Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ก.อุตฯ ดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ตั้งเป้าไทยเป็นผู้นำในอาเซียน

ก.อุตฯ ดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ตั้งเป้าไทยเป็นผู้นำในอาเซียน สศอ. เผยคืบหน้าเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเสริมภาคการผลิต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามมติ ครม. วันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา สศอ. ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทยอยู่ในเป้าหมายระยะกลาง 

คุณภาพของสินค้าใช้ “ตาเปล่า” ตรวจสอบไม่ได้ ใช้ Machine Vision ที่มี AI ตรวจสอบดีกว่า [Super Source]

จากข้อมูลในปี 2563 ประเทศไทยมีการลงทุนหุ่นยนต์ฯ จำนวน 116,676 ล้านบาท และมี SI ที่ขึ้นทะเบียนกับ CoRE จำนวน 74 ราย มีระดับการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 25 รวมถึงมีการผลิตหุ่นยนต์ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าได้ร้อยละ 12 

แม้ว่าช่วงนี้ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยการยกระดับการผลิตและเปลี่ยนวิกฤตสู่โอกาสเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่จะเติบโตในอนาคต 

ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยถือว่ามีความพร้อมทางด้านมาตรการรองรับอย่างมาก โดยหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้ออกมาตรการกระตุ้นอุปสงค์และการสร้างอุปทานที่สอดคล้องกัน เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 

รวมถึงกรมสรรพากรที่ให้ยกเว้นภาษีอากรตามประกาศและกระทรวงการคลังที่ยกร่างประกาศการยกเว้นอากรนำเข้าชิ้นส่วน อุปกรณ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศและการสร้างอุปทาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการขึ้นทะเบียน System Integrator : SI จำนวน 74 ราย ฝึกอบรมยกระดับ SI รวมจำนวน 1,395 คน และบ่มเพาะ System Integrator (SI Startup) จำนวน 70 กิจการ และพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ฯ รวม 185 ต้นแบบ 

รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ร่วมมือกับเครือข่ายได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคน นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้เสนอแผนดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืนเพื่อให้บริการทดสอบจัดทำมาตรฐานสนับสนุนอุตสาหกรรม การเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะแรงงานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการมากที่สุดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และสถาบันไทย-เยอรมัน เป็นต้น

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันได้พัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotic Excellence: CoRE) ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำ Platform เพื่อการบริหารจัดการเครือข่าย CoRE โดยจะยกระดับให้ครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการ Supply Chain ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเชื่อมโยงกับ Platform ของหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนในลักษณะ Collaborative Platform เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับความต้องการของภาคธุรกิจ 

ทั้งนี้ CoRE จะกำหนดมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรม การทดสอบและวัดระดับของ SI ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะเพิ่มจำนวน SI ในพื้นที่ต่างจังหวัดเพื่อรองรับการขยายตัวและตอบสนองความต้องการระบบ Simplify Automation ทั่วประเทศ โดยยกระดับโรงกลึง อู่ซ่อมรถ ร้านซ่อมเครื่องจักรในพื้นที่  ซึ่งมีลักษณะเป็น Small shop ให้มีขีดความสามารถในการรับงานที่เป็น Automation มากขึ้น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงิน ธนาคารเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและประเมินการปล่อยสินเชื่อเงินกู้เพื่อการลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้กับผู้ประกอบการได้ต่อไป

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924