลิตอิเล็กโทรดแบบใสนั้นใช้ Indium Tin Oxide (ITO) ซึ่งมีความโปร่งแสงคิดเป็น 92% เมื่อเทียบกับแก้ว แม้ว่าจะมีลักษณะโปร่งแสงที่ดีแต่การผลิตจำเป็นต้องทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากความบอบบางของวัสดุ การผลิตแบบใหม่นี้ใช้วิธีการ Colloidal Lithography เพื่อผลิตแผ่นฟิล์มจากวัสดุเงินและใช้เตาอบพลาสมาเพื่อให้อนุภาคหดตัวลงมีขนาดเท่า ๆ กัน โดยค่าความต้านถูกจำกัดไว้ไม่เกิน 10 โอห์มต่อตารางเท่านั้น
ที่มา:
- Sciencedaily.com