Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ส.อ.ท. เสนอรัฐ ชะลอปรับค่า Ft งวดเดือน ม.ค. – เม.ย.66

ส.อ.ท. แจงต้นทุนพลังงานสูง เพราะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป และยังขาดแผนสำรองที่ดีในการบริหารก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย พร้อมเสนอทางออก และเร่ง รัฐ ชะลอปรับค่า Ft งวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 66 ออกไป

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันราคาพลังงานมีความผันผวน และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งอุตสาหกรรมทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและครัวเรือน เป็นกลุ่มหลักๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก 

‘The Bar’ ช็อกโกแลตแห่งอนาคต พัฒนาได้ด้วยระบบ AI | FactoryNews ep.34/3

จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) แสดงให้เห็นว่าสาเหตุหลักที่ค่าพลังงาน และค่าไฟฟ้าของประเทศไทยสูงกว่าตลาด เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เกิดจากการที่ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ (NG / LNG) มากเกินไป และยังขาดแผนสำรองที่ดีในการบริหารก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ส่งผลให้การผลิตก๊าซต้นทุนต่ำจากอ่าวไทยต่ำกว่าแผนมาก  อีกทั้งประเทศเมียนมาลดการส่งก๊าซลง ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (Spot LNG) ที่มีราคาสูงมากกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเข้ามาเสริม 

นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ความต้องการขาย (Demand) สูงเกินไป และการเปิดการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนมากเกินความจำเป็น จึงก่อให้เกิดความต้องการซื้อ (Supply) ของโรงไฟฟ้ามากกว่าความต้องการขาย (Demand) ถึง 52% ส่งผลให้เป็นภาระต้นทุนของประเทศไทยในระยะยาว และอีกหนึ่งสาเหตุ คือ ประเทศไทยยังขาดกลไกตลาดเสรีของพลังงานและไฟฟ้าที่ยังไม่มี Third Party Access ที่เป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถใช้ระบบส่ง/จำหน่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าผ่านสายส่ง/จำหน่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานได้ 

นายอิศเรศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ส.อ.ท. ได้มีการติดตามถึงสถานการณ์ความผันผวนและราคาพลังงาน รวมไปถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมาโดยตลอด ซึ่งได้มีการทำหนังสือยื่นเสนอข้อร้องเรียนถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงานไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2565 ทั้งในเรื่องแนวทางการแก้ไขต้นทุนพลังงาน การชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ปัญหาสูตรโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติภาคอุตสาหกรรม แต่ขณะนี้ ยังไม่ได้รับการประสานงานเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

ทั้งนี้ ขอให้ภาครัฐพิจารณาถึงข้อเสนอของ ส.อ.ท. เพื่อหาทางออกต้นทุนพลังงานสูงเป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นแรก ข้อเสนอทางออกค่าไฟฟ้า ขอให้ชะลอการขึ้นค่าไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2566 ออกไปก่อน โดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการแบกรับภาระที่เกิดขึ้น และปลดล็อคกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการ เช่น การขอใบอนุญาต รง.4 (กรณีมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้ภาครัฐ) การขอใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ในโรงงานอุตสาหกรรมและภาคบริการ การส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้รวดเร็วและครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และการเพิ่มสัดส่วนเอทานอลด้วยน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล (E20) เป็นต้น 

ส่วนประเด็นที่สอง ข้อเสนอทางออกค่า NG โดยผลักดันให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นตัวกลางในการหาทางออกร่วมกัน เพื่อบรรเทาภาระระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ รวมทั้งรัฐบาลควรเร่งตั้งทีมเจรจากับประเทศกัมพูชา เพื่อนำพลังงานจากพื้นที่ไหล่ทวีปคาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา (Overlapping Claimed Area: OCA) มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924