Sunday, January 19Modern Manufacturing
×

ประเทศไทยวันนี้ อะไรๆ ก็ 4.0

แล้วอะไร คือ ตัวตนของ 4.0 (สี่จุดศูนย์) เทคโนโลยี นวัตกรรม การพึ่งพาตนเอง การพึ่งพากันเอง ประชารัฐ หรือการก้าวข้ามกับดักทางแนวคิดเดิมๆ สู่การเชื่อมโยงกับองค์ประกอบภายนอกสู่โลกของ Digital Platforms วันนี้ประเทศไทยต้องเปิดประตูสู่ 4.0 เพื่อการลดต้นทุน เพิ่มกำไรสู่การทำน้อยได้มาก…Less is More

ประเทศไทยวันนี้ อะไรๆ ก็ 4.0

ประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Value Based Economy) โดยมีการลำดับการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ยุคที่ 1 ด้านเกษตรกรรม สู่อุตสาหกรรมเบาในยุคที่ 2 ซึ่งต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน และเข้าสู่อุตสาหกรรมหนัก ในยุคที่ 3 อาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศและเน้นการส่งออกเป็นหลักอย่างที่ท่านเห็นในปัจจุบัน ซึ่งต้องทำงานมากแต่ได้ผลตอบแทนน้อย ประเทศไทยต้องขายทั้งทรัพยากรธรรมชาติและยอมรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกมาซึ่งการเพิ่ม GDP ของประเทศ จริงอยู่ในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาเปล่าๆ แต่เราก็มีสิทธิเลือกที่จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร และประเทศไทยเลือกแนวทางประเทศไทย 4.0 วางพื้นฐานเศรษฐกิจเพื่อก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางมากว่า 20 ปี แล้วไปสู่โลกของผู้ที่มีรายได้สูง ไม่รวยกระจุก จนกระจายเหมือนในปัจจุบัน แล้วท่านพร้อมหรือยัง…!

5 องค์ประกอบสำคัญที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนผ่าน

  1. เกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรสมัยใหม่ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ สู่เกษตรอุตสาหกรรม
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือ สู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสูง
  3. การบริการที่สร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่การบริการที่สร้างมูลค่าสูง เพิ่มสัดส่วนรายได้ด้านบริการให้สูงขึ้น
  4. พัฒนาแรงงาน ทักษะน้อยไปสู่แรงงานที่มีทักษะสูง
  5. มุ่งเน้นอุตสาหกรรม ที่ไทยมีจุดแข็ง ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 (สี่จุดศูนย์)
INDUSTRY 4.0 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมระดับ 4.0 เต็มรูปแบบจะใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติในกระบวนการผลิตซึ่งคงมีไม่กี่โรงงาน และส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ดังนั้น ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยประธานสภาอุตสาหกรรมจึงได้ประกาศนโยบายและความหมายของอุตสาหกรรม 4.0 ที่สอดคล้องกับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยว่า ‘อุตสาหกรรม 4.0 ฉบับ ส.อ.ท. หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้ Digital Platforms ใช้ระบบ IT เชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มกำไร’ แน่นอนที่สุดเรื่องของ IoT: Internet of Things จะเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันในทุกอุตสาหกรรม

พลังงานทดแทน 4.0 Renewable Energy 4.0

ในเมื่ออะไร ๆ ก็ 4.0 ดังนั้น พลังงานทดแทนไทยก็ขออินเทรนด์ไปด้วย โดยขอเริ่มเป็นยุค ดังต่อไปนี้

