ต้องยอมรับว่าการใช้พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยนํ้ามันสําเร็จรูปยังคงเป็นพลังงานที่ใช้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.8 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด รองลงมา คือ พลังงานไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์คิดเป็นร้อยละ 19.3, 8.7, 8.1, 7.6 และ 5.5 ตามลําดับ
สถานภาพการใช้พลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทําให้นโยบายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศต้องดําเนินการอย่างจริงจัง เข้มข้น และต่อเนื่อง โดยผ่านกลไกที่เป็นมาตรการสําคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะภาคการขนส่ง ซึ่งนับเป็นกิจกรรมสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบจะทุกภาคส่วน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านตัวเลขงบประมาณที่ใช้เพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่มีสัดส่วนการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานเฉพาะในภาคขนส่งมากถึง 9,500 ล้านบาท จากงบประมาณในภาพรวมของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานรวมประมาณ 29,500 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
ตั้งเป้าลดความเข้มการใช้พลังงานร้อยละ 45 ในปี 2578
ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักดีว่า ในอนาคตปัญหาเรื่องราคาพลังงาน การแย่งชิงทรัพยากรพลังงานระหว่างประเทศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นผลพวงของการผลิตและใช้พลังงานจะเป็นปัญหาที่จะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนและความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กอปรกับผู้นํารัฐบาลได้ให้สัตยาบันต่อผู้นํากลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ว่าประเทศไทยมีการกําหนดเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity; EI) ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 ซึ่งตระหนักถึงเจตจํานงค์ของ APEC ในการมีเป้าหมายร่วมในการลด EI ลงร้อยละ 45 ในปี พ.ศ. 2578 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 โดยมุ่งเน้นสัดส่วนที่ประเทศไทยจะสามารถมีส่วนร่วมได้เป็นหลัก จึงมีความจําเป็นในการจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงานฉบับใหม่ขึ้น
ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558 – 2579 (EEP 2015) ฉบับใหม่ของกระทรวงพลังงานที่กําหนดเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานของประเทศลงเป็นร้อยละ 30 หรือคิดเป็น 51,700 ktoe ในปี พ.ศ. 2579 เพื่อให้สามารถตอบสนองเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ และเป็นแนวทางในการนําไปจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ต่อเนื่อง
จากตารางข้างต้น หากสามารถดําเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานบรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3.0 ต่อปีจนถึงปี 2573 หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 เท่าของปัจจุบัน ซึ่งเป็นอัตราที่ตํ่ากว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือคิดเป็นค่า Energy Elasticity เฉลี่ยตลอด 20 ปีข้างหน้า ได้ 0.71 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังของ 20 ปี ซึ่งอยู่ที่ 0.98
เป้าหมายการลดใช้พลังงานในภาคขนส่ง 30 ล้านตัน ในปี 2579
ปัจจุบันภาคการขนส่งเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ โดยคิดเป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทางบกถึงร้อยละ 79 ของการใช้พลังงานในภาคขนส่ง และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การแข่งขันและราคาพลังงานจึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในการแบกรับภาระต้นทุนการดําเนินงานที่สูงขึ้นและส่งผลให้ขีดความสามารถของการแข่งขันทางธุรกิจลดลง
สําหรับเป้าหมายการลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง 30 ล้านตัน ในปี 2579 สามารถดําเนินการโดยผ่านมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ประสิทธิภาพสูง ลดการใช้พลังงาน 14,200,000 ตัน
กลุ่มที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประหยัดพลังงาน 11,324,000 ตัน
กลุ่มที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในรถบรรทุกและรถโดยสาร ด้วยระบบจัดการและการจูงใจทางการเงินประหยัดพลังงาน 5,139,000 ตัน
การดําเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง สามารถดําเนินการได้โดยกํากับราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่งให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อส่งผลให้ผู้บริโภคตระหนัก เรื่องราคาพลังงานและเปลี่ยนลักษณะการใช้พลังงาน คิดเป็นพลังงานที่ลดลง 456 ktoe พร้อมทั้งสนับสนุนนโยบายของกระทรวงการคลังในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่จะเริ่มจัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ 27 คิดเป็นผลประหยัดพลังงาน 13,731 ktoe สะท้อนถึงการสิ้นเปลืองนํ้ามันโดยตรงและติดฉลากแสดงอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์ทุกรุ่นเพื่อให้ประชาชนทราบและใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อรถยนต์ที่ประหยัดเชื้อเพลิงได้ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจฉลากและจูงใจหรือให้เกิดความนิยมในการเลือกซื้อรถยนต์ที่ประหยัดเชื้อเพลิง
เจาะลึกมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง
นอกจากมาตรการหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีมาตรการย่อยเพื่อการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งอื่นๆ ดังนี้
- การติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานในยางรถยนต์ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนเลือกใช้ยางประหยัดเชื้อเพลิง โดยการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพหรือระดับอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ยางรถยนต์ที่จําหน่ายในตลาดเพื่อให้ประชาชนทราบและใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อยางที่ประหยัดเชื้อเพลิงได้
- การบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยพัฒนาการจัดการใช้พลังงานของผู้ประกอบการขนส่งโดยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ และแนะนํามาตรการในการจัดการ เทคโนโลยี การขนส่ง และการขับขี่ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมรองรับการจัดการพลังงานในการขนส่งระยะยาวทั้งระบบ ด้านความรู้ แนะนํามาตรการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดการรถเที่ยวเปล่า
- การขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน (ECO Driving) โดยการส่งเสริม ผลักดัน ให้พนักงานขับขี่รถบรรทุกมีความรู้และทักษะในการขับขี่รถบรรทุก และรถโดยสารให้ประหยัดพลังงาน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้เข้าใจและมีทักษะ
- การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (ภาคขนส่ง)
- การอุดหนุนผลการประหยัดพลังงานสําหรับภาคขนส่ง
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นการบูรณาการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟรางคู่เป็นการบูรณาการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม
- การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งนํ้ามันของประเทศ โดยพัฒนาระบบขนส่งนํ้ามันทางท่อเป็นการบูรณาการแผนขยายระบบขนส่งนำมันทางท่อจากภาคกลางไปสู่ภาคเหนือ และภาคอีสาน เพื่อลดการขนส่งนํ้ามันทางถนน
- การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รถไฟฟ้าส่วนบุคคลที่คาดว่าจะมีการนํามาใช้ในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาแผนการขับเคลื่อนภารกิจ ด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อรองรับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทําแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับแนวทางที่บูรณาการการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการเตรียมการเพื่อรองรับการดําเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ
- มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งพัฒนางานวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อการพึ่งพาตนเองและเหมาะสมกับประเทศเริ่มจากประเด็นวิจัยไปจนถึงผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์และมีการนําไปใช้อย่างแพร่หลาย
คาดเริ่มใช้มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง ปีงบประมาณ 2561
สําหรับแนวทางการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการภาคขนส่ง โดยเฉพาะในกลุ่มรถบรรทุกและรถโดยสาร ซึ่งมีผู้ประกอบการสูงถึง 200,000 ราย และมีจํานวนรถประมาณ 1,306,000 คัน นับเป็นกลุ่มสําคัญที่มีการใช้พลังงานสูงเป็นลําดับต้นๆ ของการใช้พลังงานภาคขนส่ง โดยมาตรการที่จะส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการภาคขนส่งดังกล่าวเกิดการลดใช้พลังงานคาดว่าจะสามารถเริ่มดําเนินการได้ในปีงบประมาณ 2561
นอกเหนือจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งดังกล่าวแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการดําเนินงานดังกล่าวอย่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ยังได้กําหนดให้มีมาตรการด้านการเงิน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และส่วนควบคุมต่างๆ คาดว่าเบื้องต้นจะมีจํานวนเงินส่งเสริมแบบให้เปล่าในลักษณะร่วมลงทุนร้อยละ 30 เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคขนส่งปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน
อาจกล่าวได้ว่ามาตรการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งนั้นไม่เพียงแต่ทําให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงแล้ว หากยังช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
EXECUTIVE SUMMARY
Currently, transportation sector consumes energy as high as 40% of the overall national energy consumption, which is divided into fuel energy used for by land transportation as high as 79% of energy consumption in transportation sector. Therefore, government had designated 11 energy conservation schemes in transportation sector, which was aimed to reduce energy consuming in transportation sector up to 30 million tons within 2036 through 3 clusters of the major energy conservation promotion schemes as the first cluster – promote the use of high performance vehicles to reduce energy consuming 14,200,000 tons, the second cluster – energy saving infrastructure development to save energy up to 11,324,000 tons, and the third cluster – enhance energy consuming efficiency in trucks and buses with management system and financial persuasion to save energy up to 5,139,000 tons.