พลังงานยุคใหม่ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคต ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันวิกฤติด้านพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการทำธุรกิจต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นนั้นจะมีพื้นที่อาเซียนเป็นหัวใจสำคัญที่จะสะท้อนภาพผลลัพธ์ที่ทั่วโลกต่างหมายปองได้อย่างชัดเจนที่สุด
ต้องยอมรับว่าปัญหาด้านพลังงานนั้นมีมิติที่หลากหลายซับซ้อน ทั้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สังคม ตลอดจนการทำธุรกิจที่ต้องอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืน การแก้ปัญหาจึงต้องมีนโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีการบริโภคพลังงานมากเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 83% จากส่วนผสมด้านพลังงานทั้งหมดและแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานนั้นยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ทำให้พื้นที่ของอาเซียนเองเป็นพื้นที่ที่่งผลกระทบต่อปัญหาด้านพลังงานในระดับสูง
ปัจจุบันประเทศสมาชิก 10 ประเทศของอาเซียนได้แสดงจุดยืนและความมุ่งหมายในการไปให้ถึง Net Zero ในปี 2050 มีเพียงฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ยังไม่ได้ประกาศแนวทางตอบสนองต่อแนวคิดดังกล่าวขึ้น การก้าวไปสู่ Net Zero นั้นไม่มีแนยวทางที่ตายตัวและไม่ได้ง่ายดาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและประเด็นที่ให้ความสำคัญ โดยในปี 2020 สัดส่วนการใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนของอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง 14% และเพิ่มมากขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เวียดนามที่มีการเติบโตของตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกิดจากการผลักดันของนโยบายรัฐเอื้อต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ประเทศลาวที่ประกาศตัวเป็นแบตเตอรี่ของเชียที่มีรุ่มรวยไปด้วยพลังงานจากน้ำ ในขณะที่อินโดนีเชียและฟิลิปปินส์รวมกันแล้วสามารถสร้างพลังงานได้ 1/4 ของพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใช้กันทั่วโลก
นอกจากนี้อาเซียนยังรุ่มรวยไปด้วยวัตถุดิบที่จะเป็นต่อการสร้างผลิตภัรฑ์สำหรับพลังงานสะอาด เช่น Bauxite, Nickel, สังกะสี ไปจนถึง Rare Earth Element ที่พบได้ในอินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์และไทย ในขณะที่มาเลเซียและเวียดนามเป็นผู้ผลิตโมดูลสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดของโลก
ด้วยจุดเด่นดังกล่าวทั้งด้านทรัพยากรและศํกยภาพในการผลิตทำให้อาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนกลุ่มพลังงาน เหล่านักลงทุนจึงมองหาการเปลี่ยนแปลงภาคพลังงาน การลดการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพแวดล้อม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนในระดับนานาชาติและการลงทุนจากภายนอกที่จะลดภาระเรื่องการเงินที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของเทคโนโลยีใหม่ได้เป็นอย่างดี
ที่มา:
weforum.org
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
โครงการ ENLAPRO พัฒนาวิธีใหม่ ลดพลังงานในการเคลือบผิวลง 90%