เชื่อว่านาทีนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักแบรนด์ ‘ซัยโจ เด็นกิ’ ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องทำความเย็นที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากการคิดค้นนวัตกรรมความเย็นที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในวันนี้ ซัยโจ เด็นกิ จะเป็นชื่อที่ติดหูและติดใจใครหลายๆ คน จนรักษาความเป็นผู้นำด้าน เทคโนโลยีเครื่องทำความเย็นลำดับต้นๆ ในตลาดไว้ได้
ฉบับนี้จะชวนมาพูดคุยกับ คุณธันยวัฒน์ จิตติพลังศรี Assistant Managing Director จากบริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถึงจุดแข็ง เป้าหมาย และทิศทางของซัยโจ เด็นกิ ที่ทำให้เครื่องปรับอากาศแบรนด์นี้ สามารถครองตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงความ SMART ของซัยโจ เด็นกิ ที่ว่ากันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
ติดปีกเร่งเครื่อง สองปีกลายเป็นเบอร์หนึ่ง
ประหยัดไฟได้มากที่สุด เบอร์ 5 ยังน้อยไป
คุณธันยวัฒน์ จิตติพลังศรี เปิดบทสนทนาด้วยการกล่าวถึงความสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมาว่า ซัยโจ เด็นกิ ประเทศไทย จดทะเบียนสิทธิบัตรกว่า 20 ใบ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่วิจัยและพัฒนาขึ้นเอง ยิ่งไปกว่านั้นคือการได้รับเกียรติจากธนาคารโลก (World Bank) ให้เป็นองค์กรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านการคิดค้นนวัตกรรมประหยัดพลังงานและ Protocol ลดโลกร้อนด้วย
“World Bank ทำความตกลงกับองค์กรระดับโลกจากหลายประเทศชั้นนำ เช่น ไทย ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ อินเดียอินโดนิเซีย ยุโรป อเมริกา แต่ในที่สุดก็ได้ยกให้เราเป็น Success Case ในการใช้สารทำความเย็น R32 รุ่นใหม่ ที่ทำให้เครื่องปรับอากาศเย็นขึ้น ประหยัดไฟมากขึ้น และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ถือเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยบริษัทแรกๆ ในโลก”
อีกทั้ง ซัยโจ เด็นกิ สามารถพัฒนาเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้ประหยัดพลังงานได้เจ้าแรกในโลก“เราพัฒนำ Inverter ของตัวเอง ปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟที่สุดในเมืองไทยเกณฑ์การประหยัดไฟ คือ เบอร์ 5 ซึ่งต้องวัดค่า SEER ได้เกิน 15 แต่ของเราวัดค่า SEER ได้ถึง 26.61 ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของทั้งในเมืองไทยและสิงคโปร์” คุณธันยวัฒน์อธิบายถึงความสามารถในการประหยัดไฟ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสัดส่วนยอดขายของซัยโจ เด็นกิ แบ่งเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กใช้ในบ้าน 50% ขนาดกลาง (ต่ำกว่า 60,000 BTU/h) อีก 30% และขนาดใหญ่ 60,000 BTU/h ขึ้นไปที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอีก 20%
แค่ตามเทรนด์ไม่พอ แต่ต้อง Smart ทุกมิติ
“ไม่ใช่ว่าเทรนด์ 4.0 มา แล้วก็แห่ตามโดยไม่รู้ว่าแก่นของตัวเองคืออะไร ความแข็งแรงของเราคืออะไร อย่าหลุดโฟกัส เราตามเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคด้วยและเราโฟกัสที่จุดแข็ง 3 จุด คือ ประหยัดพลังงานคุณภาพอากาศ และ Smart” คุณธันยวัฒน์ กล่าว SMART ของซัยโจ เด็นกิ คือ การเชื่อมต่อเครื่องปรับอากาศเข้ากับผู้ใช้ผ่านสมาร์ทโฟน เช่น
SMART AC ผู้ใช้สามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศผ่านแอปพลิเคชันได้ เช่น เปิด-ปิด ตั้งอุณหภูมิปรับระดับความแรงลม
SMART ENGINEER ผู้ใช้สามารถรู้ปัญหาของระบบได้ เช่น น้ำยาแอร์หมด คอมเพรสเซอร์เสีย มอเตอร์ชำรุด เป็นต้น โดยสามารถบอกต้นเหตุของอาการเสียของแอร์ได้มากกว่า 30 อาการ ผ่าน Application Smartphone
SMART ENERGIE แอปพลิเคชันช่วยคำนวณหาวิธีทำงานให้เป็น Energy Saving Mode ซึ่งสามารถประหยัดไฟได้อีก 30% นอกจากนี้ ยังตรวจสอบค่าไฟได้เปิดมากี่ชั่วโมง กินไฟไปกี่หน่วย กินไฟไปแล้วกี่บาทกล่าวคือเครื่องปรับอากาศของซัยโจ เด็นกิ ใช้ระบบ Internet of Things ได้เต็มรูปแบบและเต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง โดยปัจจุบันมีให้ดาวน์โหลด แล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ในชื่อ Saijo Denki Application
Roadmap ของซัยโจ เด็นกิ รับ IoT และ Industrial 4.0
คุณธันยวัฒน์ยังให้ความคิดเห็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าแรงในประเทศไทยสูงกว่าเวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมาแล้ว ถ้าไทยไม่ 4.0 ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน
“ในความเห็นของผม คำว่า Industrial 4.0 หมำยถึงเราควรเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ไม่ใช่ซื้อหรือนำเข้าเทคโนโลยีมาใส่โรงงาน ถ้าแค่ซื้อมา มันไม่ยั่งยืน พัฒนาตัวเองต่อไม่ได้ ฉะนั้น ต้องสร้างนวัตกรรม สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นเหตุผลให้ ซัยโจ เด็นกิ พัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นผู้นำ ใช้ความต้องการของผู้บริโภคมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์” คุณธันยวัฒน์ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ
โดยซัยโจ เด็นกิ เองก็มี Roadmap ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0 ทั้ง 4 มิติ ทุกองค์ประกอบต้องเป็นนวัตกรรม คือ
ผลิตภัณฑ์ (Product) ที่เป็นนวัตกรรมทั้งการประหยัดพลังงานและคุณภาพอากาศ
บริการ (Services) เช่น e-Warranty การรับประกันและบริการหลังการขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
กระบวนการทำงาน (Process) เช่น การใช้ QR Code เพื่อทำฐานข้อมูลลูกค้าและช่างซ่อม
รูปแบบธุรกิจ (Business Model) จากที่เคยขายผ่านดีลเลอร์จะพยายามขยับเป็น Digital Trade
เห็นได้ว่า เป้าหมายและทิศทางของซัยโจ เด็นกิ ที่เน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวเอง เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ กลายเป็นเคล็ดลับในการครองความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
คุณธันยวัฒน์ ยังทิ้งท้ายว่า หลักการทำงานที่ซัยโจ เด็นกิ ยึดมั่นมาโดยตลอดนี้ สอดคล้องกับธีมหลักของงาน Manufacturing Expo 2017 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งจัดแสดงเครื่องจักรเครื่องมือ ระบบออโตเมชั่น และโรบอติกส์ ซึ่งปีนี้เน้นที่แม่พิมพ์ เพราะเชื่อว่าเป็นรากฐานของการผลิต โดยเฉพาะแม่พิมพ์ (Mold) ประกอบกับเป็นพื้นที่โชว์นวัตกรรมที่สอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะแสดงให้เห็นถึงคำว่า SMART ได้รอบด้านมากยิ่งขึ้นด้วย