Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

หน้ากากกันฝุ่นในโรงงานสำคัญอย่างไร?

ฝุ่นผงที่ปนเปื้อนกับอากาศในพื้นที่ปฏิบัติการณ์นั้น สามารถสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานได้มากมายกว่าการยืนริมถนนอโศกเช้าวันจันทร์หลายเท่า นายจ้างจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นตามความเหมาะสมของพื้นที่ปฏิบัติงาน

ทำไมฝุ่นละอองในโรงงานถึงอันตรายมากกว่า?

ฝุ่นละอองนั้นยากที่จะตรวจจับได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากมีขนาดที่เล็กมากจนบางครั้งอยู่ในสภาพของอนุภาค และยิ่งมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่การหลุดรอดของฝุ่นละอองที่จะเข้าถึงตัวมนุษย์ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยผลกระทบหลักๆ ที่เกิดขึ้นจากการได้รับฝุ่นละอองมีดังนี้

  1. ระคายเคืองตา
  2. ไอ-จาม
  3. น้ำมูกไหล
  4. ไข้ละอองฟาง
  5. โรคหืด

ฝุ่นละอองริมถนนที่เจอในชีวิตประจำวันนั้นอยู่ในพื้นที่เปิดซึ่งมีการระบายอากาศได้ดี หากเทียบกับพื้นที่ปิดภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการระบายอากาศน้อยกว่าและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองมากกว่าหลายเท่าตัว และยังมีโอกาสการปนเปื้อนของสารเคมีที่เข้มข้นอีกด้วย

หน้ากากกันฝุ่นมีแบบไหนบ้าง?

การจัดกลุ่มหน้ากากกันฝุ่นสามารถทำได้สองรูปแบบหลักๆ คือ

  1. ความสามารถในการเปลี่ยนตัวกรอง ซึ่งแบ่งออกเป็น
    • หน้ากากที่สามารถเปลี่ยนตัวกรองได้
    • หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง
  2. ขนาดหน้ากาก
    • สวมใส่ครึ่งหน้า
    • สวมใส่แบบเต็มหน้า
  3. แบ่งแยกตามกลุ่มมาตรฐานการใช้งาน เช่น RS1 RS2 DS1 DS2 เป็นต้น

หน้ากากกันฝุ่นที่ไม่กากเป็นอย่างไร

โดยส่วนประกอบของหน้ากากแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนครอบสำหรับสวมใส่ และส่วนหายใจที่ครอบคลุมไปถึงฐาน โดยมีข้อกำหนดลักษณะสำคัญดังนี้

  1. ต้องไม่พังหรือแตกหักง่าย
  2. สะดวกต่อการสวมใส่และต้องไม่รู้สึกกดทับหรือเจ็บปวดเวลาใช้งาน
  3. พื้นที่สำหรับอากาศไหลผ่านต่อไม่ใหญ่จนเกินไป
  4. ต้องไม่บดบังวิสัยทัศน์ของผู้ใส่
  5. หน้ากากหรือตัวกรองแบบคลุมเต็มใบหน้าต้องไม่ทำให้เกิดการเมื่อยล้าของสายตา
  6. หน้ากากที่สามารถเปลี่ยนตัวกรอง วาล์วอากาศเข้าออก รวมถึงสายหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่เปลี่ยนได้ต้องมีความสะดวกในการเปลี่ยนชิ้นส่วนเหล่านั้น รวมถึงความแน่นหนาของอากาศระหว่างหน้าและอุปกรณ์สวมใส่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาโดยผู้สวมใส่เอง
  7. หน้ากากกันฝนุ่ใช้แล้วทิ้งชิ้นส่วนกรองอากาศต้องคงรูปไว้ได้ตลอดเวลาการใช้งานโดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปทรง
  8. หน้ากากใช้แล้วทิ้งต้องไม่ป้องกันความชื้อนจากการหายใจเข้าออกมากจนเกินไป
  9. หน้ากากใช้แล้วทิ้งหากผลิตด้วยชิ้นส่วนกรองจำเป็นต้องมีรูปร่างพอดีกับใบหน้าผู้ใช้

จากการทดสอบความสามารถในการกรองอนุภาคโดยใช้ Sodium Chloride ได้ผลดังนี้

ประสิทธิภาพหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนตัวกรองได้แบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก RS1 80%, RS2 95%, RS3 99.9%
ประสิทธิภาพหน้ากากใช้แล้วทิ้งแบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก DS1 80%, DS2 95%, DS3 99%

จากการทดสอบความสามารถในการกรองอนุภาคโดยใช้ Dioctyl Phthalate ได้ผลดังนี้

ประสิทธิภาพหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนตัวกรองได้แบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก RL1 80%, RL2 95%, RL3 99.9%
ประสิทธิภาพหน้ากากใช้แล้วทิ้งแบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก DS1 80%, DS2 95%, DS3 99%

ค่าความสามารถในการต้านทานการสูดลมหายใจต้องไม่เกินค่าดังนี้

ประสิทธิภาพหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนตัวกรองได้แบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก (หน่วย Pascal)
RS1 และ RL1 มีค่าต้านทานไม่เกิน 70
RS2 และ RL2 มีค่าต้านทานไม่เกิน 80
RS3 และ RL3 มีค่าต้านทานไม่เกิน 160

ประสิทธิภาพหน้ากากใช้แล้วทิ้งแบ่งตามมาตรฐานหน้ากาก (หน่วย Pascal)
DS1 และ DL1 มีค่าต้านทานไม่เกิน 60 หรือ 45 หากไม่มีวาล์วอากาศ
DS2 และ DL2 มีค่าต้านทานไม่เกิน 70 หรือ 50 หากไม่มีวาล์วอากาศ
DS3 และ DL3 มีค่าต้านทานไม่เกิน 150 หรือ 100 หากไม่มีวาล์วอากาศ

โดยการเลือกใช้หน้ากากที่เหมาะสมจะต้องมีการระบุขอบเขตการใช้งานให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบใช้แล้วทิ้งที่ต้องระบุอายุการใช้งาน อัตราการรั่วซึมและค่าความต้านทานของการหายใจเข้าออก

การเลือกใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั้นสามารถป้องกันอาการเจ็บป่วยที่สามารถนำไปสู่การสูญเสียได้ การปฏิบัติงานภายใต้พื้นที่ปิดหรือพื้นที่ซึ่งมีความเข้มข้นของมลพิษสูงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


อ้างอิง:

  • Healthywa.wa.gov.au/Articles/F_I/Health-effects-of-dust
  • Ilo.org
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924