ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเรามักจะพบการปนเปื้อนที่เกิดในกระบวนการแปรรูปยา โดยเฉพาะยาที่มีโปรตีนมักจะเจอปัญหาไวรัสปนเปื้อนจากโรงงานผลิต แม้ว่าจะถูกค้นพบก่อนที่จะถูกจัดส่งแต่อาจมีบางส่วนหลุดรอดไป และหลายกรณีก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงในการดูแลจัดการ
การศึกษาจาก MIT ที่วิเคราะห์กรณีที่น่าสนใจ 18 กรณีซึ่งส่วนมากไม่ถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะ การศึกษานี้ทำให้เห็นจุดร่วมที่ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนติดต่อเป็นวงกว้าง และทีมวิจัยได้เสนอคำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นมา
โปรตีนที่ใช้ในการรักษามักถูกผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เอา DNA มารวมตัวกันทำให้แบคทีเรีย ยีสต์ หรือเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถถูกปรับแต่งสร้างโปรตีนที่ต้องการได้ ในขณะที่วิธีนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ Cell Cultured ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะปนเปื้อนด้วยไวรัสได้ระหว่างกระบวนการเช่นกัน
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ปนเปื้อนที่โรงงานผลิต Genzyme ใน Boston ที่ถูกเปิดเผยข้อมูลออกมา พบว่าโรงงานต้องปิดการทำงานถึง 10 เดือนเมื่อบางส่วนของการผลิตติดเชื้อไวรัสในปี 2009
แน่นอนว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้นบริษัทผู้ผลิตยาจะไม่ยอมเปิดเผยปัญหาที่จะสร้างผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของตัวเองแน่นอน ทีมงานวิจัยจึงได้ทำการรวบรวม 20 บริษัทที่ยินยอมแบ่งปันข้อมูลในกรณีที่มีคล้ายคลึงกันโดยไม่ระบุตัวตน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเปิดเผยให้เห็นถึงที่มา แนวทางการฆ่าเชื้อและการกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งของโรงงาน
จากการศึกษาที่พุ่งประเด็นไปที่โปรตีนยาที่สร้างจากเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเปิดเผยให้เห็นถึงการปนเปื้อน 18 แบบตั้งแต่ปี 1985 นับเป็นข้อมูลจาก 9 ใน 20 บริษัทยาที่ส่งข้อมูลมาให้ พบว่าใน 12 กรณีเซลล์ที่ติดเชื้อนั้นมาจากเซลล์ของ Chinese Hamster Ovary (CHO) ซึ่งนิยมใช้ในการผลิตโปรตีนยา
ไวรัสนั้นสามารถถูกพบทั้งในเซลล์มนุษย์และกลุ่มเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ไพรเมทซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มมนุษย์ รวมไปถึงไวรัสกลุ่มเริม อะดิโนไวรัสในมนุษย์ซึ่งมักทำให้เกิดไข้หรือกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอ่อน ๆ ไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายมาจากแรงงานที่โรงงานเองก็เป็นไปได้เช่นกัน หลายครั้งการปนเปื้อนเกิดจากการตรวจสอบได้ว่าเซลล์กำลังตายหรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป ซึ่งวิธีทดสอบที่ใช้นั้นกินเวลาถึงสองอาทิตย์ทำให้การปนเปื้อนสามารถกระจายตัวไปทั่วทั้งกระบวนการก่อนที่จะตรวจเจอ เกิดความเสียหายต่อการผลิตในกลุ่มที่ผลิตในช่วงเวลานั้นทั้งหมด
บางบริษัทใช้วิธีทดสอบที่เร็วกว่าโดยใช้เทคโนโลยี Polymerase Chain Reaction (PCR) แต่วิธีนี้ต้องเจาะจง DNA Sequence มันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดหากรู้หรือคาดการณ์ได้ว่าจะพบไวรัสแบบใดในกระบวนการผลิต ผลลัพธ์ของการแบ่งปันข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำความเข้าใจปัญหาที่ยากท้าทายในการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพมากขึ้น
สมาชิกทีมจึงได้พยายามหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อที่จะจัดการกับไวรัสจาก Cell Culture ก่อนที่จะใช้งานอุปกรณ์ตลอดจนถึงการจัดการกับผลิตภัณฑ์ในช่วงการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสะอาดบริสุทธิ์ โดยพัฒนาวิธีตรวจจับที่รวดเร็วและมีความอ่อนไหว รวมถึงตรวจจับได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น กลุ่มนักวิจัยจาก Singapore-MIT Alliance for Science and Technology (SMART) จึงได้รับหน้าที่ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาเพื่อเร่งกระบวนการตรวจสอบให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อีกส่วนหนึ่ง คือ การจัดการกับการเติบโตของเซลล์ที่เป็นตัวกลางซึ่งเซลล์เหล่านี้มาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น Bovine Serum ซึ่งหลายบริษัทได้มีการใช้งานวิธีเหล่านี้เพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม หากยังไม่ได้ผลกลยุทธต่อไปที่ใช้ คือ การนำไวรัสออกมาหรือทำให้เกิดกระบวนการ Inactivation ก่อนใช้ ซึ่งสามารถป้องกันไวรัสจากการเข้ามาปนเปื้อนในกระบวนการได้ แต่บางบริษัทก็ใช้กระบวนการที่คล้ายกับการพาสเจอไรซ์ ที่เรียกว่า High Temperature Short Time Treatment โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตหรือตัวกรองระดับนาโนเพื่อนำไวรัสออกจากวัตถุดิบ
แม้ว่าโรงงานในปัจจุบันจะมีกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อและการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ แต่โอกาสปนเปื้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากตัววัตถุดิบเอง การพัฒนาวิธีการตรวจจับให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือในการรับมือความเสียหายนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบแบบเชิงรุกหรือการประกันคุณภาพใด ๆ ก็ตาม
ที่มา:
Mit.edu