นักวิจัยพัฒนาการเคลือบเซรามิกที่ทำให้ควบคุมรังสีความร้อนได้ ซึ่งความสามารถนี้สามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานของเครื่องยนต์อากาศยานที่ต้องทำงานภายใต้สภาวะอุณหภูมิที่สูงมาก ๆ ได้
กังหันก๊าซที่ให้กำลังขับเคลื่อนสำหรับเครื่องยนต์ของอากาศยานนั้นต้องพึ่งพาการเคลือบเซรามิกเพื่อให้โครงสร้างมีอุณหภูมิคงที่เมื่อมีอุณหภูมิสูง แต่การเคลือบเหล่านี้ไม่ได้ควบคุมรัศมีความร้อนที่แผ่ออกมาทำให้กลายเป็นข้อจำกัดของศักยภาพเครื่องยนต์
นักวิจัยจาก Purdue University จึงได้พัฒนาเซรามิกที่เป็น Nanotube ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับเสารับสัญญาณความร้อนทำให้ควบคุม Spectrum และทิศทางของรังสีความร้อนอุณหภูมิสูงได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะเพิ่มอายุของการเคลือบให้ยาวนานยิ่งขึ้น ศักยภาพในการทำงานของเครื่องยนต์จะเพิ่มตามด้วยเช่นกันเนื่องจากเครื่องยนต์จะสามารถใช้ความร้อนที่มากขึ้นด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นได้ ซึ่งเซรามิกที่ว่านี้จะเป็นเซรามิกที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อให้สร้าง Nanotube ขึ้นมาจากการก่อตัวของวัสดุเซรามิกที่เรียกว่า Boron Nitride ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องความเสถียรต่อความร้อน โดย Nanotube ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะสามารถเร่งความเร็วของรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาได้ทำให้ระบบความเย็นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ที่มา:
Sciencedaily.com