Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

จับตาภาวะฝืดเคืองซัพพลายเชนวิกฤติ COVID-19 หลังเดือนมีนาคม

ศาสตราจารย์ David Simchi-Levi จาก MIT ให้ความเห็นถึงความท้าทายจากภาวะวิกฤติ COVID-19 ซึ่งกระทบกับการผลิตและซัพพลายเชนทั่วโลกในเดือนมีนาคมนี้ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตในอนาคตอันใกล้อย่างน่าเป็นห่วง

ศาสตรจารย์ด้านระบบวิศวกรรม David Simchi-Levi จาก MIT แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ไวรัสระบาดในปัจจุบันที่แม้จะเริ่มมีการควบคุมได้บ้างในบางพื้นที่แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มหยุดการผลิตกันหลายโรงงานแล้วในปัจจุบัน

แม้ว่าการระบาดของ COVID-19 นั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วหรือช่วงต้นปี 2020 แต่นั่นยังคงอยู่ในขอบเขตผลกระทบของประเทศจีนเป็นหลัก จนกระทั่งการระบาดแพร่กระจายไปทั่วโลกเข้าสู่เอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกได้รับผลกระทบกันไปทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรมหลัก และไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อซัพลายเชนเท่านั้น ทางฝั่งดีมานด์ก็ได้รับผลกระทบไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในท้ายที่สุดศักยภาพทางการเงินสำหรับธุรกิจเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากด้วยเช่นกัน

ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ Simchi-Levi และ Pierre Haren ได้คาดการณ์ระยะสั้นเอาไว้ใน Havard Business Review Blog เอาไว้ว่าผลกระทบจาก COVID-19 ในจีนจะนำไปสู่การผลิตที่ชะลอตัวลงในสหรัฐอเมิรกาและยุโรปช่วงกลางเดือนมีนาคม เนื่องจากซัพพลายเออร์จากจีนนั้นต้องหยุดการทำงาน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเริ่มมีการตัดการผลิตในช่วงปลายเดือนมกราคมจากการแพร่กระจายของไวรัส นั่นหมายความว่าผู้ผลิตรายใหญ่จะมีซัพพลายในปริมาณน้อยหลังจากช่วงเวลาเหล่านี้อีก 6 สัปดาห์ให้หลัง

การขนส่งครั้งสุดท้ายมาถึงในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากต้องใช้เวลา 30 วันจากเอเชียไปอเมริกาเหนือหรือยุโรป บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมีวัตถุดิบในคลังอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ นั่นหมายความว่าวัตถุดิบที่มีอยู่จะใช้สำหรับดีมานด์ได้แค่ครึ่งเดือนแรกของเดือนมีนาคมเท่านั้น หลังจากนั้นวัตถุดิบจะขาดตลาดก่อให้เกิด Disruption ขนานใหญ่สำหรับภาคการผลิต

ผู้ผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ตัดกำลังการผลิตตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม เช่น VW และ Renault ในยุโรปเป็นต้น ในหลายประเทศให้เหตุผลในการปิดว่าเป็นผลจากความห่วงใยในสวัสดิภาพและการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันสถานการณ์ด้านสาธารณสุขของจีนนั้นมีความก้าวหน้าที่ดีขึ้น ด้วยการลดจำนวนผู้ป่วยใหม่ไปจนถึงการที่ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศเกิดขึ้น แต่หากสถานการณ์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่เลวร้ายไปกว่านี้ ภาคการผลิตสามารถกู้ตัวเองกลับมาทำงานได้ตามปกติช่วงปลายไตรมาสที่ 2

เมื่อดูจากการรสำรวจข้อมูลจากซัพพลายเออร์ 3,000 รายในจีนจะพบว่าซัพพลายเออร์ไม่ได้กลับมาทำงานอย่างเต็มกำลังในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซัพพลายเออร์บางส่วนใช้เวลาในการฟื้นตัวนานมากกว่ารายอื่นเพื่อกลับมาทำงานอย่างเต็มศักยภาพ คาดว่ากำลังผลิตเต็มที่จากจีนน่าจะเกิดขึ้นหลังเดือนเมษายน

การระบาดอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างโหดร้ายทั้งทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในตอนแรกปัญหาเหมือนจะมาจากความขาดแคลนเฉพาะที่ส่งมาจากจีน แต่ปัจจุบันมันเป็นปัญหาที่ขาดแคลนในทุกที่ ในส่วนต่อมาด้านดีมานด์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เกิดการร่วงหล่นครั้งใหญ่ การว่างงานเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคลดลง มีโรงงานขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถทำการผลิตได้เต็มกำลัง

สองปัจจัยแรกนำไปสู่องค์ประกอบที่ 3 คือ ผลกระทบด้านการเงินสำหรับองค์กร เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นมากเกินกว่า Disruption ในซัพพลายเชนธรรมดา แม้ว่าในจีนและเอเชียจะกอบกู้ตัวเองได้เร็วแต่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอาจไม่สามารถกลับมาผลิตหรือจ้างแรงงานได้เท่ากับในระดับก่อนเกิดวิกฤติอีกต่อไป

ที่มา:
News.mit.edu

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924