พูดกันอย่างหนาหู สำหรับ INDUSTRY 4.0 มีคำนิยามต่างๆ มากมายเพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การปฏิบัติ อาทิ ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบของ INDUSTRY 4.0 คือ การใช้กระบวนการผลิตขั้นสูงเช่น Modular Production, Automation, 3D Printing, Robotics, Simulations, Sensors ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการผลิต เช่น Digital Engineering, Digital Workflow, Logistic and Supply Chain, RFID, MES, PLM, Big Data and Data Analytics, IoT ส่วนการใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น Bio-Plastic, Graphene, Recycle Materials และการผลิตที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น Energy, Environment and People เป็นต้น ก็ยิ่งทำให้เห็นภาพของอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ชัดเจนขึ้น
โดยแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับกระแสของโลกนั้น อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่จะพัฒนาไปทั้งระบบ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่นำไปสู่ Value-Based Economy โดยเป็นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในมิติของการพัฒนานวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ การสร้างและประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงกระบวน และการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมเชิงธุรกิจ
โดยการสร้างนวัตกรรมที่สอดรับกับแนวนโยบายดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยในเรื่องนี้ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้กล่าวว่า งานวิจัยที่ สกว.ให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมจากเดิมเคยมีงบประมาณ 60-70 ล้านบาท ถูกเพิ่มเป็นกว่า 500 ล้านบาทต่อปี อีกทั้ง หลังจากรัฐตั้งเป้าและประกาศเดินหน้าตามแผนแล้ว ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่จะเริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2560 ถึงปี 2564 นี้ จึงเขียนไว้ชัดว่า งบวิจัยและพัฒนาต้องไม่ต่ำกว่า 1.5% ของ GDP ปัจจุบันงบวิจัยประมาณ 0.5% ของ GDP ฉะนั้น ประมาณได้เลยว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า งบวิจัยจะโตอีกอย่างน้อย 3 เท่าของปัจจุบัน หรือหมายถึง เราจะมีงบกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปีสำหรับงานวิจัย ติดตามในคอลัมน์ EXCLUSIVE TALK หน้า 38-40 และติดตามเรื่องอื่นๆ ภายในเล่ม
อ่านฟรี ในรูปแบบ E-Book