Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในยุค 4.0

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในยุค 4.0ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารบนโลกออนไลน์ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งอิทธิพลของเทคโนโลยีที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อวงการแปรรูปอาหาร คือ Industry 4.0 และ IoT อีกเช่นกัน ซึ่งสร้างความสะดวกและพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานให้เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ทั้งทางด้านผลผลิตและกระบวนการปฏิบัติงาน

โรงงานแปรรูปอาหารหรืออุตสาหกรรมอาหาแห่งอนาคตนั้น ถือเป็นผลิตผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เทคโนโลยีด้าน IT ต่างเข้ามาสนับสนุนกระบวนการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Industry Week ได้รายงานว่า กว่า 40% ของผู้ผลิตเชื่อว่ากระบวนการผลิตอัจฉริยะนั้น ได้มาถึงช่วงเวลาอันน่าสนใจที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทกันอย่างจริงจัง ซึ่งเหล่าผู้ผลิตหรือนักลงทุน ต้องทำความเข้าใจประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคส่วนของตนอย่างชัดเจน เพื่อทำการพัฒนาและต่อยอดความสำเร็จของกิจการที่ต้องก้าวไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยต้องทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เข้ามาเป็นตัวแปรในเรื่องเหล่านี้

5 เทคโนโลยี ที่ผลักดันกระบวนการแปรรูปอาหารสมัยใหม่

HUFFINGTON POSTวงการอุตสาหกรรมยุคใหม่นั้น เน้นการแข่งขันไปที่การครอบครองนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์การผลิตของตนและกลุ่มลูกค้า ซึ่งโรงงานผลิตหรือแปรรูปอาหารโดยมากมักจะมีการจัดการกับปัญหาที่ก่อให้เกิดการสูญเสียของต้นทุนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่เหมาะสมตามรูปแบบของ Lean จัดการกับขั้นตอนที่ไม่จำเป็น รวมถึงการควบคุมกลไก ราคาในตลาดพื้นฐานอีกด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีที่จะสนับสนุนศักยภาพการทำงานของโรงงานแปรรูปได้หลักๆ มี 5 ชนิด ดังนี้

  1. Robotics
    หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับการทดแทนแรงงาน ซึ่งสามารถช่วยในการควบคุมงบประมาณได้เป็นอย่างดี เพิ่มความแม่นยำของการทำงาน โดยเฉพาะงานที่มีความอันตรายสูงปัจจุบันหุ่นยนต์ได้มีการพัฒนาให้สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้ในหลากหลายตำแหน่ง เช่น Amazon ที่ใช้ Kiva Systems มูลค่ากว่า 775 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระบบหุ่นยนต์ดูแลจัดการคลังสินค้าทำให้สามารถประหยัดต้นทุนลงไปได้กว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 40% นั่นเอง
  2. Product Innovation
    เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและตลาด ธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนั้นจำเป็นต้องใช้ PLM หรือ Product Life Cycle ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการระบุความซับซ้อนที่เกิดขึ้นของอุตสาหกรรม แปรรูปอาหาร พัฒนาและเปิดตัวสินค้าใหม่สู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B หรือ B2C ก็ล้วนแต่ต้องการนวัตกรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับยุคสมัยใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ทั้งสิ้น ซึ่งนวัตกรรมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อย่างเช่น 3D Printing เข้ากับทรัพยากรที่มี เช่น การสร้างบรรจุภัณฑ์ต้นแบบจะสร้างเอกลักษณ์และจุดขายที่สำคัญเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
  3. Closed Loop Quality Control
    โรงงานแปรรูปอาหารส่วนมากมักจะใช้การควบคุมคุณภาพแบบระบบอัตโนมัติเพื่อประมวลข้อมูลที่ได้ การสร้างระบบที่มีเซนเซอร์ตรวจจับอย่างใกล้ชิดและละเอียดในทุกขั้นตอนถือเป็นสิ่งจำเป็นหากต้องการควบคุมคุณภาพ เพื่อตรวจสอบความ
    เปลี่ยนแปลงให้เจอเสียก่อนที่จะสายเกินไป
  4. Planning and Scheduling
    เมื่อลูกค้ามีความต้องการสินค้า MTS หรือ Make-to-Stock มากขึ้น ผู้ผลิตอาหารแปรรูปมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนและจัดการล่วงหน้า เพื่อเตรียมตัวรับงานที่มีความท้าทาย โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุจัดวางขายต่ำ การใช้เครื่องมืออัจฉริยะ
    จะสามารถช่วยในการจัดการทรัพยากรที่ต้องใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะความต่อเนื่องลื่นไหลของวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นสินค้า ด้วยการประเมินทรัพยากรเป็นประจำจะทำให้สามารถพยากรณ์และเตรียมพร้อมวัตถุดิบได้ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า
  5. IoT-Aided Logistics
    Supply Chain Management IoT นั้น สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมการผลิตได้หลายแง่มุม สามารถประยุกต์ได้กับห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์ การตรวจสอบสินค้าในคลังสินค้า จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า
    • กว่า 35% ของผู้ผลิต ปัจจุบันใช้เครื่องมืออัจฉริยะเพื่อยกระดับกระบวนการทำงาน และอีก 17% มีแผนดำเนินการใช้งานในอีก 3 ปีข้างหน้า
    • ในปัจจุบันสินค้ากว่า 38% นั้น ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลและอีกกว่า 31% มีแผนที่จะปรับใช้ในอนาคต
    • 34% เชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่อเมริกันชนผู้เป็นนักลงทุนด้านอุตสาหกรรมควรปรับเข้าหา Io