พลังงานทดแทน 4.0 Renewable Energy 4.0

  • ยุคที่ 1.0 เป็นเรื่องสายลม แสงแดด คือ Solar Cell และ Wind Energy ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติไม่ต้องมีเชื้อเพลิง (Feedstock)
  • ยุคที่ 2.0 พลังงานชีวมวลเริ่มรุ่งเรือง นำร่องด้วยกลุ่มอ้อยและน้ำตาล โดยการนำชานอ้อยมาผลิตไฟฟ้าใช้ เมื่อเหลือก็ขายไฟฟ้าให้ภาครัฐ ส่วนน้ำเสียจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหาร มันสำปะหลัง ฟาร์มสุกร ฯลฯ นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ และเริ่มมีเตาเผาขยะที่ลงทุนโดยรัฐเกิดขึ้น
  • ยุคที่ 3.0 ยุคของพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ อีกครั้งหนึ่งเมื่อฝ่ายการเมืองใช้ Solar Cell เป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองเนื่องจากซื้อง่ายขายคล่อง ในปลายยุคนี้ได้มีการประกาศให้พลังงานขยะเป็นวาระแห่งชาติ
  • ยุคที่ 4.0 เป็นการเก็บตกพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งค้างท่อของสหกรณ์และราชการในช่วงนี้รัฐเริ่มเห็นความสำคัญของ
    Bioenergy ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเร่งสานต่อพลังงานขยะ ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและขยะชุมชน

เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าพลังงานทดแทนปัจจุบันกำลังเข้าสู่ 4.0 และเชื่อมโยง Digital Platform นำ IT เข้ามาใช้เกือบครบทั้งระบบ อย่างเช่น Waste to Energy 4.0

Waste to Energy 4.0

Waste to Energy 4.0 มีการส่งเสริมการคัดแยกขยะจากต้นทางโดยอาศัยหลัก 3R ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งการแปลงขยะเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน RDF นั้น ต้องทำเป็นระบบปิดและมีระบบกำจัดกลิ่น เพื่อลดมลพิษและเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิล ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ควรใช้โรงไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีสูงเพื่อให้ปลอดภัยจากมลพิษและใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า มีการจัดการน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้วยการนำมาผลิตเป็นพลังงาน สุดท้าย คือ การติดตั้งเครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแบบต่อเนื่องด้วยระบบ CEMS: Continuous Emission Monitoring Systems และระบบรายงานแบบ Real Time

คำว่า สี่จุดศูนย์ (4.0) อาจเป็นเพียงยุทธศาสตร์ของรัฐที่ดึงเอาวลีใหม่ๆ มาจูงใจให้มีการพัฒนาเหมือนในอดีตที่ผ่านๆ มา ตั้งแต่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม และ Start Up หรือสี่จุดศูนย์อาจเป็นยาสารพัดนึก ช่วยป้องกันอาการป่วยทางเศรษฐกิจที่เราเรียกว่า “New Normal” ไม่ว่าท่านจะยอมรับแนวคิดนี้ หรือไม่ก็ตาม แต่สี่จุดศูนย์ก็คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ยุค Less is More นั่นคือ ทำน้อยแต่ได้มาก จากที่ปัจจุบันเราย่ำอยู่ที่ More is Less คือ ทำมากแต่ได้ผลตอบแทนน้อย

EXECUTIVE SUMMARY

The Federation of Thai Industries announced the policy and definition for industry 4.0 conform to Thai industries readiness as follows ‘Industry 4.0 is industrial activity that use digital platform and IT system to associate in industry to reduce cost and raise benefit’. Of course, IoT: Internet of Things will participate in industrial section increasingly and also working as a factor to advance the competition potential in every categories of industry.

Also, The renewable energy are stepping into 4.0 and digital platform connection by brought IT to operate in overall system, such as, Waste to Energy 4.0 which screen the waste from The begining with 3Rs (reduce, re-use and recycle). The procedure to turn waste into RDF fuel must be close system. It also has odor eliminated system to reduce pollution and increase the value of waste recycling. To generate electricity from waste, the high technology power plant is needed for pollution protection, fuel use worthily and wastewater management with biogas technology. The last process is the air pollution detector equipment . The power plant could be monitored by CEMS: Continuous Emission Monitoring System which is the real-time monitoring system to the desinated locations.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924