Friday, November 22Modern Manufacturing
×

นิตยสาร Modern Manufacturing Special Issue #5

นิตยสาร Modern Manufacturing Special Issue #3

ถ้ายังมีใครที่คุณรักก็ทำความรู้จักอุตสาหกรรมหมุนเวียนเถอะ

ทุกข์ทนกับควันพิษ? ป่วยจิตกับของเสีย?เบื่อบ้างไหมที่ตัวเองป่วยโดยไม่รู้สาเหตุปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เล่น ๆ อีกต่อไป จะทำอย่างไรให้ระบบเศรษฐกิจสร้างกำไรอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการส่งต่อโลกใบนี้ให้กับคนรุ่นหลัง หรือสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนที่คุณรักไม่ใช่การเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่คร่าชีวิตพวกเขา

เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการในการใช้งานเพิ่มขึ้น คำตอบคือการทำอุตสาหกรรมแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ด้วยการทำงานที่ตั้งเป้าปราศจากของเสีย ไม่ว่าจะเป็นการรีไซเคิล การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน หรือ การนำพลังงานกลับมาใช้ ซึ่งเป็นการลดปัญหาด้านทรัพยากรและเป็นการทำงานที่รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมได้อีกทางด้วย

ปัจจุบันมีการใช้วัตถุดิบมากกว่า 80,000 ล้านตัน ต่อปี และมีการ Recycle เพียง7% เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการปล่อย COออกมามากถึง 4,100 ล้านตัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับของเสียที่เกิดขึ้นหลังการผลิต ก๊าซเรือนกระจกกว่า 67% เป็นผลจากการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ไร้ประสิทธิภาพ มีการใช้น้ำบริสุทธิ์โดยประมาณ 3,928 ลูกบาศก์กิโลเมตร ในขณะที่น้ำเสียกว่า 56% ไม่ได้ถูกบำบัดก่อนส่งกลับเข้าสู่ระบบหรือธรรมชาติ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้สามารถนำกลับมาบำบัดและบริหารจัดการให้ใช้งานได้อีกครั้งโดยไม่ต้องดึงเอาทรัพยากรที่กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องมาใช้จำนวนมาก

ปัญหาเหล่านี้จะโทษหรือให้เป็นภาระใครคนเดียวไม่ได้ ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ผู้ประกอบการชาวไทยอาจยกเหตุผลด้านการเงิน การลงทุน ระยะเวลาต่าง ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วลองใคร่ครวญดูให้ดีหรือยังว่าสิ่งที่คุณจะได้กลับมานั้นมีค่าเพียงใด?

หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้บริโภคได้อย่างดี จากข้อมูลของ McKinsey พบว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถเพิ่ม Productivity ได้กว่า3% ภายในปี 2030 ประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 600,000 ล้านยูโรต่อปีในภาพรวม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว และเนื่องจากความตกลงปารีสที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มาตรฐานโรงงานสีเขียวหรือขั้นตอนใด ๆ ที่ใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าส่งออกไปยังประเทศกลุ่มยุโรปและประเทศภายใต้ความตกลงปารีสแต่ความคุ้มค่าที่แท้จริงนั้นมันคือคุณภาพชีวิตคนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น ผู้คนลดการเจ็บป่วยจากมลภาวะเป็นพิษ ไปจนถึงการทำงานที่มีคุณภาพและต่อเนื่องเพราะได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมและผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ถึงตอนนี้ ถ้ายังห่วงแต่เรื่องการลงทุนและกำไรระยะสั้น ก็คงต้องตั้งคำถามระยะยาวกับตัวเองอีกทีว่าจะอยู่ในธุรกิจนี้ไปอีกนานเท่าไหร่?

ถ้าจะถามถึงสิ่งที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ การยืดเวลาของคุณและคนที่คุณรักให้ยืนยาวมากขึ้นนั้นมีคุณค่ากับคุณหรือไม่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Circle-economy.com และ Mckinsey.com

อ่านฟรี ในรูปแบบ E-Book

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924