Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

การจัดการความรู้กับการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งในปัจจุบัน การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้าง ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้แก่องค์กรได้

การจัดการความรู้กับการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร

หลักการของ KM คือ การบริหารจัดการความรู้ที่ต้องการใช้ ให้แก่คนที่ต้องการ ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามนิยามของ Right Knowledge Right People Right Time

KM เน้นไปที่การพัฒนาคน พัฒนาผลงาน และพัฒนาองค์กร ถ้าคนมีความเข้าใจและสามารถพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น ผลงานก็จะออกมาดี แน่นอนว่าผลการดำเนินงานขององค์กรก็จะบรรลุเป้าหมายตามไปด้วย

หากพิจารณาองค์ประกอบหลักในการประยุกต์ใช้ KM ในองค์กร มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยีหลักการจัดการ

ความรู้เบื้องต้น คือ การค้นหาคนที่มีความรู้ทักษะ และความเชี่ยวชาญ เน้นคนที่มีประสบการณ์ตรงมาถ่ายทอดความรู้ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จัดเก็บองค์ความรู้นั้นเข้าระบบด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเพื่อให้สะดวก ต่อการจัดเก็บข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล

พร้อมทั้งต้องผลักดันให้คนในองค์กรนำความรู้ที่รวบรวมไว้ไปใช้งาน และต้อง Update ความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

KM…พัฒนาคน งาน และองค์กร

  • ในเชิงธุรกิจ KM ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญด้วยบางบริษัททำธุรกิจที่คล้ายคลึงกันมีสินค้าเหมือนกันแต่การให้บริการลูกค้ามีความแตกต่างกัน
  • หากเราเข้าใจลูกค้า และบริการลูกค้าได้ตรงตามความต้องการ หรือให้ข้อมูลลูกค้าได้ตรงประเด็น ก็ย่อมทำให้องค์กรเราเหนือกว่าคู่แข่ง
  • ยิ่งถ้าองค์กรใดมีองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งในแง่ของการดำเนินงาน และประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวคนคนนั้น (Tacit Knowledge) มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้องค์กร ของเราได้เปรียบคู่แข่ง
  • ทั้งนี้ การที่จะนำ KM เข้ามาปรับใช้ในองค์กรผู้บริหารพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจแก่นแท้ของ KM เสียก่อน เพราะจะทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานของตนเองได้
  • หากผู้ใช้ไม่เข้าใจก็อาจกลายเป็นภาระและตัวปัญหาได้เช่นกัน

วงจร KM แบบง่ายๆ

บูรณาการ KM เพื่อปรับปรุงองค์กร

KM จะสามารถอยู่รอดได้จะต้องนำไปบูรณาการกับระบบการปรับปรุงภายในองค์กร เมื่อองค์กรมีปัญหาหรือมีแนวคิดที่จะปรับปรุงหรือพัฒนา องค์กรต้องทำความเข้าใจกับเครื่องมือการบริหารจัดการนั้นๆ ก่อน และทบทวนทำความเข้าใจกับขั้นตอนการปฏิบัติงานอาจวิเคราะห์ แบบง่ายๆ ตามหลัก PDCA แล้ว เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (อาจเป็น 5ส, QCC, ISO หรืออื่นๆ ) มาดำเนินการปรับปรุงตามหลักเครื่องมือบริหารจัดการนั้นๆ

อีกทั้ง นำหลักการ KM เข้าไปเสริม เกิดเป็นองค์ความรู้แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้ไปจัดเก็บเข้าระบบ องค์ความรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากผลงานที่ประสบความสำเร็จ แต่ควรนำสิ่งที่ล้มเหลวมาศึกษาเรียนรู้ไม่ให้เกิดซ้ำอีก

ส่วนผลงานที่ประสบความสำเร็จก็นำมาเป็นต้นแบบและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น สิ่งสำคัญในการทำ KM ให้เกิดขึ้นในองค์กร คือ จะต้องคิดให้เป็นระบบ ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง สร้างบรรยากาศให้คนรู้สึกสนุกกับการทำ และต้องฝัง KM เข้าไปในระบบการทำงานของทุกคนในองค์กรแล้ว KM จะเกิดขึ้น และคงอยู่กับองค์กรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

EXECUTIVE SUMMARY

Knowledge Management (KM) is a method for managing the knowledge ought to know for the people who in need also in the proper time to drive the employee with efficiency and affected the organization to achieve an objective. This method is focused on employee development, works improvement and organization growth. If the employee got understand and also developed themselves, the works resulted will be good, also the organization profits would achieve too.

To adapt KM into an organization there are 3 sectors which are human resource, process and management technology by the expert or skilled labor pass on the knowledge through any process and then collect that knowledge into system with the tools or technology for convenient in storing and accessing. This method need to drive the employee to use the stored knowledge and always make it up to date.


Source

  • จากการบรรยายในหัวข้อ การจัดการความรู้ กับการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร: Knowledge Management for Productivity Improvement โดย คุณสุประภาดา โชติมณี
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924