คอนเนอร์ยี เผยโซลูชันใหม่ล่าสุดเพื่อช่วยเหลือนักลงทุนและเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่าผ่านการปฏิบัติการและการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
หน่วยปฏิบัติการและบริการบำรุงรักษาของคอนเนอร์ยีที่พัฒนาขึ้นใหม่มุ่งเน้นสนับสนุนและช่วยเหลือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยการดำเนินงานที่ดีขึ้น หน่วยงานนี้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ทุกกิโลวัตต์จากการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด
จากการวิเคราะห์ตลาดของคอนเนอร์ยี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ ข้อบกพร่องทั่วไปในการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ การขาดการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time) การซ่อมแซมที่ล่าช้า ไม่สามารถหาชิ้นส่วนอะไหล่ได้ ช่างเทคนิคขาดทักษะทำให้ล่าช้าในการระบุและแก้ไขปัญหาความผิดพลาดของโรงไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงเพราะเงาที่มาจากวัชพืชที่รกรุงรัง รวมถึงแผงรับแสงที่สกปรกมากจนเกินไปเพราะมีฝุ่นติดที่แผงโซลาร์ทำให้ประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน
คอนเนอร์ยีได้ลงทุนสร้างศูนย์ตรวจสอบและติดตามการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่เพื่อการตรวจสอบประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการและบำรุงรักษาเพื่อคอยให้บริการทั้งประเทศไทยและในภูมิภาค เพื่อแก้ปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น
คุณอเล็กซานเดอร์ เลนซ์ ประธานของคอนเนอร์ยี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยม แต่สินทรัพย์บางอย่างจำเป็นต้องได้รับการดูแล เราเชื่อว่าโรงไฟฟ้าบางแห่งในไทยอาจสูญเสียไฟฟ้าหลายพันกิโลวัตต์ชั่วโมงและหลายล้านบาทต่อปี แต่เราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าได้ อีกทั้ง เรามั่นใจอย่างมากว่าเราสามารถช่วยนำพลังงานที่สูญเสียไปกลับคืนมาและช่วยให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ คำมั่นสัญญาของเรา คือ การขจัดข้อบกพร่องในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่นักลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำงานร่วมกับเราให้หมดไป”
อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งหนึ่งมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า 100,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี อาจทำได้ตามเป้าหมายนี้ในปีแรก จากนั้นเมื่อปัญหาด้านการดำเนินงานเกิดขึ้น ในปีที่สองการผลิตไฟฟ้าที่สามารถทำได้อาจลดลงเหลือ 60,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ประสิทธิภาพการผลิตก็จะลดลงไปเรื่อยๆ