Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มผันผวน จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 80 – 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 83 – 93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงาน บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ คาดว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 80 – 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 83 – 93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (4 – 8 ก.ย. 66) มีแนวโน้มผันผวน จากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก ภายหลังการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Jackson Hole) ประธาน FED ยังคงส่งสัญญาณว่า FED พร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับเป้าหมาย สอดคล้องกับประธาน ECB ซึ่งมองว่าธนาคารกลางควรคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ ขณะที่ Barclays ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้ลงจากระดับ 4.9% สู่ระดับ 4.5% จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงมีแนวโน้มตึงตัว โดยล่าสุดธนาคารยูบีเอส (UBS) คาดการณ์ตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มขาดดุลที่ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ย. ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบของลิเบียและรัสเซีย ยังมีความไม่แน่นอนจากเหตุการณ์ความไม่สงบและสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) กล่าวต่อที่ประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Jackson Hole) ว่า FED พร้อมเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) จะพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดต่อเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการแถลงการณ์ดังกล่าว FedWatchTool ยังคงคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยืนอยู่ที่ระดับ 5.25 – 5.50%

ขณะที่ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณในทิศทางเดียวกับประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยมองว่า ECB ควรคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของยุโรปในเดือน ก.ค. จะอยู่ที่ระดับ 5.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ก่อนเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

กว่าจะมาเป็น Reentech เจ้าของแบรนด์พื้นคอนกรีตขัดเงา CrystalFloor ที่คนเรียกกันจนติดปาก

Barclays ซึ่งถือเป็นหนึ่งในธนาคารยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้ลงจากระดับ 4.9% สู่ระดับ 4.5% ภายหลังตัวเลขทางเศรษฐกิจจีนซึ่งประกาศออกมาในช่วงเดือนที่ผ่านมา ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ภายหลังการยื่นล้มละลายของบริษัท Evergrande ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มียอดขายบ้านเป็นอันดับที่ 2 ของจีน และการผิดชำระหุ้นกู้ของบริษัท Country Garden ซึ่งถือเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของจีน

ธนาคารยูบีเอส (UBS) คาดการณ์ตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มขาดดุลที่ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ย. นี้ หลังกลุ่มโอเปกนำโดยซาอุดิอาระเบียปรับลดกำลังการผลิตที่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่รัสเซียลดการส่งออกน้ำมันดิบที่ระดับ 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ธนาคารยูบีเอสยังคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 85-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัวเพิ่มขึ้น ภายหลัง S&P Global คาดการณ์กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียในเดือน ธ.ค. จะอยู่ที่ระดับ 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ระดับ 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายหลังอุปทานภายในประเทศได้รับผลกระทบจากความไม่สงบภายในประเทศ

สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครน มีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ภายหลังเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของ NATO ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือยูเครนผ่านการส่งเครื่องบินรบเอฟ-16 ให้กับยูเครน จำนวน 41 และ 19 ลำ ตามลำดับ โดยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในภูมิภาค

เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน เดือน ส.ค. 66 และตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป อันได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ก.ค. 66 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเดือน ส.ค. 66

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 – 1 ก.ย. 66) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 5.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 85.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับเพิ่มขึ้น 4.07 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 88.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 87.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังพายุเฮอริเคน “ “อิดาเลีย” ซึ่งเป็นพายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่ 3 ขึ้นฝั่งที่รัฐฟลอริดา และส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ (Add effect production) โดยบริษัทเชฟรอนได้ทำการอพยพพนักงานออกจากแท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกแล้ว ขณะที่ตลาดยังคงต่ออุปทานน้ำมันดิบตึงตัว หลังซาอุดีอาระเบียขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันด้วยความสมัครใจจำนวน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือน ก.ย. 66 ประกอบกับรัสเซียที่จะลดการส่งออกน้ำมันจำนวน 300,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ย. 66 ด้านตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ส.ค. 66 ปรับตัวลดลง 10.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 422.9 ล้านบาร์เรล โดยปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.3 ล้านบาร์เรล

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924