Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มการหารืออุตสาหกรรมเคมี สร้างความร่วมมือจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS เคมีภัณฑ์ มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)  เปิดเผยว่า การประชุม APEC Chemical Dialogue ครั้งที่ 29 ณ จังหวัดเชียงใหม่  กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สศอ. ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมร่วมกับสมาชิกจากเขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญในการใช้ระบบการจำแนกความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals : GHS) และร่วมกันสร้างมาตรฐานบนฉลากสารเคมีให้ได้มาตรฐานเดียวกันเพื่อร่วมกันอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพทางการค้าระหว่างประเทศ 

พาไปดูงาน | เทคโนโลยีด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ASEAN Sustainable Energy Week 2022

โดยมีการเสนอการนำ OECD Mutual Acceptance of Data หรือระบบ MAD ซึ่งเป็นข้อตกลงในระบบการยอมรับข้อมูลร่วมกันมาเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการภาครัฐของ OECD โดยเขตเศรษฐกิจเอเปค ได้นำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมความเปิดกว้างสอดคล้องกับแนวคิด OPEN. ในส่วนของการสร้างความเชื่อมโยง หรือ CONNECT. ที่ประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนนโยบาย ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงแผนการปรับปรุงฐานข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมี ตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือโครงการต่างๆ เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ได้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในสาขาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสมดุลการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ตามแนวคิด BALANCE. โดยไทยได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ (RCMCT) กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ตามนโยบาย BCG Economy เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการผลักดันการปรับปรุงทั้งในกระบวนการผลิตและการจัดการอย่างต่อเนื่องในการจัดการเคมีที่ปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยให้กับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ 

รวมถึงความปลอดภัยในการทำงาน การป้องกันมลพิษจากกระบวนการผลิตในหลายองค์กร รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีผ่านกิจกรรมความร่วมมือกับอาเซียนให้เกิดความพร้อมในการจัดการเคมีที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือของเอเปค โดยนำเสนอตัวอย่างผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การจัดการขยะพลาสติกในเขตคลองเตย กรุงเทพฯ และจังหวัดระยอง ซึ่งผลการดำเนินการในการลดปริมาณขยะพลาสติก สามารถดำเนินการได้กว่าร้อยละ 50 โดยผ่านความร่วมมือขององค์กรภาครัฐและเอกชนหรือ PPP Plastics เพื่อดำเนินการสร้างระบบฐานข้อมูล การรวบรวม การแยก การจัดการ การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการกำจัดขยะ

ทั้งนี้การดำเนินความร่วมมือของกลุ่มการหารืออุตสาหกรรมเคมีของเอเปค มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและแนวคิดหลักของไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี 2565 โดย สศอ. และหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้อง จะได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ กับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924