Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

รัฐบาลอนุมัติคำสั่งถมทะเล ขยายนิคมฯ มาบตาพุดทุ่มงบ 5 หมื่นล้าน!

คณะรัฐมนตรี  มีมติเห็นชอบการลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่า 55,400 ล้านบาท ตามที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เสนอ

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ EEC โครงการต่างๆ

การลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นการขุดลอกและถมทะเลที่พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ เป็นไปตามโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ตั้งเป้าเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลว ให้สามารถรองรับสินค้าผ่านท่าเรือโดยให้ความสำคัญกับสินค้าปิโตรเคมี น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมากขึ้น เพิ่มปริมาณการรองรับสูงถึง 14 ล้านตันต่อปี ภายในระยะเวลาอีก 30 ปีต่อจากนี้ ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ EEC

มีมูลค่าการลงทุนโครงการรวม 55,400 ล้านบาท ประกอบด้วยแหล่งเงินทุนจากภาครัฐและเอกชน ดังนี้
1.การนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 12,900 ล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานหลักเป็นการขุดลอกและถมทะเล
2.ภาคเอกชน ลงทุนท่าเทียบเรือก๊าซ จำนวน 35,000 ล้านบาท ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว จำนวน 4,300 ล้านบาท และคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ จำนวน 3,200 ล้านบาท

องค์ประกอบการใช้พื้นที่มี 2 ส่วน ได้แก่
1.โครงสร้างพื้นฐาน งานขุดลอกและถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลวและก๊าซธรรมชาติและพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน แบ่งเป็นพื้นที่ถมทะเลหลังท่าเพื่อใช้งาน 550 ไร่ และพื้นที่บ่อเก็บตะกอนดินเลนระหว่างก่อสร้าง 450 ไร่ รวมถึงงานขุดลอกร่องน้ำและแอ่งกลับเรือ งานสาธารณูปโภค และการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ

2.ท่าเรือบนพื้นที่ถมทะเล เป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือ (Jetty) เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า 3 ส่วน คือ ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ท่าเทียบเรือก๊าซมีพื้นที่ 200 ไร่ และคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติมีพื้นที่ 150 ไร่ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการท่าเรือ

สิ่งที่น่าตั้งคำถามสำหรับมติเห็นชอบในครั้งนี้ คือ การถมทะเลในคัร้งนี้เพื่อผลักดันเศรษฐกิจนั้นจะมีคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับโครงการถมทะเลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังซึ่งมีคำสั่งให้ศึกษาผลกระทบเป็นระยะเวลา 6 เดือนแล้ว ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการถมที่นี้จะคุ้มค่าสำหรับคนในพื้นที่ ประเทศ และเจ้าของประเทศอย่างประชาชนคนทั่วไปแค่ไหน อย่างไร?

ที่มา:
Khaosod.co.th
Thansettakij.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924