Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

บูรณาการระบบอัตโนมัติทุกความต้องการให้เกิดขึ้นจริงด้วยมาตรฐาน CC-Link IE

ไม่ใช่เรื่องยากหรือแปลกประหลาดอย่างใดหากสินค้าระบบอัตโนมัติที่มีอยู่ในตลาดหรือถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่จะไม่มีคนอยากใช้หากไร้มาตรฐานที่เชื่อถือได้รองรับ โดยหนึ่งในมาตรฐานสำคัญสำหรับยุคดิจิทัล คือ มาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับกิจการอุตสาหกรรม ซึ่ง CC-Link IE เป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลสำหรับการเชื่อมต่อในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ในคุณภาพและผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐานเดียวกันครอบคลุมทุกความต้องการ เป็นมิตรต่อผู้ประกอบการและผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติ

ปัจจุบันมีแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะจากธุรกิจ Startup ที่มองเห็นถึง Pain Point ในกิจกรรมต่าง ๆ จึงได้พัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตยุคปัจจุบันขึ้นมา อาทิ แพลตฟอร์มในการเก็บข้อมูลงานซ่อมบำรุง เซนเซอร์อัจฉริยะไร้สายขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันตัวเลือกของอุปกรณ์ในตลาดมีเพิ่มมากขึ้นด้วยการหลั่งไหลเข้ามาของเทคโนโลยีราคาประหยัด ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโดยเฉพาะสงครามด้านราคา ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายอาจไม่คิดว่าเป็นเรื่องเสียหายหากใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการรองรับมาตรฐานในการทำงาน แต่สำหรับอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติอาจไม่ได้ง่ายดายอย่างที่คิด เนื่องจากระบบอัตโนมัตินั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยและความละเอียดอ่อนสูง ทำให้เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ด้วยต้นทุนต่ำ ไปจนถึงโซลูชันที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีอาจไม่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้วหรืออุปกรณ์จากต่างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเชื่อมต่อที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน ระบบพื้นฐานที่ไม่สามารถบูรณาการเข้าด้วยกันได้ หรือเกิดปัญหาไม่รองรับอุปกรณ์นอก แบรนด์ เป็นต้น

ข้อจำกัดเหล่านี้กลายเป็นกำแพงสำหรับผู้ประกอบการในการเลือกบูรณาการอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเมื่อไร้ซึ่งมาตรฐานที่เป็นตัวรับประกันผลลัพธ์การใช้งาน ผู้ประกอบการบางรายจึงหันไปใช้โซลูชันที่มีความพร้อมจากแบรนด์เจ้าตลาดซึ่งอาจไม่ตรงต่อความต้องการใช้งานทั้งหมด แต่สามารถมั่นใจได้ในความเสถียรสำหรับการทำงาน ทำให้เกิดการลงทุนที่ไม่ได้เหมาะสมกับความต้องการอย่างแท้จริง

ในส่วนของผู้พัฒนาหรือแบรนด์หน้าใหม่ เมื่ออุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาไม่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อและการทำงานระดับสากลรองรับ ยอดขายจึงเกิดขึ้นได้ยาก อาจต้องเพิ่มการลงทุนในส่วนของ SI (System Integrator) เพื่อสนับสนุนบริการหลังการขายเป็นจำนวนมาก แม้ผลิตภัณฑ์อาจมีคุณสมบัติในการทำงานเฉพาะทางที่ยอดเยี่ยม แต่เมื่อไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้ในยุคอุตสาหกรรมดิจิทัลศักยภาพที่มีจึงถูกลดทอนคุณค่าลงไป 

จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้มาตรฐานสำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์จึงเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ สำหรับผู้พัฒนามาตรฐานเหล่านี้จะช่วยขับจุดเด่นของอุปกรณ์ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ร่วมกับอุปกรณ์จากต่างแบรนด์ และสำหรับผู้ประกอบการมาตรฐานถือเป็นสิ่งรับประกันศักยภาพที่จะได้รับหากเลือกลงทุนกับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ

