ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจต่างๆ รวมถึงธุรกิจยานยนต์เองที่มีการชะลอตัวลงเช่นกัน แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์นั้นจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 18.8 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงระหว่างปี 2559 – 2566
จากรายงานของ PWC ผู้ให้บริการและการปรึกษาดำเนินธุรกิจระดับโลก ได้นำเสนอข้อมูลและวิสัยทัศน์ที่มองไกลไปถึงปี 2050 ภายใต้ชื่อ ‘The Long View: How will the global economic order change by 2050’ หรือวิสัยทัศน์ระยะยาว สำหรับการเปลี่ยนแปลงของลำดับเศรษฐกิจโลกในปี 2050 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงตลาดใหม่ที่เป็นกลุ่มผลักดันเศรษฐกิจเกือบทุกสาขาธุรกิจให้เกิดการเติบโต โดยคาดว่าประเทศจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณ 20% ของ GDP โลก และตามมาด้วยประเทศอินเดียที่มีสัดส่วน 15%
ตลาดยานยนต์อันกล้าแกร่งในจีน
แม้สถานการณ์โดยรวมหลากหลายประเทศจะอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ตลาดแดนมังกรกลับดีดตัวขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็น ผลมาจากการสนับสนุนของภาครัฐบาล เช่น การสนับสนุนด้านภาษี
ยอดขายนั้นมีการเติบโตสูงถึง 15% ตลอดทั้งปี 2013 การเติบโตส่วนมากนั้นเป็นผลมาจากการสนับสนุนด้านภาษีที่ค่อยๆ ถูกลดลงสู่ระดับปกติอย่างช้าๆ ก่อให้เกิดความต้องการยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 1.6 ลิตร เติบโตกว่า22.5% ในรูปแบบปีต่อปี ยอดขายสูงถึง 15.6 ล้านคัน
ในระยะยาว นักลงทุนคาดหวังว่าระดับการผลิตจะถูกยกขึ้นไปถึง 35 ล้านคัน สำหรับยานยนต์เบาในปี 2023 กับอัตราเติบโตต่อปี 3.8% โดยประเมินภายใต้เงื่อนไขที่ไร้การเปลี่ยนแปลงสำหรับการส่งออก
แนวโน้มที่ดีขึ้นสำหรับการพัฒนาตลาดในประเทศอินเดีย ความต้องการของตลาดภายในประเทศนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดี โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 3 ล้านคันหรือคิดเป็น 8% นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งตลาดการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2016 นั้นเพิ่มขึ้นถึง 15.6% ถึงอย่างนั้นปัญหาด้านค่าเงินรูปีก็ได้ส่งผลให้ยอดต่างๆ ลดลงอย่างมากตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
ด้วยความต้องการของตลาดที่มีมากภายในประเทศอินเดียทำให้การลงทุนและตลาดในประเทศยังคงมีแนวโน้มที่ดี นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มีที่รัฐบาลจะออกกฎหมายและการสนับสนุนด้านภาษีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ช่วงปี 2560 นี้ อีกเช่นกัน
การเติบโตของตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้ผลิตรายใหญ่ในภูมิภาคนี้ คือ ประเทศไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งมีสถานภาพที่กำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ในปี 2559 นับว่ายังคงห่างไกลจากเป้าที่เคยทำได้ในช่วงปีที่กำลังตื่นตัวอยู่มากนักโดยประเทศไทยนั้นมุ่งเน้นไปที่การส่งออกไปยังทั่วโลก รวมถึงการใช้งานภายในประเทศ ขณะที่อินโดนีเซียเน้นการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อผลักดันเศรษฐกิจและกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการใช้เงิน ทางด้านมาเลเซียยักษ์ใหญ่ลำดับที่ 3 แห่งตลาด SEA ก็ยังคงอยู่ในขาลงเช่นกัน แต่สำหรับประเทศที่มีตลาดขนาดเล็กอย่างบรูไนหรือเวียดนามกลับมีตัวเลขการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าจากปีก่อนหน้า
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถูกคาดหวังให้เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับตลาดรถกระบะขนาดกลางในบางประเทศเช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียที่มีการสนับสนุนด้านการประกอบและการขายยานยนต์ขนาดเล็ก ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนการผลิตอย่างมาก ซึ่งมีการพยากรณ์ไว้ว่าระหว่างปี 2559 – 2564 ตลาดการประกอบยานยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นกว่า 50% จาก 4.0 ล้านคันไปเป็น 5.9 ล้านคัน สำหรับทั้งตลาดภายในและการส่งออก
การเติบโตของภูมิภาคแอฟริกาเหนือ
แอฟริกาเหนือนั้นถือว่าเป็นเป้าหมายหลักในการลงทุนทั้งหลายสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งกลายเป็นจุดที่ดึงดูดการลงทุนที่น่าสนใจ มีการคาดการณ์สำหรับอัตราการเติบโตอยู่ที่ 7.4% หรือ 450,000 คันภายในปี 2023
วี่แววของเสถียรภาพที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก
กระบวนการผลิตยานยนต์เบาสำหรับภูมิภาคยุโรปตะวันออกถูกคาดหวังไว้ให้มีอัตราเพิ่มขึ้น เพื่อผลักดันตลาดล่างของรัสเซียให้มีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ตลาดรถใหม่กลับมียอดขายตกลงกว่า 12.1% ซึ่งเป็นสัญญาณที่เตือนให้ระวังกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
โอกาสเติบโตในรัสเซียนั้นมาจากยานยนต์ที่ใช้ส่วนใหญ่ในประเทศนั้น มีอายุเกินกว่า 10 ปี และนโยบายด้านราคานำมันที่กลับมามีผลอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2560 รัสเซียจะมียอดขายที่โตขึ้นถึง 7.2% หรือกว่า 1.5 ล้านคัน
สถานการณ์อเมริกาใต้ที่กำลังทรุดลง
ตลาดการประกอบยานยนต์ในประเทศบราซิลไม่มีสัญญาณการเติบโตหรือพัฒนาแต่อย่างใด ยานยนต์เบามียอดขายที่ลดลงกว่า 21% ความมั่นใจของผู้ซื้อมีอยู่ค่อนข้างน้อย ขาดเครดิตและกำลังซื้อมีไม่เพียงพอต่อราคาตลาดปัจจุบัน
สถานการณ์อันน่าซับซ้อนของอเมริกาใต้
สถานการณ์ในแอฟริกาใต้นั้นนับเป็นช่วงปีที่ยากลำบากอีกปี โดยเฉพาะยอดขายที่ยากลำบากภายใต้แรงกดดันด้วยปัญหาของดอกเบี้ยที่สูงขึ้นรวมถึงอัตราเงินเฟ้อ จุดเด่นสำหรับภูมิภาคนี้ คือ กำลังการส่งออกที่แข็งแรง โดยกำลังการผลิตกว่า 62.3% ของปี 2016 ซึ่งส่งออกไปกว่า 85 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
EXECUTIVE SUMMARY
From overall cool down situation of automotive demand globally which cause the economics of automotive, auto parts and related manufacturing to slow down. The report from PWC showed that emerging market is driving automotive sector more than mature market. The automotive market in China and India are getting stronger with high rate, Thailand and Indonesia are getting slow recovery and headed to a positive direction, for Eastern Europe that maintain its stability which driven from Russia while Africa and South America focus on exporting because of domestic problem.
Source:
- Autofacts 2017 Q1 Forecast Release
- https://goo.gl/EtXMVx