Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

สนพ. แนะ จับตาราคาน้ำมันโลก หลังลิเบียเพิ่มกำลังการผลิต

สนพ. จับตาราคาน้ำมันโลก หลังลิเบียปรับเพิ่มกำลังการผลิต การประชุมกลุ่มโอเปกพลัสสิ้นเดือนนี้ และสถานการณ์โควิด-19 ยังคงน่ากังวล

นายวัฒนพงษ์  คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยถึงราคาน้ำมันดิบราคาน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 – 22 พฤศจิกายน 2563) ว่ามีแนวโน้มทรงตัวในกรอบแคบๆ หลังตลาดยังคงกังวลต่อความต้องการใช้น้ำมัน เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

ส่งผลให้มีการกลับมาบังคับใช้มาตรการเข้มงวดทางสังคม เช่น ในสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลังลิเบียปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบมาอยู่ที่ระดับ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงกลางเดือน พ.ย. 63 ประกอบกับนอร์เวย์เตรียมปรับเพิ่มกำลังการผลิตอีก 30,000 บาร์เรล/วัน ภายในสิ้นปีนี้ 

อย่างไรก็ตามตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากข่าวดีเรื่องการพัฒนาการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 หลังมี 2 บริษัทออกมารายงานผลการทดสอบวัคซีนว่าประประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 95 ซึ่งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน รวมทั้งการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เริ่มกระบวนการถ่ายโอนอำนาจให้กับนายโจ ไบเดน ว่า ที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ อีกทั้งให้จับตาการเมืองลิเบียที่ยังไม่สงบ และติดตามกลุ่มโอเปกและประเทศพันมิตร (โอเปกพลัส) ซึ่งจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอทางเลือกแผนการผลิตน้ำมันในที่ประชุมใหญ่ (วันที่ 30 พ.ย.- 1 ธ.ค. 63)  โดยรายละเอียดของสถานการณ์ราคาน้ำมัน ดังนี้

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลก: (16 – 22 พฤศจิกายน 2563) ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $42.84 และ $40.87 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $3.49 และ $2.96 ต่อบาร์เรล 

กลุ่มโอเปกและประเทศพันมิตร (โอเปกพลัส) มีแนวโน้มขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน ไปสิ้นสุดในไตรมาส 1/64 จากเดิมที่มีกำหนดจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค. 63 นี้ โดยจะจัดการประชุมเพื่อสรุปแผนการปรับลดกำลังการผลิตในวันที่ 30 พ.ย. และ 1 ธ.ค. 63

ความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 หลังบริษัท Pfizer ได้เสนอยื่นเรื่องต่อสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในวันที่ 20 พ.ย. 63 เพื่อขออนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของทางบริษัทเป็นกรณีฉุกเฉิน

บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 20 พ.ย. 63 ปรับลดลง 5 แท่น สู่ระดับ 231 แท่น

สำหรับ ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเชีย น้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $46.49 และ $45.34 ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว $0.26 และ $0.02 ส่วนน้ำมันเบนซิน 91 (Non-Oxy) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $46.55 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $0.20 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

 Platts รายงานตลาดน้ำมันเบนซินในเอเชียอ่อนแอ เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวในหน้าหนาว และจากมาตรการLockdown จากวิกฤติโควิด-19 โดยบรูไน, ไต้หวัน, และมาเลเซียต่างออกประมูลขายน้ำมันเบนซินส่งมอบในเดือน ธ.ค. 63 ด้าน International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ (ณ วันที่ 18 พ.ย. 63) ลดลง 0.92 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 12.43 ล้านบาร์เรล ประกอบกับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลง และการส่งออกจากอินเดียและมาเลเซียที่ปรับลดลง

Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุด 14 พ.ย. 63 ลดลง 0.12 ล้านบาร์เรลอยู่ที่ 12.06 ล้านบาร์เรล 

น้ำมันดีเซล: ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $48.31 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $1.29 ต่อบาร์เรล

แรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามความต้องการใช้น้ำมันดีเซลยังคงได้รับแรงกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลจากจีนในช่วงปลายปี 63 มีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับความต้องการใช้ในอินเดียที่ยังคงแข็งแกร่ง จากรายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ โดย IES ที่สิงคโปร์ (ณ วันที่ 18 พ.ย. 63) ลดลง 0.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 16.09 ล้านบาร์เรล

 สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 พ.ย. 63 ลดลง 5.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 144.1 ล้านบาร์เรล

 ค่าเงินบาทของไทย: ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.09 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 30.4245 บาท/เหรียญสหรัฐฯ (ต้นทุนน้ำมันเบนซินลดลง 0.08 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.22 บาท/ลิตร) ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.45 บาท/ลิตร (รวมค่าขนส่งน้ำมันทางท่อจากศรีราชา – กรุงเทพฯ 0.15 บาท/ลิตร) และค่าการกลั่น เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 0.47 บาท/ลิตร

 ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง: ณ วันที่ 22 พ.ย. 63 กองทุนน้ำมันฯ มีสินทรัพย์รวม 60,651 ล้านบาท หนี้สินกองทุนฯ 31,608 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 29,043 ล้านบาท (บัญชีน้ำมัน  37,530  ล้านบาท บัญชี LPG    -8,487 ล้านบาท)

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924