Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

การศึกษา คุณภาพอากาศภายในอาคาร ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์ กรณีศึกษาในประเทศกรีซ

มีงานอยู่หลายต่อหลายงาน ระบุถึงคนส่วนใหญ่ใช้เวลาภายในอาคาร สถานที่ทำงาน หรือในบ้าน ในอาคารสาธารณะ รวมถึงในยานพาหนะ มากกว่า 80 % ของแต่ละวัน จึงทำให้คนตระหนักถึง เรื่องเกี่ยวกับ เชื้อโรค หรือสิ่งปนเปื้อนในสภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยได้ การจาม ไอ หรือเกิดความระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง จะเป็นอาการเบื้องต้นที่ส่งผลจากการรับรู้กับสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด หรือ อากาศภายในอากาศมีการปนเปื้อน ซึ่งปัญหาทางการหายใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจนี้ จะสามารถเกิดเป็นสารก่อมะเร็งได้ หากได้สัมผัส หายใจเป็นระยะเวลานาน

การศึกษา คุณภาพอากาศภายในอาคาร ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์ กรณีศึกษาในประเทศกรีซ

เป็นที่ทราบดีว่า มีปัจจัยหลายประการ (เช่น แหล่งที่ผลิตอากาศเสียในอาคาร กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดมภาวะ การออกแบบอาคาร รวมถึงลักษณะของการถ่ายเทอากาศ รวมถึงสิ่งแวดล้อมภายนอก) ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของอากาศภายในอาคาร

อากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรมค่อนข้างจะมีการปนเปื้อนของมลภาวะ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งมาจากการผลิต ที่เป็นแหล่งกำเนิดสภาพอากาศที่มีมลภาวะ รวมถึงอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมก็สามารถก่อให้เกิดมลภาวะในอาคารได้ ซึ่งสภาพอากาศภายในโรงงาน สามารถก่อผลกระทบสู่สุขภาพของผู้ทำงานได้ ในการนี้ การกำจัด มลพิษในโรงงานได้กลายเป็นความต้องการที่ สำคัญของอุตสาหกรรม หากมองที่สภาพแวดล้อมภายในที่ โรรงานกิจการการพิมพ์ มีการยืนยันถึงโรคออฟฟิศซินโดรมกับอถปกรณ์การพิมพ์ เช่น ( เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ) สารมลพิษที่ เป็นที่รู้จักกัน ดีที่ถูกปล่อยออกมา จากเครื่องในโรงงานอุตสาหกรรมการพิมพ์ เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหย (VOCs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกระบวนการถ่ายเอกสารระบบเปียก กระบวนการนี้ สามารถส่งผลต่อความเจ็บป่วยได้มากกว่ากระบวนการถ่ายเอกสารระบบแห้ง ที่เกี่ยวข้องกับการ ครอบครอง มากกว่า ถ่ายเอกสาร แห้ง กระบวนการ โอโซน อนุภาค ทางเดินหายใจได้ ดีไฮด์ และ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์, โอโซน ,ฝุ่นละออง และไนโตรเจนไดออกไซค์

พื้นที่โดยรอบอาคาร ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับความหนาแน่นของสภาพการจราจร หรือที่ตั้งด้วย อายุของอาคาร รวมถึงลักษณะวัสดุที่นำมาใช้ก็เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคาร ก็มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นตัวเปรียบเทียบถึง อิทธิพลที่งผลต่อมลภาวะภายในอาคาร

