Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

อุตสาหกรรม 4.0 หลัง COVID-19 จะเป็นอย่างไร?

ยุคนี้ไม่ใช่เพียงแค่เทคโนโลยีเท่านั้นที่จะมา Disrupt ธุรกิจและการผลิตได้ แต่การมาถึงของโรคระบาดอย่าง COVID-19 ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงกระทันหันได้เช่นกัน และในขณะเดียวกันอุตสาหกรรม 4.0 ก็สามารถถูก Disrupt ได้อีกด้วยเหมือนกัน

การระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้บางโรงงานต้องหยุดสายการผลิตด้วยเหตุผลทางด้านความพร้อมของแรงงาน โรงงาน ไปจนถึงซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ถือเป็นครั้งแรกที่เห็นผลกระทบได้อย่างชัดเจนทั่วโลกพร้อมกันโดยไม่เลือกหน้า

ไม่เฉพาะภาคซัพพลายเท่านั้น ในส่วนของดีมานด์ก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน ส่วนของดีมานด์และซัพพลายที่สามารถอยู่รอดได้หลัก ๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ทั้งสิ้น

ก่อนหน้าโรคระบาดนั้นอุตสาหกรรม 4.0 เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในด้านของกำไรที่เกิดขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าอะไรก็ดูจะเป็นในทางบวกไปหมด ประเด็นแห่งอนาคตถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงบ่อยครั้ง

อุตสาหกรรม 4.0 ก่อนภาวะวิกฤตจะให้ความสำคัญกับความได้เปรียบในการแข่งขัน การลดต้นทุน Productivity ความยั่งยืน และนวัตกรรม เป้าหมายคือทำธุรกิจที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้ผลิตต้องเอาตัวให้รอดและจำกัดความเสียหายเอาไว้ให้ได้เสียก่อน ผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนขนานใหญ่ โซลูชัน 4.0 ต่าง ๆ ถูกยื้อเวลาออกไปหรือพิจารณาใหม่ กลายเป็นส่วนที่ยังไม่จำเป็นสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจ

ในตอนนี้อุตสาหกรรม 4.0 นั้อาจยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่สำหรับในอนาคตที่จะมาถึงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในตอนนี้ผู้ผลิตถูกแบ่งสถานการณ์ออกเป็น 3 กลุ่มช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 เอาตัวรอด
ช่วงที่ 2 ฟื้นตัว
ช่วงที่ 3 การทำธุรกิจตามแนวทางใหม่หลังวิกฤต

แน่นอนว่าทุกคนย่อมอยากไปถึงช่วงที่ 3 โดยไวและใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุด โมเดลที่จะใช้สำหรับธุรกิจรูปแบบใหม่นั้นจะเป็นการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤตและความพยายามในการสร้างสภาพคล่องให้กับธุรกิจ และจะต้องถามคำถามพื้นฐานกับตัวเองอีกครั้ง เช่น จุดอ่อนนั้นอยู่ตรงไหน? ส่วนใดที่มีการตัดสินใจใช้งบจำนวนมากและทำไม แล้วอะไรที่จะช่วยในธุรกิจ?

หนึ่งในจุดอ่อนที่ชัดเจนที่สุด คือ การขาดความสามารถในการมองเห็นทั้งธุรกิจแบบ Real-time ซึ่งความสามารถนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจในด้านธุรกิจอย่างยิ่ง เช่น การตรวจสอบดีมานด์ในตลาด การรับรู้สถานะวัตถุดิบในคลัง หรือวัตถุดิบถูกส่งมาจากไหนและมีตัวเลือกอื่น ๆ อะไรบ้างเป็นต้น

อีกหนึ่งบทเรียนที่สำคัญจะมาจากผู้ผลิตที่มีการใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่และผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Social Distancing ถ้ามองให้ลึกลงไปมากกว่าแค่ซัพพลายเชนจะพบว่ามีช่องว่างขนาดใหญ่ในภาคการผลิตอยู่

ในช่วงเวลาวิกฤตแผนการผลิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งตามดีมานด์ วัตถุดิบที่มี รวมถึงทีมงานและทรัพยากรอื่น ๆ การผลิตจำเป็นต้องเกิดขึ้นแบบ Real-time ไม่ใช่ ‘เกือบจะ Real-time’

บทบาทของอุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต

อุตสาหกรรม 4.0 อาจมีบทบาทที่แตกต่างกันจากในวันนี้ไปบ้าง แต่บทบาทที่สำคัญ ได้แก่

  1. ทำให้มั่นใจว่าบริษัทจะต้องรอดอย่างแน่นอน
  2. ลดระยะเวลาช่วงฟื้นตัวและสนับสนุนให้สามารถกลับมาทำการกิจกรรมการผลิตปรกติได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  3. เป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในระยะกลางและระยะยาว

ความเป็นไปได้จากอุตสาหกรรม 4.0 นั้นมีอยู่มากมายหลากหลายที่จะลดผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นกับการผลิตได้ เช่น

  • การมองเห็นทั้งระบบแบบ Real-time ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ การทำงาน แรงงาน ทรัพยากรต่าง ๆ
  • การใช้ AI และ Machine Learning เพื่อประเมินงานและปรับเปลี่ยนแผนงานอย่างสม่ำเสมอ
  • การใช้ RPA ในงานที่ไม่จำเป็นต้องให้แรงงานทำ
  • ใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่ AR และ VR เพื่อให้แรงงานทำงานที่ไม่เคยถูกฝึกฝนมาก่อนได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยสนับสนุนด้านการขาดแคลนทักษะได้
  • ใช้เทคโนโลยีจากข้อก่อนหน้าร่วมกับ Digital Twins และการสนับสนุนจากภายนอก (Remote Support)
  • ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ในการควบคุมงานจากภายนอกและทำงานผ่านระบบเสมือน (Virtual Working) ซึ่งสนับสนุนการกักตัวและ Social Distancing
  • ใช้ 3D Printing ผลิตชิ้นส่วนที่ขาดแคลน
  • ใช้ AGV ยานยนต์ไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือโดรน เพื่อลดภาระหน้าีท่การทำงานของแรงงาน

หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับวิกฤต หรือการทำ Digital Transformation คือ ความร่วมแรงร่วมใจกันขององค์กร การวางนโยบายแต่ไม่ลงมือทำ หรือทำกันเฉพาะคนบางกลุ่มไม่สามารถนำพาองค์กรของคุณก้าวผ่านภาวะวิกฤตเหล่านี้ไปได้

แน่นอนว่าหากคุณผ่านมันมาได้วิธีการทำงาน แนวคิด และมุมมองจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่ง คือ ท่ามกลางวิกฤตนี้จะต้องตัดสินใจให้ดีโดยอ้างอิงจากข้อมูลให้ครบได้มากที่สุด

ที่มา:
Themanufacturer.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924