มาตรฐานการเชื่อมต่อสากลแบบเปิดสำหรับโรงงานคุณสมบัติที่ทำให้ระบบอัตโนมัติที่ลงตัวที่สุดเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันแบรนด์ด้านอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในโรงงานต่างมีจุดเด่นและศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป จุดเด่นและความหลากหลายในตลาดกลายเป็นจุดแข็งของระบบอัตโนมัติที่ต่อยอดมาจากความมั่นใจและความคุ้มค่าในการใช้งานซึ่งเป็นพื้นฐานคุณสมบัติสำคัญของเทคโนโลยี การออกแบบระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานโดยเลือกใช้เทคโนโลยีจากแต่ละแบรนด์ที่มีศักยภาพเหมาะสมกับการผลิตจึงเป็นเหมือนอุดมคติที่รวมเอาศักยภาพและความเป็นไปได้จากจุดแข็งแต่ละแบรนด์มารวมกัน สร้างสุดยอดสายการผลิตที่มีความคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับความต้องการของธุรกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลในโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อุดมคติในการเลือกหยิบใช้เทคโนโลยีนี้กลับกลายเป็นฝันร้ายเมื่อต้องเจอกับความจริงที่เรียกว่า ‘การบูรณาการระบบ’ ผู้ผลิตแต่ละแบรนด์ให้ความสำคัญในแต่ละประเด็นของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันไป ส่งผลให้พื้นฐานแนวคิดและการออกแบบถูกตั้งขึ้นมาเพื่อส่งมอบศักยภาพที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์นั้น ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา ฮาร์ดแวร์อย่างเซมิคอนดักเตอร์ที่ต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับคุณสมบัติหลัก ลึกลงไปจนถึงคุณสมบัติที่เป็นตัวตัดสินชี้ขาดในตลาด เช่น ความละเอียดสูงสุดที่วัดได้สำหรับชิ้นงานหรือการใช้ประโยชน์จากแฟลตฟอร์ม AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเฉพาะด้านในแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งการดึงเอาศักยภาพเหล่านี้ออกมาต้องการ Ecosystem ที่มั่นคง ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นได้ภายใต้ Ecosystem แบบปิดที่มีการลดปัจจัยเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การใช้ macOS หรือ iPhone จาก Apple เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัว เมื่อมองกลับมาที่สายการผลิตที่มีระบบอัตโนมัติระบบนิเวศน์แบบปิดสามารถสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้แบรนด์หนึ่งแบรนด์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่จะเหมาะสมและคุ้มค่าสำหรับสายการผลิตหรือไม่คำตอบนั้นก็แตกต่างกันออกไป 

ในสถานการณ์จริงผู้ประกอบการนั้นให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและ Productivity ที่เกิดขึ้นเป็นหลัก การเลือกใช้แบรนด์เดียวทั้งสายการผลิตเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นได้จริงโดยเฉพาะกับกลุ่ม SME ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก Open Platform จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความต้องการบูรณาการความหลากหลายของเทคโนโลยีเข้าด้วยกันโดยมีสะพานสำคัญในการเชื่อมต่อ คือ ‘มาตรฐานการเชื่อมต่อสากล’ ที่เป็นระบบเปิด

มาตรฐานการเชื่อมต่อสากลที่สนับสนุนระบบเปิด จะเป็นแพลตฟอร์มที่รับประกันความสามารถในการบูรณาการอุปกรณ์จากแต่ละแบรนด์เข้าด้วยกัน มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในโรงงานหรืออุปกรณ์ IT ในสำนักงานจะสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างไม่ตกหล่น สามารถใช้งานจุดเด่นจากอุปกรณ์แต่ละแบรนด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังสามารถใช้งานร่วมกับแบรนด์อื่นได้อย่างไร้ปัญหา สร้างความเสถียรให้กับระบบไปจนถึงความคล่องตัวในการใช้งานจริง

สำหรับผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติ การออกแบบเพิ่มเติมเพื่อให้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อหรือต้นทุนในการออกใบรับรองอาจเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลได้ไม่น้อย หากเป็นมาตรฐานภายในประเทศ ถึงแม้จะเป็นมาตรฐานที่ใกล้ตัวและง่ายดายแต่อาจจะต้องใช้เวลาดำเนินการที่ยาวนาน ในทางกลับกันสำหรับการยืนยันมาตรฐานในระดับสากลต้นทุนก็อาจจะสูงในระดับที่ยากต่อการเข้าถึง ทำให้ผู้พัฒนาบางรายเบนหัวพัฒนาให้อุปกรณ์ของตัวเองมีความสามารถในการส่งหรือรับช่วงต่อข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว จึงสูญเสียโอกาสจากประโยชน์ที่ได้จากการสื่อสารแบบสองทางหรือการสื่อสารที่แลกเปลี่ยนข้อมูลไปมาได้ ซึ่งการสื่อสารแบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถสร้าง Flow การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าได้ โดยคุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นสำหรับโรงงานและผู้พัฒนาควรให้ความสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อในโรงงานยุคดิจิทัล ได้แก่

  • ความเสถียรของสัญญาณการเชื่อมต่อ
  • ความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลระดับสูง
  • มาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล
  • ลดปัญหาความหน่วงของการส่งสัญญาณ
  • รองรับความหลากหลายในการปรับรูปแบบการเชื่อมต่อของโครงข่าย

ด้วยแนวโน้มการผลิตในปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติได้เข้ามามีส่วนในสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มขึ้นในโรงงานคุณภาพสำหรับระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อจึงทวีความสำคัญขึ้นอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนบทบาทจากตัวเสริมกลายเป็นกระดูกสันหลังที่ขาดไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำถามว่า ‘แล้วจะเลือกใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบรนด์ไหนดี?’

หนึ่งในมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นสากลและสามารถเข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้พัฒนาในเมืองไทย คือ CC-Link IE จาก CLPA ซึ่งหลายคนอาจเคยพบเห็นแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับการรองรับมาตรฐาน CC-Link กันบ่อยครั้ง จึงมั่นใจได้ว่าเป็นมาตรฐานสากลที่คุ้นเคยและคุ้นชิน

CC-Link IE หนึ่งมาตรฐานผสานความต้องการของสายการผลิตและผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติ

มาตรฐานการเชื่อมต่อระดับสากลที่เป็น Open Platform จาก CLPA หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CC-Link นั้นถือเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่เปิดประตู่สู่ความเป็นไปได้ในการเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัตโนมัติยุคใหม่ CLPA จึงได้พัฒนา CC-Link IE ขึ้นมาเพื่อรองรับศักยภาพการทำงานที่ต้องตอบสนองต่อข้อมูลจำนวนมหาศาลและการใช้งานสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม IIoT (Industrial Internet of Things)  โดย CC-Link IE เป็นการต่อยอดความสามารถของเทคโนโลยีเครือข่าย Fieldbus แบบเปิดด้วยการเชื่อมต่อเครือข่าย Industrial Ethernet ที่มีความเร็วสูงถึง 1 Gigabit ให้ความสำคัญกับความเรียบง่ายในการตั้งค่าโปรแกรมสำหรับการสื่อสาร จึงสะดวกต่อการติดตั้ง ปรับเปลี่ยน รวมถึงซ่อมบำรุงได้อย่างง่ายดาย ลดต้นทุนและความยุ่งยากในการบูรณาการสำหรับผู้ประกอบการ โดยสามารถแบ่ง CC-Link IE ออกเป็น 4 กลุ่มย่อยได้ ดังนี้

  • CC-Link IE TSN ใช้เทคโนโลยี Time Sensitive Network ที่ทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องจักรหรือ Node ต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกันภายใต้แนวคิด Time Sharing เพิ่มความสามารถในบริหารจัดการกระบวนการจำนวนมากพร้อมกันได้อย่างแม่นยำสำหรับโรงงานอัตโนมัติ ไร้กังวัลสำหรับความหน่วงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนกระบวนการ
  • CC-Link IE Field เข้าถึงทุกอุปกรณ์ในพื้นที่การผลิตได้อย่างง่ายดาย สามารถติดตามข้อมูลและปรับตั้งค่าจากที่ใดก็ได้ในระบบเครือข่าย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี Ethernet กับอุปกรณ์ขนาดเล็กซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมด้วยความเร็วสูง ทำให้ง่ายต่อทั้งการใช้งานและพัฒนา 
  • CC-Link IE Control เครือข่าย Backbone สำหรับโรงงานอัตโนมัติที่ใช้ Token Passing Protocol ควบคุมการส่งข้อมูลให้แน่ใจได้ว่าจะเกิดการสื่อสารแบบ Real-time ที่ใช้ความเร็วสูง มั่นใจได้ด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกลูปแบบ Redundant เพื่อตรวจสอบสายเคเบิลการสเตชันการทำงานที่มีปัญหา
  • CC-Link Safety สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าทุกคำสั่งและการเชื่อมต่อจะไม่เกิดข้อมูลสูญหาย

อีกหนึ่งจุดเด่นสำหรับมาตรฐาน CC-Link IE คือ ทุกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อาทิ ISO, IEC, IEEE 802 และ SEMI หรือมาตรฐานเฉพาะประเทศอย่าง GB, JIS, KS และ CNS โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองสามารถใช้งานได้ทั่วโลกอีกด้วย

ด้วยจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกับสมาคม CLPA กว่า 3,000 บริษัททำให้มาตรฐาน CC-Link IE นั้นครอบคลุมทุกความต้องการในการใช้งานสำหรับโรงงานอัตโนมัติ ไม่ว่าจะในด้าน Feature ราคา หรือคุณสมบัติอื่นใดที่ต้องการในการผลิตยุคปัจจุบัน

CC-Link IE Field ตัวเลือกสำหรับนักพัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติชาวไทย

หลายครั้งการพัฒนาสินค้าขึ้นมาเพื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับระบบหรือแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วอาจเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับผู้พัฒนา แต่สำหรับสมาคม CLPA นั้นมีการเปิดกว้างให้กับผู้พัฒนาชาวไทยสามารถเชื่อมต่อกับ CC-Link IE ได้อย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นการทำโครงการขนาดเล็กหรือโครงการต้นแบบที่ใช้ Open Source อย่าง Raspberry Pi หรือ Arduino ก็สามารถปรึกษาและพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานภายใต้มาตรฐาน CC-Link IE ได้เช่นกัน

หนึ่งในมาตรฐานที่น่าสนใจสำหรับ SME หรือ Startup ซึ่งมีอยู่มากในประเทศไทย คือ CC-Link IE Field ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย ทำให้เหมาะกับการใช้งานในทุกโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ CC-Link IE Field เป็นมาตรฐานที่สามารถส่งเสริมผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติชาวไทยได้เป็นอย่างดีด้วยคุณสมบัติที่เรียบง่ายแต่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ‘ศักยภาพในการเชื่อมต่อ’ สำหรับอุปกรณ์ที่ในพื้นที่การผลิต

CC-Link IE Field ให้ความสำคัญกับจุดที่เป็นพื้นฐานการเชื่อมต่อของเครือข่ายอุปกรณ์ Ethernet เหมาะกับระบบขนาดเล็ก มีการสื่อสารผ่านซอฟต์แวร์เป็นหลักโดยไม่ต้องการ ASIC มาช่วยในการบูรณาการระบบ เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่การผลิต รองรับการสื่อสารแบบซิงโครนัสและอซิงโครนัส ทำให้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างยืดหยุ่น  โดย CC-Link IE Field แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. CC-Link IE Field Basic ให้ความสำคัญกับการสื่อสารของอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีความเรียบง่ายและไม่ต้องการการควบคุมความเร็วสูง มีการสื่อสารแบบวนรอบบนเครือข่าย CC-Link IE ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์
  2. CC-Link IE Filed Motion เป็นการสื่อสารแบบซิงโครนัสบนเครือข่าย CC-Link IE Filed สามารถควบคุมอุปกรณ์ในพื้นที่การผลิตได้พร้อมกันหลายตัว สามารถใช้งานเซอร์โวแอมพิฟายเออร์ประเภทคำสั่งแบบต่อเนื่องได้ รวมถึงการควบคุมการเคลื่อนที่ขั้นสูง เช่น Interpolation

มาตรฐาน CC-Link IE Field จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ในพื้นที่การผลิต อาทิ เซนเซอร์ไร้สายหรือระบบควบคุมที่มีความซับซ้อนน้อยซึ่งมีความต้องการในการส่งต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ

ผู้พัฒนาที่กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการออกเอกสารรับรองคุณภาพ แม้ว่า CC-Link IE จะเป็นมาตรฐานสากลแต่ค่าใช้จ่ายในการทดสอบและออกใบรับรองนั้นไม่ได้มีราคาที่สูงอย่างที่คิด บริการทดสอบมาตรฐานสำหรับสมาชิก CLPA นั้นมีต้นทุนในการออกใบรับรองเริ่มต้นอยู่ในช่วงหลักหมื่น ทำให้สามารถลงทุนไปกับงบการพัฒนาต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการรับรองมาตรฐานนั้นสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก และที่พิเศษไปกว่านั้นในส่วนของมาตรฐาน CC-Link IE Field Basic ไม่มีการเรียกเก็บค่าออกใบรับรองแต่อย่างใดทำให้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ในพื้นที่การผลิตที่มีความต้องการศักยภาพการใช้งานที่ไม่ใช่ระดับ High-End สามารถดาวน์โหลดชุดอุปกรณ์สำหรับการทดสอบและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่ามาตรฐานจาก CC-Link IE นั้นเปิดกว้างสำหรับทุกธุรกิจทั้งในแง่มุมของผู้ใช้งานและผู้พัฒนาอุปกรณ์

เป็นสมาชิก CLPA จะช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร?

สำหรับผู้พัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงาน การเข้าร่วมเป็นสมาชิก CLPA นั้นสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีการแบ่งปันองค์ความรู้สำหรับสมาชิก มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาที่คอยสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับมาตรฐาน รวมไปถึงพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับทดลองใช้งานควบคู่กับไมโครชิปที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นต้น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ CLPA จึงเป็นเหมือนกับการติดอาวุธทางการสื่อสารที่ครบครันให้กับผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่แต่ละบริษัทเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิม

สิทธิประโยชน์หลักจาก CLPA คือ การทดสอบมาตรฐานระดับสากลที่สามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้ทั่วโลก โดย 8 สิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิก CLPA สำหรับผู้พัฒนาอุปกรณ์หรือเจ้าของแบรนด์มีดังนี้

  • ได้รับข้อมูลคุณสมบัติผลิตภัณฑ์กลุ่ม CC-Link โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • มีสิทธิ์ในการพัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม CC-Link
  • มีสิทธิ์ในการเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีจากกลุ่ม CC-Link
  • มีสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของตนเองในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์และเว็บของ CLPA
  • สามารถทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐาน CC-Link ได้
  • สามารถทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสายสัญญาณได้

สมาชิก CLPA นั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไปตามระดับสมาชิก โดยจุดเด่นของสมาชิกแต่ละระดับ ได้แก่

  1. Board Member สมาชิกระดับสูงสุด มีค่าสมาชิก 1 ล้านเยน ต่อปี สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทั้งหมดและรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. Executive Member สมาชิกระดับบริหาร มีค่าสมาชิก 200,000 เยน ต่อปี สามารถพัฒนา ผลิต และขายผลิตภัณฑ์ CC-Link ได้ มีค่าทดสอบมาตรฐานเริ่มต้นที่ 100,000 เยน ต่อ 1 ผลิตภัณฑ์
  3. Regular Member สมาชิกระดับทั่วไป มีค่าสมาชิก 100,000 เยน ต่อปี สามารถพัฒนา ผลิต และขายผลิตภัณฑ์ CC-Link ได้ มีค่าทดสอบมาตรฐานเริ่มต้นที่ 200,000 เยน ต่อ 1 ผลิตภัณฑ์
  4. Registered Member สมาชิกที่จดทะเบียนเข้าร่วม ไม่มีค่าสมาชิก มีสิทธิประโยชน์เพียงประการเดียว คือ สามารถรับข้อมูลคุณสมบัติของกลุ่มผลิตภัณฑ์ CC-Link ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

จะเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ในการเป็นสมาชิกสมคม CLPA นั้นมีตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์ไปจนถึงพื้นที่ในการนำเสนอและโปรโมทสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของสมาคม การสนับสนุนจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สามารถลดระยะเวลาและต้นทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อ ทำให้ทีมพัฒนาสามารถทุ่มเททรัพยากรกับการพัฒนาคุณสมบัติหลักที่สำคัญของอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อ

แน่ใจได้ว่าการเลือกลงทุนกับมาตรฐานการเชื่อมต่อที่เป็นระบบเปิดอย่าง CC-Link IE สามารถสร้างความคุ้มค่าให้กับทั้งผู้ประกอบการโรงงานไปจนถึงผู้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆด้วยการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เลือกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพวางใจไร้กังวลด้วยการเชื่อมต่อคุณภาพสูงที่ทุกคนต้องการ

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CC-Link โปรดติดต่อ

Website: www.cc-link.org (th.cc-link.org)

Facebook: CC-Link Thailand

Line: @cclinkthailand

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924