  • พื้นที่ที่ทำการวัดค่ามลพิษ
    อุตสาหกรรมการพิมพ์ที่นำมาศึกษาจะตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางของกรุงเอเธนส์ โดยเก็บข้อมูลในวันที่ 5 – 9 มีนาคม ค.ศ. 2007 โดยเก็บข้อมูลในสามส่วนของอาคารอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ โรงพิมพ์ ส่วนทำปกของสิ่งพิมพ์ และส่วนบรรจุหีบห่อของสิ่งพิมพ์ ซึ่งกิจกรรมจะเกิดขึ้นที่ชั้นล่างสุดของอาคาร ซึ่งมีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สิ่งพิมพ์ ในการผลิตเป็นกระดาษและสื่อทำภาพยนตร์ ถ่ายสำเนาเอกสาร อุปกรณ์ UV ทำปกสิ่งพิมพ์ และบรรจุหีบห่อ ซึ่งใช้วัตถุดิบคือกระดาษ หมึกดำและหมึกสี และกาว
  • ฝุ่นละออง
    เกี่ยวกับฝุ่นละออง ค่าฝุ่นละอองทีมีขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) จะเห็นได้ว่า ในส่วนของการทำปกหนังสือ จะถูกบันทึกค่า PM2.5 สูงถึง 151 µg m-3 ซึ่งค่าฝุ่นละอองที่มีในอากาศถือว่าค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้สภาพฝุ่นละอองในพื้นที่การทำงานมีมาก อันได้แก่ การที่อุปกรณ์ เครื่องมือเป็นตัวปล่อยฝุ่นละอองออกสู่ภายนอก สภาพแวดล้อมของโรงงาน เช่น บริเวณที่ใกล้กับถนน ทางสัญจร รวมถึงทิศทางของที่ตั้งของอาคารโรงงาน
  • สารพิษอนินทรีย์
    ค่าซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซค์ จะมีค่าสูงในส่วนของการบรรจุสิ่งพิมฑ์ในโรงพิมพ์ คือ ประมาณ 96.6 µg m-3 แต่น้อยในส่วนพื้นที่ทำงานที่สามารถสูบบุหรี่ได้ คือ ประมาณ 24.9 µg m-3 โอโซน แสดงค่าสูงในส่วนพื้นที่ทำงานที่ไม่สูบบุหรี่ คือ ประมาณ 238 µg m-3 ในขณะที่โอโซนมีค่าต่ำในส่วนพิมพ์ที่มีแท่นพิมพ์ในโรงพิมพ์ คือ ประมาณ 11.0 µg m-3 ในส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ มีค่าสูงในส่วนพิมพ์ที่มีท่านพิมพ์ของโรงพิมพ์ คือ ประมาณ 47 µg m-3 ซึ่งในส่วนอื่นๆจะมีน้อยกว่า 10 µg m-3
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
    ใน 3 พื้นที่ๆ ลงเก็บข้อมูล มีค่า 11.8 – 79.4 µg m-3 สำหรับน้ำมันเบนซิน, 147-155 µg/m3 สำหรับน้ำมันผสมเบนซิน, 21.0- 59.9 µg m-3 สำหรับ เอ็ม,พี-ไซลีนและ 9.00 -17.3 µg m-3 สำหรับ โอ-ไซลีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าน้ำมันเบนซิน จะพบมากที่สุดในส่วนของโรงพิมพ์ ในขณะที่สารประกอบไซลีนในส่วนโรงพิมพ์และส่วนบรรจุหีบห่อจะมีค่าพอๆกัน เช่นเดียวกับสารประกอบน้ำมันผสมเบนซินในสามส่วนของโรงพิมพ์ คือ ส่วนพิมพ์ ส่วนบรรจุสิ่งพิมพ์ และส่วนทำปกของสิ่งพิมพ์ มีค่าการวัดใกล้เคียงกัน

    ค่าการวัดของน้ำมันเบนซิน มีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงในแต่ละช่วงวัน ซึ่งเกินค่ามาตรฐานประจำปีของ สหภาพยุโรป สำหรับอากาศโดยรอบของที่ตั้งโรงพิมพ์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการใช้วัสดุตัวทำละลายในอุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นส่วนให้เกิดมลพิษสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย

สรุป ชนิดของสารมลพิษ และความเข้มข้นจะมีผลต่อสภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งสามารถให้เกิดอันตรายกับผู้พักอาศัยหรือทำกิจกรรมในอาคารได้ จำนวนของผู้ใช้ภายในอาคาร อายุของอาคาร การสะสมของฝุ่นละออง การแพร่มลพิษจากอุปกรณ์ เครื่องมือของโรงพิมพ์ รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ เช่น หมึกพิมพ์ กาว เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลพิษของสภาพอากาศภายในอาคาร อันได้แก่ PM2.5 เบนซิน โทลูอีน

ดังนั้นการให้ความสำคัญกับสภาพอากาศภายในอาคารย่อมมีความสำคัญและสามารถช่วยลดผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพ

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924