ผลลัพธ์ 5 ประการ จากการสนับสนุนของเทคโนโลยี IT

สำหรับกระบวนการแปรรูปอาหารนั้น เทคโนโลยี IT นับเป็นส่วนสำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น Cloud หรือ IoT ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด ตั้งแต่ระดับออฟฟิศไปจนถึงระดับปฏิบัติการของโรงงาน การทำความเข้าใจเทคโนโลยี IT ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้นจึงนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก หากจะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงของงานอุตสาหกรรม

  1. Value Chain Visibility
    เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด ผู้ผลิตจะต้องมีการจัดการยุ้งฉางเก็บผลผลิตและระบบต่างๆ ให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยหากข้อมูลถูกเก็บไว้ในที่ๆ เดียวโดยไม่ได้แบ่งปันไปใช้งานกับส่วนอื่น นอกจากนี้ ยังต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real-Time และสำหรับสายการผลิตอาหารและเครื่องดื่มนั้นความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงจุดการจัดวางเพื่อซื้อ-ขายนับเป็นข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุขัยของอาหารและวัตถุดิบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งความน่าเชื่อถือของแบรนด์และต้นทุน
    ได้โดยตรง
  2. Mobile and Social Connectivity
    ผู้จัดการโรงงานไม่อาจนั่งประจำที่อยู่ตลอดเวลาได้อาจต้องออกตรวจตราและลงมือปฏิบัติงานเองในบางอย่าง ดังนั้น อุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อและทำงานผ่านระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะตอบสนองการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานที่ ซึ่งสามารถสนับสนุนงานตั้งแต่การซ่อมบำรุง การสำรองชิ้นส่วน นอกจากนี้ การผสมผสานและสื่อสารกันของเครื่องมือต่างๆ จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมจะทำให้ทราบถึงผลตอบรับของสินค้า สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาได้ตรงตามความต้องการได้
  3. Cloud-Enabled Agility
    ด้วยระบบ Cloud รูปแบบการทำงานและการค้าขายได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น รูปแบบการทำงานและการผลิตรูปแบบใหม่สามารถทำได้ง่ายดาย รวมทั้งลงลึกในรายละเอียดได้มากขึ้นสามารถลดกำลังการลงทุนลงได้ในหลายภาคส่วนโดยใช้ Cloud ทดแทนในการทำงาน เช่น ระบบ ERP ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นจากการใช้งานร่วมกับระบบ Cloud ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมดในระบบเอาไว้ให้ช่วยวางแบบแผนและตัดสินใจ
  4. Data Ingenuity
    ด้วยการใช้งาน Spreadsheet ร่วมกับประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานในการผลักดันกระบวนการทำงานของโรงงานแปรรูป วันนี้เราสามารถพบเจอข้อมูลที่มากมายกว่าที่เคย ทำให้กระบวนการผลิตมีความคุ้มค่าที่มากกว่าเดิม การใช้ข้อมูลที่ได้มาอย่างชาญฉลาดนั้นจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์การซื้อขาย พฤติกรรมผู้บริโภค และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่ง IoT สามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี เพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องมีการวางแผนการจัดการข้อมูลให้ดี เพื่อสร้างศักยภาพการทำานกับข้อมูลจำนวนมหาศาล
  5. Customer Centricity
    ปัจจัยสุดท้ายสำหรับโรงงานแปรรูปแห่งอนาคต คือ ‘ลูกค้าเป็นสำคัญ’ ซึ่งเน้นไปที่ความรวดเร็วของการขนส่ง มูลค่าของสินค้า และประสบการณ์เชิงบวกที่ลูกค้าจะได้รับจากบริการและสินค้าของผู้จำหน่ายเอง ซึ่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้น ถือเป็นปัจจัยหลักอีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องตามความต้องการของลูกค้าหรือเทรนด์ตลาดให้ทัน ซึ่งตลาดผู้บริโภคนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วจำเป็นจะต้องมี CRM (Customer Relationship Management) และเครื่องมือออนไลน์ รวมถึงการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงเป้า

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น เป็นสิ่งที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเหล่าผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจำป็นต้องมีความเข้าใจถึง เทคโนโลยีด้าน IT และนวัตกรรมที่ผลักดันและสนับสนุนรูปแบบของอุตสาหกรรมการแปรรูป เพื่อให้เกิดศักยภาพในการปรับใช้ได้อย่างสูงสุดโดยไม่เกิดปัญหาขึ้น ทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากร เพื่อสร้างการทำงานที่ยั่งยืนมีศักยภาพ

EXECUTIVE SUMMARY

The 4th revolution of industrial circle or Industry 4.0 is happening with every fields of industrial, including food processing. For food processing industry, it must be focused on overall control system with smart technology. This revolution based on 5 technologies that are Robotics, Product Innovation, Closed Loop Quality Control, Planning and Schedule and IoT-Aided Logistics Supply Chain Management which also caused 5 results from IT which are Value Chain Visibility, Mobile and Social Connectivity, Cloud-Enabled Agility, Data Ingenuity and Customer Centricity. The manufacturers must be readied for the revolution in order to achieve the best outcome of their investment.


Source:

  • How Process Manufacturers Can Prepare for the Factory of the Future (Process Manufacturing) (www.infor.com)
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924