Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

วิกฤตพิชิตโอกาส พลังงานทดแทนไทย

วิกฤตพิชิตโอกาส พลังงานทดแทนไทย

จะว่าถึงยุคเงียบของพลังงานทดแทนไทยก็คงไม่ถูกต้องนัก ถึงแม้จะไม่มีใครออกมาแสดงความคิดเห็นกับแนวทางการทำงานหรือนโยบายใหม่ๆ ของรัฐบาลด้านพลังงานทดแทนก็ตามท่านที่อยู่ในวงการก็คงจะเข้าใจดี ดังนั้น วันนี้จึงมีแต่การแถลงนโยบายของภาครัฐ และข่าวการต่อต้านพลังงานทดแทนแม้กระทั่งโรงไฟฟ้าชีวมวลหัวใจของพลังงานทดแทนไทยก็ยังถูกต่อต้าน ยิ่งถ้าก้าวไปถึงพลังงานจากฟอสซิล หมายถึงโรงไฟฟ้า ถ่านหินกระบี่แล้ว ฝ่าย No Coal ออกมาแถลงทุกวัน ส่วนฝ่ายGo Coal กลับเงียบหรือแทบจะไม่ออกมาแสดงตัว เรามาช่วยกันเปิดประเด็นว่า อะไรคือวิกฤต อะไรคือโอกาสของพลังงานทดแทนไทย ซึ่งวิกฤตของฝ่ายหนึ่งอาจเป็นโอกาสของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้

  1. การรับซื้อไฟฟ้า VSPP เชื้อเพลิงชีวมวลและก๊าซชีวภาพแบบ Semi-Firm และยกเลิกแบบ Non-Firm งานนี้ SME อาจต้องเปลี่ยนอาชีพสู่ธุรกิจอื่น ส่วนบริษัทใหญ่ๆ และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมกรีฑาทัพเข้ายึดหัวหาดขานรับนโยบาย Semi-Firm ทันที
  2. นโยบายดีมีนวัตกรรมรับซื้อไฟฟ้าระบบ Hybrid คือ นำเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 2 ชนิดมาใช้ร่วมกัน เช่น โซลาร์เซลล์ทำงานร่วมกับชีวมวลในรูปแบบหนึ่ง เป้าหมายก็คือ จะช่วยให้ปริมาณไฟฟ้าของประเทศมั่นคงขึ้น และสม่ำเสมอมากขึ้น เป็นบันไดไปสู่การขายไฟฟ้าแบบ Firm หรือ Semi-Firmคงต้องมีการกำหนดกติกาที่เป็นธรรมกันทั้งฝ่ายรับซื้อและผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่าย กระทรวงพลังงานอาจทดลองโยนหินถามทางสัก 100 เมกะวัตต์ โดยไม่ต้อง Bidding เหมือนอย่างที่ใช้กับโซลาร์รูฟเสรีอยู่ในขณะนี้
  3. การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Farm) ระยะที่ 2 รวมกว่า 500 เมกะวัตต์ เป็นข่าวดีของผู้มีธุรกิจนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักพัฒนาโครงการ (Developer) แต่อาจไม่สามารถสร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนในอดีตแม้ว่า Solar Farm ถ้าเปรียบเทียบด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจแล้วยังเป็นรองเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่เป็นของซื้อง่ายขายคล่องเหมือน Fast Food ช่วยเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นๆ ได้ดีทีเดียว ขอเพียงแต่อย่านำแผงเซลล์แสงอาทิตย์เก่ามาใช้ในประเทศไทยก็แล้วกัน
  4. การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ต้องขอชมทุกองค์กรที่คิดริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากการใช้เศษเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรมมีข้อจำกัดด้านปริมาณและฤดูกาล และในอนาคตก็จะมีการแย่งชิงเชื้อเพลิงกันเมื่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้ปลูกไม้โตเร็ว คือ การเสริมความยั่งยืนให้กับการใช้พืชผลิตพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนซึ่งแล้วแต่จะเรียกกันไป ผลพลอยได้ของการปลูกไม้โตเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งหลาย อาทิ กระถินหลากหลายสายพันธุ์ และยูคาลิปตัส เปรียบเหมือนการส่งเสริมให้มีการปลูกป่าอย่างถาวรแบบรัฐไม่ต้องลงทุน สร้างทั้งเศรษฐกิจชุมชน สิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ขอเสนอแนวคิดสู่ความสำเร็จ ดังนี้
    1. รัฐพึงเชื่อมั่นองค์กรของรัฐว่ามีศักยภาพในการบริหารจัดการ
    2. ยอมรับในสภาพพื้นที่และเอกสารสิทธิ์การครอบครองและการใช้ประโยชน์ว่าปัจจุบันไม่ได้อยู่ในมือของชุมชน
    3. ฟันธงให้เป็นประชารัฐ (ประชาชนคนจน +ภาครัฐที่มีศักยภาพ + นักลงทุน)
    4. การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต้องให้คนยากจนมีสิทธิและหลีกเลี่ยงการให้เอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องหรือที่ดินส.ป.ก. เป็นเงื่อนไขจนกลายเป็นโครงการของนักลงทุน
    5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องคิดบวก พืช คือ อาหารและเป็นพลังงานที่ยั่งยืนด้วย
    6. ตลาดสัญญาขายไฟระยะยาว (PPA) และโรงงานผลิต (การส่งเสริมการปลูก) ต้องเริ่มพร้อมกัน มิฉะนั้น เกษตรกรก็จะตกที่นั่งลำบากเหมือนที่ผ่านมาเปรียบเทียบแผนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ตามแผน PDP 2015 และที่เสนอเพิ่ม RE 2,000 MWนอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะจากสมาคมธุรกิจไม้โตเร็วที่น่าสนใจ ดังนี้
      1. ควรส่งเสริมการสร้างสวนไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า (Tree Outside Forest : TOF)
      2. ควรบังคับใช้ระเบียบอย่างเคร่งครัดในพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ผู้ครอบครองต้องมีการปลูกไม้ยืนต้น 20% ของพื้นที่ซึ่งพื้นที่ ส.ป.ก. ปัจจุบันดำเนินการปฏิรูปที่ดินไปแล้วประมาณ 38 ล้านไร่ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7 ล้านไร่
      3. ควรหามาตรการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว จากการจัดเขตเศรษฐกิจปลูกข้าว (โซนนิ่งข้าว)
      4. เขตที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพเสื่อมโทรมสิ้นสภาพ ความเป็นป่าที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน E) โดยจัดจำแนกป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชนเช่าพื้นที่เหล่านั้น เพื่อปลูกป่าเศรษฐกิจ
      5. พิจารณาการนำพื้นที่ดินซึ่งมีปัญหา (Problem soil) อันได้แก่ พื้นที่ดินเปรี้ยว พื้นที่ดินเค็ม ที่มีปัญหาไม่สามารถ
        ทำการเกษตรได้ มาใช้สำหรับการปลูกป่า โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      6. พื้นที่ซึ่งเอกชนขออนุญาตใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้เพื่อดำเนินกิจกรรมบางอย่าง เช่น เหมืองแร่ บ่อขยะฯ เมื่อหมด
        สัญญาการเช่าพื้นที่ไปแล้ว มักมีความเสื่อมโทรม ไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้ หากมีการอนุญาตหรือกำหนดให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตนั้นไปดำเนินกิจกรรม CSR เชิงการปลูกป่าเศรษฐกิจร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่
      7. ควรให้มีการพัฒนากฎหมายป่าไม้โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มที่ชัดเจน คือ กฎหมายบริหารจัดการป่าไม้สาธารณะ (Public Forest Act) เพื่อควบคุมดูแลเรื่องการอนุรักษ์ และ กฎหมายบริหารจัดการป่าไม้เอกชนเพื่อเศรษฐกิจ (Private Forest Act)
      8. ควรมี ‘พระราชบัญญัติส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า’ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริม ผลักดันให้กิจการสวนป่าของประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
  5. แผนการผลิตพลังงานทดแทน 2,000 เมกะวัตต์ ของกฟผ. วิสัยทัศน์ที่เหลือเชื่อของท่านผู้บริหาร กฟผ. สร้างความระทึกใจให้กับชาว RE ทั่วประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงสุดปลายน้ำโดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งคำถามมากมายว่า กฟผ.สามารถทำการค้าแข่งกับเอกชนจะไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือ…! ข่าวดังกล่าวทำเอากองเชียร์โรงไฟฟ้าถ่านหินแทบจะต้องหลบหน้าหลบตาไปชั่วขณะ อันที่จริงการสร้างพลังงานทดแทน ใครๆ ก็ควรมีสิทธิ์ช่วยกันคิด ช่วยกันสร้าง แต่วิสัยทัศน์หรือแผนการผลิตพลังงานทดแทน 2,000 เมกะวัตต์ ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะยาวแค่ไหนก็ตาม ในแผนดังกล่าวอาจมีการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลถึงพันกว่าเมกะวัตต์ ก็เลยถูกนำไปรวมกับเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์อาจไม่เหมือนกัน วันนี้ กฟผ. หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงตกที่นั่งลำบากเพิ่มโจทย์มาอีกกลุ่มหนึ่งทั้งๆ ที่เรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ยังหนักอย

ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ นอกพื้นที่ป่า

‘ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ’ อมตะวาจานี้ยังทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับพลังงานทดแทนในเมืองไทย แต่คำตอบสุดท้ายของทุกวิกฤต คือ การเพิ่มขึ้นของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จึงเป็นโอกาสที่ชาว RE: Renewable Energy จะแสดงฝีมือไขว่คว้าร่วมแบ่งเค้กชิ้นโตขึ้นชิ้นนี้ จะห่วงอยู่ก็แต่ชาว SME ตัวจริงอาจต้องแหงนหน้าคอยโครงการ ‘ประชารัฐ’ กันต่อไป

EXECUTIVE SUMMARY

Upon the crisis of Renewable Energy occurred in Thailand, it is always concealed with opportunities in the following 1) Buying VSPP with Semi-Firm contract in Biomass and Biogas, and revoke Non-Firm contract 2) Hybrid fuel to electricity policy, meant to combine at least two feedstocks to produce electricity 3) The 2nd phase Solar Farm for 500 megawatts 4) Promoting the fast growing trees plantation for Biofuel 5) the Electricity Generating Authority of Thailand’s Plan to generate 2,000 megawatts from renewable energy. Therefore, it might be the opportunity to the big Renewable Energy players, while SMEs may still waiting for more government support programs.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924