ก.อุตสาหกรรม เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ปี 2565 ต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิม และส่งเสริมอุตสาหกรรมอนาคต และเตรียมเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2563-2570) ต่อ กอช. เพื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ก่อนนำเสนอต่อ ครม.ต่อไป
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ปี 2564 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสอดคล้องกับสถานการณ์การผลิต ต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เช่น (1)ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ต่อยอดการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของไทยในภูมิภาคโดยมีผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารอบใหม่รวม 18 บริษัท 26 โครงการ กำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) รวม 136,000 คัน
[QuantumX] โซลูชัน DAQ เก็บข้อมูลอัจฉริยะสำหรับการตรวจวัดของมือโปร | Intro Enterprise [Super Source]
(2)ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เกิดการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.16 แสนล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการ 210 กิจการ ขอรับการส่งเสริมการลงทุน มูลค่ารวม 22,845 ล้านบาท (3)ขับเคลื่อนและเร่งรัดการลงทุนอุตวาหกรรมชีวภาพในพื้นที่นำร่อง (EEC, นครสวรรค์) เกิดการลงทุนแล้ว 5 โครงการ มูลค่ากว่า 39,870 ล้านบาท รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งมีผู้ผลิตได้ใบรับรองแล้ว 5 ราย จำนวน 49 ใบรับรอง
(4)ยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ยกระดับผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ เช่น ยกระดับสู่เกษตรอุตสาหกรรม (เกษตร 4.0)/Smart Farmer /เกษตรอินทรีย์ กว่า 180,000 ราย พัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักรบพันธุ์ใหม่ Food Warriors/ Industry 4.0 / Digital Startup กว่า 30,000 ราย และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารอย่างต่อเนื่องร่วมกับ 16 มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรม ด้านอาหาร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในปี 2565 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อการยกระดับพัฒนาและคำนึงถึงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะนำเสนอนโยบายสำคัญต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมศักยภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเกิดการบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น (1)การกำหนดสาระสำคัญของกระบวนการผลิตในเขตประกอบการเสรี (Free Zone) เพื่อให้สอดรับกับมาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ (2)การจัดเตรียมสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มอุตสาหกรรม 4.0 โดยทำหน้าที่เป็น One Stop Service
(3)การจัดพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อขจัดอุปสรรคการลงทุน และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งคาดว่าแล้วเสร็จเดือนเมษายน 2565 เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์พลังงานหมุนเวียนจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (4)เร่งพัฒนาพืชเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ปาล์ม แป้งมันสำปะหลัง เพื่อสร้างรายได้เพิ่มแก่ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม (5)เร่งสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง
- ก.อุตฯ มอบของขวัญปีใหม่ จัดมหกรรมสินค้าราคาโรงงาน
- ก.อุตฯ จับมือ เอกชน ดัน SMEs สู่ อุตสาหกรรม 4.0
- ก.อุตฯ ยืนยัน อนุญาโตตุลาการ เลื่อนชี้ขาดคดี เหมืองทองอัครา
- ก.อุตฯ ร่วม CPAC นำร่องรถโม่พลังงานไฟฟ้า ขนส่งคอนกรีต
พร้อมผลักดันการพัฒนาอาหารอนาคต โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวทางพัฒนาปัจจัยพื้นฐานให้เอื้อต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเป้าหมายใหม่ (Product Champion) รวมถึงให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์ และขับเคลื่อน flagship ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อีกทั้ง อก. เตรียมที่จะนำเสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2563-2570) ต่อ กอช. เพื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป