Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

มิตซูบิชิ อีเล็คทริค รับอุตสาหกรรม 4.0 ส่ง e-Factory ชูจุดแข็งโรงงานมองเห็นได้ ลดคอสไลน์การผลิต

เทรนด์ 4.0 ถูกสะท้อนให้เห็นผ่านการปรับตัวของผู้ประกอบการและเหล่านักอุตสาหกรรมที่เริ่มลงทุนกันมากขึ้น ทั้งปรับโรงงานให้เป็น Smart Factory ในรูปแบบระบบออโตเมชันและโรบอติกส์รวมถึงเชื่อมต่อระบบและกระบวนการผลิตผ่านการใช้ IT และ Internet of Things กันมากขึ้น

มิตซูบิชิ อีเล็คทริค รับอุตสาหกรรม 4.0 ส่ง e-Factory ชูจุดแข็งโรงงานมองเห็นได้ ลดคอสไลน์การผลิต

แม้เป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูง และบุคลากรต้องปรับตัวกันแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เห็นได้ชัดว่าทำให้ประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ของโรงงานสูงขึ้นอย่างชัดเจน

ด้านมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่สั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานในหลายด้าน ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติในโรงงาน โดยมีบริษัทลูกในประเทศไทยที่ได้รับความน่าเชื่อถือไม่แพ้กัน

ถือเป็นการรับลูกอุตสาหกรรม 4.0 อย่างถูกที่ถูกเวลา เมื่อมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) เปิดตัวระบบ e-Factory ลงสนามอุตสาหกรรมไทยให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้เพื่อปรับโรงงานให้เป็น Smart Factory อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ

ยูทากะ คาวาซากิ
คุณยูทากะ คาวาซากิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

วิกฤตแรงงาน ต้องการตัวช่วย

ทั้งด้วยปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตแรงงาน

ปัจจัยภายนอก คือ เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ที่การเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทางและมีการเปิดประเทศลงทุนครั้งใหญ่ หรือลาวและกัมพูชาเอง ที่มีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ประชากรเพื่อนบ้านที่เคยเป็นแรงงานหลักของเราเริ่มย้ายถิ่นฐานกลับไปทำงานที่บ้านเกิด

ส่วนปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยในประเทศไทยของเราเองที่เกิดความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ อัตราการเกิดลดลงเป็นประวัติการณ์จนทำให้ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ เกิดวิกฤตขาดแคลนประชากรวัยแรงงานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

คุณยูทากะ คาวาซากิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นว่า ในกรณีที่ประเทศอุตสาหกรรมประสบปัญหาเช่นนี้ มีทางออกทางเดียว คือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กล่าวคือ ภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการต้องหาวิธีการที่จะได้สินค้ามากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เวลาและแรงงานน้อยกว่าเดิมให้ได้

“นอกจากค่าแรงงานสูงขึ้นแล้ว แรงงานก็มีจำนวนลดลงผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เมื่ออุตสาหกรรมไทยรู้สภาพตรงนี้ล่วงหน้าเป็นอย่างดีก็ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อุตสาหกรรมการผลิตต้องให้ความสำคัญกับ e-Factory ไม่ใช่แค่ปรับปรุงการผลิต แต่สามารถพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของ Supply Chain ทั้งหมดได้ด้วย สำหรับประเทศไทยแนวความคิดนี้มีความน่าสนใจ ควรให้ความสำคัญเพราะสามารถตอบโจทย์นี้ได้

แม้มิตซูบิชิจะไม่สามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เองทั้งหมด แต่เราจับมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างสิ่งที่ดีที่สุดด้วยการร่วมมือและแชร์องค์ความรู้กับพาร์ทเนอร์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบ e-Factory ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” คุณคาวาซากิกล่าว

e-Factory เชื่อมต่อสื่อสารจากกระบวนการผลิตสู่ผู้บริหาร

คุณคาวาซากิอธิบายว่า e-Factory เป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบการผลิตและระบบไอที ที่เรียกว่าอินเตอร์เฟสข้อมูล FA-IT เช่น MES Interface เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล

e-หุ่นยนต์อุตสาหกรรม MitsubishiFactory เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงและผสมผสานระหว่างโรงงานอัตโนมัติเข้ากับ IT โดยมี ERP เป็นระบบพื้นฐานหรือระบบหลักที่คอยควบคุมทุกอย่างในองค์กร เรื่องโรงงานอัตโนมัติ (FA) นั้น มิตซูบิชิขึ้นชื่อเรื่องประสิทธิภาพและมีประสบการณ์มาก เราจึงต่อยอดโดยใช้ Know How ที่มีมาประยุกต์ใช้ สร้างเป็น Platform ที่สามารถใช้ได้กับไลน์การผลิตอัตโนมัติทุกรูปแบบอุตสาหกรรม” คุณคาวาซากิ กล่าว

คุณคาวาซากิกล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรงงานอัตโนมัติมีความซับซ้อนในการทำงาน จึงมีข้อมูลมหาศาล (Big Data) ทั้งจากเครื่องจักร มนุษย์ และคอมพิวเตอร์ จึงต้องการระบบประมวลผลที่มีศักยภาพมาก ด้วยเหตุนี้ มิตซูบิชิจึงพัฒนา iQ Platform ขึ้น นอกจากจะประมวลผลได้แม่นยำแล้ว ยังแสดงผลให้ผู้ใช้งานรับรู้ข้อมูลได้อย่างสะดวกสบาย และง่ายต่อการทำความเข้าใจอีกด้วย

“เมื่อบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตของโรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้” คุณคาวาซากิกล่าว

ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ ทำให้ลูกค้าที่ใช้ e-Factory สามารถ‘มองเห็น’ การผลิตของตัวเองได

ลูกค้ามองเห็นได้ = ได้เปรียบทางธุรกิจ

คุณคาวาซากิกล่าวถึงจุดเด่นของ e-Factory ว่า ‘การมองเห็นได้’ ถือเป็นคีย์เวิร์ดและจุดขายสำคัญ และการมองเห็นได้ จะสร้างความได้เปรียบและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการที่ใช้ e-Factory

“อธิบายง่ายๆ คือ e-Factory เป็นระบบที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการผลิตเข้ากับโมดูลอื่นๆ ทางธุรกิจ อาทิเช่น การขาย การตลาด การจัดเตรียมจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตและการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจแก่องค์กร”

คุณคาวาซากิ เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างว่า ก่อนใช้ระบบ e-Factory โรงงานส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการไลน์การผลิต ทั้งการคำนวณการสต็อกวัตถุดิบการเดินเครื่องไลน์การผลิต รวมถึงการเก็บสินค้าคงคลังเพื่อให้เพียงพอและพร้อมจะจัดส่งแก่ลูกค้า รวมถึงปัญหาความสูญเสียในระบบการผลิตทั้งจาก Human Error และการเขียนโปรแกรมที่ผิดพลาด ทั้งหมดคือปัญหา และเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่ไม่ควรจะสูญเสียทั้งสิ้น การใช้ e-Factory จะกำจัดข้อผิดพลาดทั้งหมดนี้ได้

ระบบ e-Factory

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อได้เปรียบของ e-Factory คือ มีความยืดหยุ่นที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ให้เข้ากับแต่ละโรงงานแต่ละรูปแบบการผลิตได้ และด้วยความที่ระบบประมวลผลมีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้มี Error ต่ำ ทั้งในแง่การประสานงานเพื่อออกคำสั่งกับระบบก็มีความแม่นยำมากขึ้น มีความคลาดเคลื่อนน้อยลง ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรข้อมูล บุคคล วัตถุดิบ และพลังงาน

คุณคาวาซากิกล่าวว่า หลายๆ โรงงานในประเทศญี่ปุ่นได้นำแนวคิด e-Factory ไปประยุกต์ใช้จริง และได้การยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนในไทยที่เพิ่งเปิดตัว ก็มีเสียงตอบรับจากนักอุตสาหกรรมในหลาย Segment โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

“จากการใช้ระบบนี้ สามารถลด Total Cost of Ownership (TCO) ได้ทุกขั้นตอน ในแต่ละโรงงานก็แตกต่างกันไป แต่ภาพรวมหรือจุดร่วมที่เหมือนกันทุกโรงงาน คือ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมได้ในทุกขั้นตอน

คอนเซ็ปต์นี้สำคัญมาก ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภาพ สอดคล้องกับการที่รัฐบาลผลักดันเรื่องไทยแลนด์ 4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 ทางมิตซูบิชิ อีเล็คทริคเองก็พร้อมที่ช่วยอย่างเต็มที่ในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาล” คุณคาวาซากิ กล่าวทิ้งท้าย

คำว่า ‘มองเห็นได้’ หรือ Visibility ของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ไม่ใช่แค่การมองเห็นคลังวัตถุดิบ ไลน์การผลิต การทำงานของเครื่องจักร หรือสินค้าในสต็อกเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการที่ใช้ e-Factory ยังสามารถมองเห็นต้นทุน มองเห็นอนาคต มองเห็นค่าใช้จ่าย หรือกระทั่งคาดการณ์กำไรได้ล่วงหน้า ซึ่งส่งผลให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นี่จึงเป็นความได้เปรียบ และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้จริง

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924