ปตท. จับมือ UBE เดินหน้าการใช้เทคโนโลยียีสต์คุณภาพสูงในอุตสาหกรรมเอทานอล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดต้นทุน และส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ

นางสาวอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นางสาววิวรรณ ธรรมมงคล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายวุฒิพงศ์ นิลผาย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอทานอล บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยียีสต์สำหรับกระบวนการผลิตเอทานอลในการทดสอบเชิงพาณิชย์ ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) (UBE)
ศูนย์รวมเครื่องมือทดสอบชิ้นงานอุตสาหกรรม | INTRO ENTERPRISE [Supera Source]
โดยความร่วมมือนี้ เป็นการทดสอบประสิทธิภาพเทคโนโลยียีสต์ที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการหมักเอทานอลจากมันสำปะหลังซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาโดยสถาบันนวัตกรรม ปตท. จากการพัฒนาต่อยอดยีสต์สายพันธุ์ทนร้อน สำหรับใช้ในกระบวนการหมักที่อุณหภูมิสูงและสามารถลดต้นทุนค่าเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตเอทานอลในอุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องลงได้มากกว่า 50%
- ทุบสถิติใหม่! “หุ้นกู้ดิจิทัล ปตท.สผ.” บนเป๋าตัง ขายหมด ภายใน 8 นาที
- ครั้งแรกในเอเชีย! ขายหุ้นกู้ดิจิทัล ปตท.สผ. ผ่านแอปฯ เป๋าตัง
- ปตท. จับมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19
- ปตท. – กฟผ. ซื้อขายก๊าซธรรมชาติป้อนโรงไฟฟ้าน้ำพอง
- พลังงานทดแทนช่วงเปลี่ยนผ่าน ใครจะอยู่ ใครจะไป
นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสอดรับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของภาครัฐสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) ด้วยเศรษฐกิจหลัก 3 ด้าน ที่จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว