Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

บอร์ด EEC เห็นชอบ ตั้ง คณะกรรมการ ดูแล ไฮสปีดเทรน

บอร์ด EEC เห็นชอบ ตั้ง คณะกรรมการ ดูแล ไฮสปีดเทรน ตั้งโรงไฟฟ้า หาพื้นที่รับขยะ 1.66 ไร่ต่อวัน  และพัฒนาการเรียนการสอน อาชีวะให้ทัดเทียมสากล


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน  มีมติ แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล คณะกรรมการบริหารสัญญา และโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อบริหารสัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะช่วงเริ่มโครงการฯ ที่เน้นการออกแบบและการก่อสร้าง เป็นหลัก

และ ให้ สกพอ.ประสานจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี ต้นแบบการกำจัดขยะอย่างยั่งยืน ทั้งขยะบก บนเกาะ และในทะเล ให้เสร็จภายใน 3 เดือน โดยให้กลุ่มบริษัท ปตท. บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เข้าร่วมศึกษา 

และให้จังหวัดในพื้นที่อีอีซี เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งโรงงานขยะ และโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ  พร้อมกับให้กระทรวงพลังงานพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ ในพื้นที่อีอีซี

หลังจาก กพอ. ได้พิจารณา สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซี ที่คาดว่าเพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณ 4,200 ตันต่อวัน ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 6,800 ตันต่อวัน ในปี 2580 แต่ปัจจุบันยังขาดการบริหารจัดการ และขยะที่เกิดขึ้นก็ปริมาณมากขึ้นทุกวัน ซึ่งหากยังใช้การฝังกลบแบบเดิม นอกจากขยะไม่ย่อยสลายแล้ว ก็ยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งต้องหาพื้นที่เพิ่ม เพื่อรับรองปริมาณขยะที่สูงถึง 1.66 ไร่ต่อวัน

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี เกิดขึ้นอย่างประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงขยายพื้นที่เป้าหมายครอบคลุม 3 จังหวัด อีอีซี เพิ่มอีก 6 แห่ง เพื่อสามารถกำจัดขยะมูลฝอยทั้งรายวัน และขยะสะสมรวม 6,000 ตันต่อวัน สามารถผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะได้ประมาณ 120 เมกะวัตต์ ซึ่งจะสามารถกำจัดขยะที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวันและกำจัดขยะที่สะสมได้กว่า 5.57 ล้านตัน ในพื้นที่ อีอีซี ให้หมดไปภายใน 12 ปี

และ เห็นชอบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใน 2 ปี โดยใช้หลักการ Demand Driven มี 2 รูปแบบ คือ

1. EEC Model Type A : เอกชนร่วมจ่าย 100%  มีสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่เข้าร่วม 12 สถาบัน โดยปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษาในระบบ 1,117 คน และมี MOU ร่วมกับผู้ประกอบการในอีอีซี พัฒนากำลังคนทั้งในระดับอาชีวะและปริญญาตรี จำนวน 44,000 คน

2. EEC Model Type B เอกชนร่วมบ้าง 10-50% ผู้ประกอบการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาหลักสูตรจัดการเรียนรู้บางส่วน และรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน แต่ไม่ประกันการจ้างงาน โดยกลุ่มนี้มีการผลิตกำลังคนใน 36 วิทยาลัย รวม 5,100 คน และจะขยายให้ครอบคลุม 48 วิทยาลัยในภาคตะวันออก

และแนวทางการสนับสนุนบัณฑิตอาสา เพื่อกระจายโอกาสสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างอนาคตให้บัณฑิตอาสาในพื้นที่ อีอีซี : เปิดรับสมัครคัดเลือกบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี จำนวน 120 คน เพื่อฝึกอบรม 2 เดือนและทำงานในพื้นที่ อีอีซี ของ 30 อำเภอ โดยทำงานร่วมกันระหว่าง ม.บูรพาและมหาลัยเครือข่าย ซึ่งคาดว่าจะได้บัณฑิตอาสารุ่นแรก ภายในเดือนมกราคม 2563 ประมาณ 30 คน จาก 3 จังหวัด ในอีอีซี

รวมทั้งแนวทางการปรับฐานภาษาอังกฤษของนักเรียนอาชีวศึกษา ในอีอีซี (อาชีวะอินเตอร์) พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐในพื้นที่ อีอีซี จัดการเรียนแบบ Content Language Integrated Learning (CLIL)  เพื่อยกระดับศักยภาพของนักเรียนให้ทัดเทียมสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในวิชาชีพได้อย่างมั่นใจ และทำงานได้ค่าตอบแทนสูง

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924